สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดสุนทรพจน์และความรู้ภาษาจีน ระดับมัธยมศึกษา “สะพานสู่ภาษาจีน ” ครั้งที่ 15 หัวข้อ “บินสู่เป้าหมายด้วยภาษาจีน” (Fly high with Chinese) 追梦中文,不负韶华。รอบชิงชนะเลิศ ระหว่างวันที่ 16 -17 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นนักเรียนนักศึกษา จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) , สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และ สอศ. หน่วยงานละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยได้รับเกียรติจาก นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย , นางเฝิง จุนยิง ที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษาสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และคุณหวาง ฮุ่ยชาง ผู้อำนวยการศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ สำนักงานกรุงเทพฯ เข้าร่วมงาน ซึ่งงานดังกล่าวจัดในรูปแบบออนไลน์
นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า การประกวดในครั้งนี้ เป็นการสะท้อนถึงพัฒนาการ วิวัฒนาการ และการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนของนักเรียน นักศึกษาไทย ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนต่อที่สูงขึ้น หรือนำมาปรับใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และการสื่อสารภาษาจีนเป็นอย่างมาก ผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาจีนย่อมมีโอกาสและต้นทุนในการทำงานที่สูงกว่าผู้อื่น ซึ่งภาษาจีนถือได้ว่าเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมและยอมรับในโลกธุรกิจ และการสื่อสาร
โดยผลการประกวดมีดังนี้ ผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ คะแนนรวมสูงสุด ได้แก่ นายสมยศ สว่างไพบูลย์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จาก โรงเรียนราษฎร์วิทยา (ตี่มิ้ง) จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดรอบชิงชนะเลิศระดับโลก , นางสาวญาณินท์ วงศ์วรชาติ นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 (ปวช.3) จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ ได้คะแนนรวมชนะเลิศเป็นลำดับที่ 2 และนางสาวญาณิศา พฤกษ์ทยานนท์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จาก โรงเรียนระยองวิทยาคม ได้คะแนนรวมชนะเลิศเป็นที่ลำดับที่ 3 ของการแข่งขัน
สำหรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จํานวน 4 รางวัล ได้แก่ นางสาวญาณสาน์ จิวรัตนจำรัส จาก โรงเรียนกวงฮั้ว , นางสาวจิลลา สาครการะเกด จาก โรงเรียนราษฎร์วิทยา (ตี่มิ้ง) , นางสาวปณิดา ปัญญาสุทธิเลิศ จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี , นายธนภัทร สกุลพานิช จาก โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จํานวน 8 รางวัล ได้แก่ นางสาวธัญชนก ไชยนันทน์ จาก วิทยาลัยภูเก็ตวิทยาลัย , นายกิตติเดช จะลอ จาก โรงเรียนภูเก็ตไทยหัวอาเซียนวิทยา , นางสาวธิตาภรณ์ วานิชพงษ์พันธ์ จาก โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ , นางสาวมณียา บุญนำ จาก โรงเรียนกวงหมิงหัวเฉียว , นางสาวนันทกานต์ จันทร์ตา จาก โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย , นางสาวฐิดาพร พร้อมสุข จาก วิทยาลัยพณิชยการเชียงราย , นางสาวหอมนวล ตาบุญหู จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาแม่สาย , นางสาวสุจิรา รวยสิน จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี ตามลำดับ
ทั้งนี้ การประกวดสุนทรพจน์และความรู้ภาษาจีนในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย รอบแรก วันที่ 16 กรกฎาคม 2565 เป็นการแสดงความสามารถทางวัฒนธรรมจีน 3 นาที (ส่งคลิปวีดีโอ) การสอบข้อเขียน 40 ข้อ และการสอบสัมภาษณ์ (5 นาที) รอบสอง วันที่ 17 กรกฎาคม 2565 คัดเหลือ 15 คน กล่าวสุนทรพจน์แบบฉับพลัน ( 2 นาที 30 วินาที ) เพื่อเฟ้นหาผู้ชนะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมประกวดในเวทีระดับโลก