ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ไขข้อข้องใจโควิด-19 โอไมครอน และอาการ Long Covid

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ยังไม่น่าไว้วางใจ เมื่อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนเข้ามาแพร่ระบาดในปัจจุบัน ทำให้มีการติดเชื้อและมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น ถึงแม้อาการจะไม่หนักถึงขั้นเสียชีวิตก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อระมัดระวังการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ที่เราทุกคนต้องตระหนักและอยู่กับโรคนี้ให้ได้

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

วัคซีนโควิด-19 ไม่ต้องฉีดเพิ่มก็ได้จริงหรือไม่
ไม่จริง การฉีดวัคซีนยังเป็นเรื่องสำคัญอยู่ โดยเฉพาะเชื้อโอโมครอนที่ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมถึงผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้เชื้อลงปอดและปอดบวมได้ ดังนั้น ถ้าเราฉีดวัคซีนไปแล้ว ก็จะเพิ่มความมั่นใจได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ใช่ 100% การฉีด 3 เข็ม และตบท้ายด้วยวัคซีนชนิด mRNA ได้ประโยชน์แน่นอน การฉีดวัคซีนเข็ม 4, 5, 6 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อู่ฮั่น สายพันธุ์อังกฤษ เดลต้า สำหรับสายพันธุ์โอไมครอน ภูมิคุ้มกันไม่ได้เยอะขึ้นจริง แต่ยังคงได้ประโยชน์อยู่

อาการ Long Covid มีจริงหรือไม่
มีจริง 100% Long Covid คือ อาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากป่วยเป็นโควิด-19 แล้ว เป็นอาการที่เคยมี แต่ไม่หายไป หรือเกิดอาการใหม่ขึ้นมา ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในขณะที่ติดเชื้อโควิด-19 มีผลพิสูจน์ค่อนข้างชัดเจนว่า คนที่ติดเชื้อโควิด-19 รุนแรง จะเกิดอาการ Long Covid ได้แน่นอน แต่สิ่งที่กังวลมาก คือ คนที่มีอาการเล็กน้อย เมื่อติดตามต่อไป พบว่า เป็น Long Covid ได้เช่นกัน

อาการ Long Covid เกิดขึ้นได้ตั้งศีรษะจรดเท้า เริ่มตั้งแต่ผมร่วง ผิวหนังมีผื่นขึ้นเป็น ๆ หาย ๆ ตาพร่ามัว มีอาการนอนไม่หลับ หลับ ๆ ตื่น ๆ มีอาการเฉื่อยชาเหมือนคนขี้เกียจ ประจำเดือนมาไม่ปกติ สมรรถภาพทางเพศลดลงในผู้ชาย มีข้อมูลพบว่า มีการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ส่งผลต่อสมอง เกิดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมสะสมได้ ซึ่งต้องจับตามองว่า สมองเสื่อมในคนที่มีอายุ 30 – 40 ปี จะหายในช่วง 3- 9 เดือน หรือ ทำให้เกิดสมองเสื่อมได้เร็วกว่าปกติหรือไม่

อาการ Long Covid มีกี่ประเภท มีอยู่ตลอดไปหรือหายไปได้
ช่วง 3 เดือนแรก พบว่า อุบัติการณ์ที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างสูงมาก ไม่ต่ำกว่า 30 – 50 % แต่หลังจาก 3 เดือนไปแล้ว อาการ Long Covid ยังไม่หาย และมีอาการมากขึ้น เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจมาก เพราะถ้าปล่อยให้อาการเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในระบบร่างกาย ระบบสมอง อาจแก้ไขเยียวยาไม่ได้ ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว 2- 3 เดือน มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ยืนยันว่า สามารถติดเชื้อซ้ำได้อีกถึง 100% ไม่ว่าจะมีการฉีดวัคซีนไปแล้วกี่เข็มก็ตาม

ความแม่นยำในการตรวจหาเชื้อด้วย ATK กับ RT – PCR
การตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วย ATK มีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้บ้าง เนื่องจากชุดตรวจ ATK ออกแบบมาเพื่อให้ใช้ได้กับทุกคนอย่างสะดวดรวดเร็ว ซึ่งมีประโยชน์มาก ขณะเดียวกัน ข้อจำกัดของ ATK สามารถจับตัวไวรัสได้ในปริมาณที่มากจริง ๆ ดังนั้น ผู้ที่ตรวจ ATK แล้วขึ้นสองขีด มีผลเป็นบวก จะต้องแยกกักตัวทันที เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคม ต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และสังเกตอาการ ถ้าตรวจ ATK แล้วยังขึ้นขีดเดียว แต่มีอาการว่าน่าจะใช่ และอาการเริ่มหนักมากขึ้น เช่น มีอาการไข้ หนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดเมื่อยเนื้อตัว วัดออกซิเจนได้ต่ำกว่า 96 % ให้รีบแยกตัวไว้ก่อน สังเกตอาการเป็นระยะอย่างเหมาะสม และรีบพบแพทย์

“เราต้องอยู่กับโควิด-19 ไปอีกนานพอสมควร วิธีการที่จะอยู่กับมันให้ได้ จะต้องมีวินัยของตัวเอง อย่าผลักภาระให้กับสังคม แพทย์ หรือ กระทรวงสาธารณสุข เพราะถ้าทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ไม่ปล่อยให้เชื้อแพร่ออกไป ก็จะทำให้ประเทศชาติรอดพ้นจากวิกฤตนี้ไปได้” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

 

 

 

 

 

 

 

RANDOM

สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ ม.ธรรมศาสตร์ ชวนร่วมประชันไอเดีย ในการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ (Logo) ชิงเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมรับประกาศนียบัตรจากสถาบัน หมดเขต 11 มี.ค.นี้

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!