3 เด็กเก่ง คว้าชนะเลิศ International Friends for Peace นำเสนอแนวคิดยุติความรุนแรงและการข่มเหงรังแกในโรงเรียน

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ องค์กรผู้นำนักศึกษา ไอเซค ประเทศไทย และ บริษัท โกลบิชอคาเดเมีย (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษา ของ ศูนย์นวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Innovation Hub) เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันนำเสนอแนวคิดเพื่อยุติความรุนแรงและการข่มเหงรังแกในโรงเรียน รอบชิงชนะเลิศ (Final Pitching) โครงการ “International Friends for Peace 2022” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เนื่องในวันสันติภาพโลก (International Peace Day) เมื่อวันพุธที่ 21 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุม 801 อาคารจามจุรี 10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี อาจารย์กัญญสร ตัณศุภผล ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ประธาน International Friends for Peace กล่าวเปิดงาน

ภายในงานมีการบรรยายและเสวนาในหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ประกอบด้วย ทำไมเราต้องยุติความรุนแรงและการข่มเหงรังแกในโรงเรียน แนวคิดและนวัตกรรมเพื่อยุติความรุนแรงและการข่มเหงรังแกในโรงเรียน แนวคิดและนวัตกรรมเพื่อยุติความรุนแรงและการข่มเหงรักแกจากมุมมองนานาชาติ โดยมีตัวแทนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เข้าร่วมโครงการจำนวน 1,300 คน มีผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจำนวน 30 คน แบ่งออกเป็น 10 ทีม ๆ ละ 3 คน

โครงการ International Friends for Peace 2022 จัดโดย องค์กรผู้นำนักศึกษา ไอเซค ประเทศไทย และ บริษัทโกลบิชอคาเดเมีย (ไทยแลนด์) เริ่มต้นจากการค้นหาตัวแทนเยาวชนเพื่อเป็นผู้นำด้านสันติภาพ หรือ Peace Leader รุ่นแรก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 โดยจัดกิจกรรมคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนกว่าหมื่นคนจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อคัดเลือกตัวแทนผู้นำที่มีคุณสมบัติหลัก คือ มีความปรารถนา (Passion) และความมุ่งมั่น (Commitment) ที่พร้อมจะสร้างความเปลี่ยนแปลง และเป็นกระบอกเสียงให้กับเพื่อนเยาวชนด้วยกัน ในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อช่วยลดปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน ผลการคัดเลือกเยาวชนช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ในโครงการนี้มีตัวแทน
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นผ่านเข้าร่วมโครงการจำนวน 1,300 คน และมีนักเรียน 30 คน ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้นำด้านสันติภาพรุ่นแรก ผ่านเข้ารอบที่ 4 ซึ่งเป็นรอบชิงชนะเลิศ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เยาวชนกลุ่มนี้จะมาช่วยกันสร้างนวัตกรรมเพื่อลดความรุนแรงในโรงเรียน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะของการคิดเพื่อออกแบบ หรือ Design Thinking การสร้างโครงการ (Project Creation) พร้อมนำเสนอต่อหน้าสาธารณชน เพื่ออุทิศแก่สันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สันติภาพที่ปราศจากสงคราม เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจมนุษยชาติถึงผลกระทบและความเสียหายทั้งจากทรัพย์สินและชีวิตที่เกิดจากสงคราม

โครงการนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสร้างตัวแทนเยาวชนที่จะมาร่วมเป็นผู้นำด้านสันติภาพในระดับมัธยมปลาย และระดับมหาวิทยาลัย ในปีต่อไป กิจกรรมฝึกอบรมและประสบการณ์ที่เยาวชนทุกคนได้รับในครั้งนี้ จะเสริมสร้างความมั่นใจ ความภาคภูมิใจ และองค์ความรู้ใหม่ให้แก่นักเรียนทุกคนและครอบครัว ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้และออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อลดความรุนแรงในโรงเรียน จะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยเหลือเพื่อนนักเรียน ครู โรงเรียน และสังคมไทยได้ นอกจากนั้น ตัวแทนเยาวชนผู้นำด้านสันติภาพทั้ง 30 คน จะช่วยเป็นกระบอกเสียงให้นักเรียนไทยทุกคนตระหนักรู้เรื่องความรุนแรงทั้งในโรงเรียนและครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงยังมีเป้าหมายที่จะขยายเครือข่ายตัวแทนเยาวชนไทยและสร้างผู้นำด้านสันติภาพ หรือ Peace Leader กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพื่อให้นักเรียนไทยได้เตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้นำและพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 สามารถช่วยยุติปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพในเร็ววัน

ผลการตัดสิน ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ด.ญ.มัญชุวีร์ ศักดิ์ชนะลายา โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้เซนต์ยอห์นบอสโก ด.ญ.ประณิตา อุทัยเฉลิม โรงเรียสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ด.ญ.ธนิกา ชมภูทีป โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โดยน้องทั้ง 3 คนเปิดเผยถึงการแข่งขันในครั้งนี้ว่า ปัญหาการ bully ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนควรแก้ที่ปลายเหตุ ด้วยการกลับไปดูที่ต้นเหตุมากกว่า ด้วยการทำให้เด็กมีความเห็นใจผู้อื่น ซึ่งการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีเหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาให้ลดลงเบาบางลงไปได้ โดยการเข่งขันในครั้งนี้ทีมเราได้สร้างเกมที่ชื่อว่า bully เพื่อเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหาในลักษณะ Edutainment โดยการนำ Education มารวมกับ Entertainment เพื่อทำให้เวลาเด็ก ๆ เรียนจะได้รู้สึกกลืนไปกับสถานการณ์ ไม่รู้สึกเบื่อว่ามาเรียนแต่สาระอย่างเดียว ซึ่งเกมนี้มีจุดเด่นในการใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ว่า เด็กมีปัญหาอะไร แล้วตัวเกมก็จะถามว่า เราควรทำอะไร เป็นเหมือน Emulation game ด้วยการสวมบทบาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ bully ในโรงเรียนแล้ว เราจะใช้วิธีการแก้ไขปัญหาตรงนี้อย่างไร เพื่อให้เราหลุดพ้นไม่เกิดบาดแผล หรือปมในใจเมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่

ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน หรือ การ bully ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น เพราะจะทำให้เด็กเสียความมั่นใจ เป็นปมในใจไปอีกนาน อยากบอกว่าปัญหานี้ไม่สามารถแก้ได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่ง เราควรแก้ปัญหาในภาพรวม ด้วยการใช้แรงใจในการช่วยให้ปัญหานี้หายไป

ด้าน น.ส.ศรัญญา ศิริรัตน์ ประธานจัดงานร่วม สมาคมไอเซคแห่งประเทศไทย และ นายธีรกร อานันโทไทย ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันสอนภาษาอังกฤษ Globish กล่าว่า เห็นความถี่ของข่าวที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในโรงเรียนเยอะมาก ทำให้คิดว่าทำไมสิ่งเหล่านี้ไม่หายไป หรือถูกหยิบยกขึ้นมา เพื่อเป็นแบบอย่างให้มีกิจกรรม หรือการรณรงค์ในเรื่องแบบนี้อย่างจริง โดยคิดว่าต้องเริ่มจากผู้ที่มีประสบการณ์อยู่ในสังคม หรือสถานการณ์เดียวกันที่เกิดขึ้นจริง ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงโฟกัสไปที่กลุ่มน้อง ๆ มัธยมต้น เพราะมีความเป็นได้สูงมากที่เขาจะได้เจอกับการ bully ซึ่งเขาจะได้มีส่วนร่วมรับรู้รวมถึงแก้ปัญหาตรงนี้ เพื่อให้เขาสามารถคิดแก้ปัญหาที่ตัวเขาและคนรอบข้างได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ คิดว่าการสร้างภาคีเครือข่ายที่เรียกว่า Peace leader เป็นสิ่งที่จะช่วยหาวิธีการที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนได้จริง

 

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!