สกสว. เชื่อ ไทยสามารถผลิตวัคซีนได้เอง ได้มาตรฐานสากล พร้อมรับมือโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำโดย รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. และทีมผู้บริหาร สกสว. ผู้บริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และ หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เยี่ยมชมและติดตามความก้าวหน้าการวิจัยและพัฒนาการผลิตวัคซีนที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จาก สกสว. ผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กววน.) ที่ โรงงานผลิต(วัคซีน)ชีววัตถุ องค์การเภสัชกรรม ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยมี นายรังษี ปัดลี รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม และคณะ ให้การตอนรับ พร้อมรับฟังรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตวัคซีนเอชเอ็กซ์พี-จีพีโอแวค (HXP-GPOVac) โครงการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิดเชื้อตาย 4 สายพันธุ์ (TetraFluvac TF) ชนิดพร้อมฉีด (Pre-filled syringe) และ โครงการพัฒนาการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H7N9 ชนิดเชื้อตาย ด้วยเทคโนโลยีการใช้เซลล์เพาะเลี้ยง ก่อนนำเยี่ยมชมโรงงานผลิตวัคซีน

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า สกสว. เป็นหน่วยงานกลางของประเทศ ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศในทุกด้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมถึงการจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ในทุกประเด็น โดยเฉพาะประเด็นเร่งด่วน เช่น การวิจัยและพัฒนาทางด้านวัคซีน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้เอง สามารถพึ่งพาตนเอง และแข่งขันได้ในระดับสากล และจากการเยี่ยมชมโรงงานผลิตวัคซีน ด้วยเทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก และผลการดำเนินงานโครงการทางด้านวัคซีน ที่ สกสว.จัดสรรงบประมาณ ให้แก่ หน่วยบริหารจัดทุน บพข. และ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ สนับสนุนแก่ องค์การเภสัชกรรม เพื่อพผลิตและพัฒนาวัคซีน โดยส่วนตัวเชื่อว่า อีกไม่นานประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนได้ตามมาตรฐานสากล เพื่อใช้ในการเตรียมพร้อมรับมือกับโรคอุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากการผลิตวัคซีน เพื่อใช้เองในประเทศตามมาตรฐานสากลแล้ว อีกประเด็นสำคัญที่เกี่ยวเนื่อง คือ การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่จะต้องมีการหารือ และร่วมกันขับเคลื่อนต่อไป

ด้าน นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า สถาบันวัคซีนแห่งชาติ มีหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ รวมถึงการส่งเสริม สนับสนุน หรือดำเนินการให้มีการวิจัย การพัฒนา การผลิต และการกระจายวัคซีนให้มีคุณภาพ และมีปริมาณเพียงพอ สำหรับที่จะใช้ทั้งในสถานการณ์ปกติ และในสถานการณ์ฉุกเฉิน และบริหารจัดการขับเคลื่อนการดำเนินการให้สัมฤทธิ์ผลตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ ตลอดจนสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน และประสานงานหารือร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ สถาบัน การศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ หรือองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการเกี่ยวกับวัคซีน

ปัจจุบัน สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินการด้านวัคซีน ทั้งในส่วนของการดำเนินงานวิจัยต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ เช่น การวิจัยพัฒนากระบวนการ การวิจัยพัฒนาศักยภาพการผลิต และ การวิจัยทางคลินิก รวมงบประมาณทั้งสิ้น กว่า 7,277 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาทางด้านวัคซีน นอกจากจะเป็นการดำเนินงานตามแผน ววน.แล้ว ยังมีความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570 ภายใต้วิสัยทัศน์ ให้ประชาชนทุกคนในประเทศไทยเข้าถึงการป้องกันโรคที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

 

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!