นักวิจัย ม.อ. โชว์กึ๋นแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ภายใน 24 ชม. เพิ่มผลผลิตและรายได้เกษตรกร

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

นักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โชว์ความสำเร็จ โครงการ “แปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงภายใน 24 ชั่วโมง” ผนึกความร่วมมือ Bioaxel ในการคัดแยกจุลินทรีย์ Super BACT ในการย่อยผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ได้ค่าจุลินทรีย์ที่ผ่านมาตรฐานทุกตัวรับรองจาก กรมวิชาการเกษตร วางเป้าหมายลดวัชพืชจากผักตบชวากว่า 302,854.27 ตันต่อเดือน เตรียมขยายผลขับเคลื่อนภาคการเกษตรประเทศไทยให้เติบโตยั่งยืน

รศ.ดร.จุฑารัตน์ เอี้ยวกฤตยากร สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. นำโดย ผศ.ดร.จุฑารัตน์ เอี้ยวกฤตยากร สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ และ รศ.ดร.วิไลวรรณ โชติเกียรติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จับมือร่วมกับ บริษัท ไบโอแอ็กซ์เซล จำกัด ดำเนินโครงการ “แปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงภายใน 24 ชั่วโมง” เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาผักตบชวาที่แพร่พันธุ์จำนวนมาก และกลายเป็นวัชพืชในแม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำสาธารณะต่าง ๆ มาสู่การแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับเกษตรกร

สำหรับการวิจัยโครงการแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงภายใน 24 ชั่วโมง ได้นำผักตบชวามาผ่านกระบวนการย่อยด้วยเครื่อง Bioaxel ของบริษัท ไบโอแอ็กซ์เซล จำกัด จนได้จุลินทรีย์ Super BACT มาผสมจนได้เป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเครื่องดังกล่าวมีประสิทธิภาพการย่อยจุลินทรีย์อย่างรวดเร็วจากปกติต้องใช้ระยะเวลา 1-2 เดือน และจุลินทรีย์ที่ได้ผ่านการวิเคราะห์คุณภาพจาก กรมวิชาการเกษตร พบว่า มีค่าผ่านมาตรฐานทุกตัว เมื่อนำปุ๋ยมาให้เกษตรกรได้ทดลองที่แปลงนา อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง บนพื้นที่ 5 ไร่ การแตกกอของต้นข้าวเพิ่มปริมาณมากขึ้น รวงยาวให้ผลผลิตดีขึ้นและที่สำคัญมีต้นทุนการปลูกข้าวลดลง

ล่าสุดผลการวิจัยในครั้งนี้ นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. กับ บริษัท Bioaxel ได้นำการวิจัยจากห้องปฎิบัติการสู่การแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้มีโอกาสนำเสนอในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาผักตบชวา ครั้งที่ 2/2564 โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาผักตบชวาที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยการวิจัยในครั้งนี้วางเป้าหมายลดผักตบชวากว่า 302,854.27 ตันต่อเดือน และเตรียมขยายผลเพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ในการเกษตร หรือส่งเสริมการผลิตเพื่อจำหน่ายในอนาคต

ด้าน นายปนะธีร์ ฬารวิจิตรวงศ์ เกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง กล่าวว่า ได้เข้าร่วมโครงการ “แปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงภายใน 24 ชั่วโมง” เพื่อเป็นต้นแบบชุมชนในการจัดการวัชพืชโดยการแปรรูปผักตบชวามาพัฒนาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้ทดลองนำปุ๋ยใส่ในนาข้าว ปรากฎว่า ต้นข้าวเจริญเติบโตเพิ่มผลผลิตได้ดีขึ้น ถือว่าเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพสูง และมีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมากนัก และที่สำคัญ ยังช่วยลดผลกระทบจากปัญหาวัชพืชของแม่น้ำและลำคลอง โดยพร้อมนำการแปรรูปผักตบชวาสู่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงขยายผลไปยังชุมชนที่ประกอบการอาชีพเกษตรกรต่อไป

ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานบริการวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อประสานงานไปยังนักวิจัยได้ที่ โทร. 074-288-028 ในวันและเวลาราชการ

 

RANDOM

ราชมงคลพระนคร เปิดรับบทความด้านเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ ในการประชุมวิชาการราชมงคล MTC 2024 บทความดีเด่นจะได้รับการคัดเลือกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เปิดรับบทความฉบับสมบูรณ์ ตั้งแต่บัดนี้ – 31 มี.ค.

ธนาคารยูโอบี เดินหน้าจัดประกวดจิตรกรรมยูโอบี ประจำปี 2567 ชิงเงินรางวัลรวม 1,760,000 บาท พร้อมโอกาสได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการศิลปินในพำนัก เปิดรับผลงาน ตั้งแต่บัดนี้ – 31 กรกฎาคม 2567

สมาคมกีฬาไลฟ์เซฟวิ่งไทย ร่วมกับสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ และการกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.) จัดงานวันป้องกันจมน้ำโลก ที่สระว่ายน้ำการกีฬาแห่งประเทศไทย คนร่วมล้นหลาม สำเร็จด้วยดี

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!