การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ปี 2566 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยใช้กติกาการแข่งขันเดียวกันกับ การแข่งขัน ABU ASIA-PACIFIC ROBOT CONTEST ซึ่งรูปแบบของการแข่งขันในปีนี้ คือ “โปรยบุปผาบนนภาเหนือนครวัด” โดยภารกิจเป็นการทำงานร่วมกันของหุ่นยนต์กระต่าย (Rabbit Robot) และหุ่นยนต์ช้าง (Elephant Robot) การแข่งขัน คือการแข่ง “โยนห่วง” โดยใช้ห่วงสีแดง และสีน้ าเงิน ซึ่งทำมาจากท่อยางที่ใช้แทนดอกไม้
กลุ่มประเภทการแข่งขัน
1. กลุ่มทีมหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Fully Autonomous Robots)
2. กลุ่มทีมหุ่นยนต์ทั่วไป (Manual and Semi-Autonomous Robots)
การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2566 ในรอบชิงชนะเลิศ จะเป็นการแข่งในแต่ละกลุ่มจนได้
ทีมที่ดีที่สุดของแต่ละกลุ่ม จำนวน 2 ทีม รวมเป็น 4 ทีม แล้วทำการแข่งขันแบบไขว้กันระหว่างกลุ่มทีมหุ่นยนต์อัตโนมัติกับกลุ่ม
ทีมหุ่นยนต์ทั่วไป หลังจากนั้นทีมที่ชนะจากการไขว้กัน จึงจะเข้าไปชิงชนะเลิศ
คุณสมบัติผู้สมัคร
1. คณะ / มหาวิทยาลัย สมัครได้ไม่จำกัดทีม
2. ทีมประกอบด้วย นักศึกษา จำนวน 3 คน เรียกว่า สมาชิกในทีม (Team Member) และอาจารย์ที่ปรึกษา (Instructor) 1 คน
ซึ่งทุกคนต้องสังกัดในสถานศึกษาเดียวกัน นักศึกษา 3 คนในทีม มีสิทธิ์ลงแข่งขันในสนาม
3. นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้มีผู้ช่วย (Pit Crew) ได้3 คน สำหรับช่วยในพื้นที่เตรียมหุ่นยนต์ (Pit Area) ยกหุ่นยนต์ไปที่สนาม
และช่วยระหว่างการ Setup โดยผู้ช่วยทีมทุกคนต้องสังกัดสถานศึกษาเดียวกันกับสมาชิกทีม
4. ไม่อนุญาตให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วมในการแข่งขัน
วิธีการสมัคร
1. เข้าสู่เว็บไซต์ https://www.tpa.or.th/robot/ คลิกเมนู “ใบสมัคร”
2. อ่านเงื่อนไขการสมัครการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย และคลิกปุ่ม “ยินยอมและปฏิบัติตามข้อตกลง”
3. กรอกข้อมูลลงใน “แบบฟอร์มใบสมัคร” ให้ถูกต้องและครบถ้วน
4. ระบุเอกสารประกอบการสมัคร โดยเลือกส่งอย่างใดอย่างหนึ่ง
5. กรณีที่ข้อมูลของท่านถูกต้องและครบถ้วนแล้ว กดปุ่ม “Submit”
6. รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลและยืนยันผลการสมัครจากอีเมลที่ท่านกรอกข้อมูลให้ไว้ภายใน 3 วัน หลังจากส่งใบสมัคร
หมายเหตุ หากตรวจสอบว่าข้อมูลที่ท่านให้ไม่ชัดเจน และ / หรือ เป็นเท็จทาง ส.ส.ท. มีสิทธิ์ในการยกเลิกสิทธิ์ผู้สมัครได้โดย
ไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
การฝึกอบรม
1. ระยะเวลาฝึกอบรม จำนวน 1 วัน
2. ห้วข้อฝึกอบรม ได้แก่
2.1 เทคนิคการออกแบบทางกล (Mechanical Design)
2.2 การวางแผนการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ROS, AMCL, Dynamic Window, A-star)
2.3 ชี้แจงกติกา และ ถาม – ตอบ
รางวัลการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย
1. รางวัลชนะเลิศ
ถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เงินรางวัล 50,000 บาท, เหรียญรางวัล และเกียรติบัตร
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ถ้วยรางวัล, เงินรางวัล 30,000 บาท, เหรียญรางวัล และเกียรติบัตร
3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (จำนวน 2 รางวัล)
ถ้วยรางวัล, เงินรางวัลละ 10,000 บาท, เหรียญรางวัล และเกียรติบัตร
4. รางวัลหุ่นยนต์อัตโนมัติยอดเยี่ยม (TPA Robot Automation Excellence Award)
ถ้วยรางวัล, เงินรางวัล 30,000 บาท และเกียรติบัตร
หลักเกณฑ์การพิจารณาคลิปวิดีโอรายงานความคืบหน้าประดิษฐ์หุ่นยนต์
ในคลิปวิดีโอรายงานความคืบหน้าประดิษฐ์หุ่นยนต์ ต้องประกอบด้วย
1. แนะนำชื่อทีม สมาชิกในทีม และอาจารย์ที่ปรึกษา โดยวิดีโอต้องถ่ายให้เห็นหน้าสมาชิกในทีม และอาจารย์ที่ปรึกษา
2. หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนที่ไปด้านหน้า 2 เมตร ต่อด้วยเลี้ยวซ้าย 90 องศา และเคลื่อนที่ต่ออีก 1 เมตร หลังจากนั้นจะต้อง
เลี้ยวขวา 90 องศา และเคลื่อนที่ไปด้านหน้าต่ออีก 1 เมตร โดยวิดีโอในส่วนนี้ต้องเป็นวิดีโอต่อเนื่อง ห้ามมีการตัดต่อ
3. หุ่นยนต์ต้องทำภารกิจโยนห่วงให้ลงเสาที่มีความสูง 800 มม. (80 ซม.) โดยที่เสามีลักษณะตามที่กติกากำหนด จาก
ระยะใด ๆ ก็ได้ โดยที่หุ่นจะต้องไม่สัมผัสกับเสาโดยเด็ดขาด
วิธีการส่งคลิปวิดีโอรายงานความคืบหน้าประดิษฐ์หุ่นยนต์
1. กรุณาตั้งชื่อไฟล์คลิปวิดีโอด้วยชื่อทีม และอัปโหลดลง Google Drive จากนั้นส่งลิงค์มาที่ Email : robot@tpa.or.th
2. หากไม่ส่งผลงานตามระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน
หมายเหตุ การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
การรับสมัคร เปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 65 – 31 ม.ค. 66
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-2580320 ต่อ 1111, 1113 (วันทำการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 น.)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3vG69Xs