อาชีวะ ลุยจัดตั้ง “สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด” 77 จังหวัด เดินหน้าผลิตแรงงานสมรรถสูง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แถลงข่าวจัดตั้ง “สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด” ในการขับเคลื่อนนโยบายหลัก 5 ข้อ และ นโยบายเร่งด่วน 9 ข้อ ในการบริหารอาชีวศึกษาจังหวัดในพื้นที่ 77 จังหวัด ตอบสนองนโยบายสำคัญของประเทศ อาทิ การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวะสมรรถนะสูง นโยบายสถานศึกษาปลอดภัย สถานศึกษาแห่งความสุข และความร่วมมือกับสถานประกอบการในการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวะ

ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีนโยบายยกระดับคุณภาพคนอาชีวศึกษา ตามนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญเรื่องการยกระดับคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตลอดจนการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยขับเคลื่อนตาม 9 นโยบายเร่งด่วน (Quick win) และ 5 นโยบายหลัก อาทิ เรื่องความปลอดภัย มีสถิติการทำร้ายร่างกายลดลง เน้นย้ำเรื่องการเรียนในห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัยสำหรับนักเรียนนักศึกษา โดยมีเป้าหมาย เรียนจบ มีงาน มีรายได้ มีบัญชีเงินฝากระหว่างเรียน ลดปัญหายาเสพติด และบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา การสร้างภาพลักษณ์อาชีวะ มุ่งเน้นการนำเรื่องราวดี ๆ อาทิ ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่นของอาชีวะ การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า การเปิดวิทยาลัย (Open house) เพื่อสื่อสารภาพลักษณ์ที่ดีในการจัดการศึกษาเพื่อประชาชน และทำเพื่อประชาชนทุกกลุ่ม เรื่องอาชีวะอยู่ประจำ 88 แห่ง แก้ปัญหาเด็กด้อยโอกาส มีค่าอาหาร ค่าที่พัก ให้กับเด็กด้อยโอกาส และสามารถดูแลเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาได้ จัดทำโครงการอาชีวะช่วยประชาชน ฝึกให้นักเรียนนักศึกษามีจิตสาธารณะ เป็นคนดี มีคุณธรรม เป็นจิตอาสาช่วยเหลือประชาชนในทุกช่วงเทศกาล

การจัดตั้งสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด 77 จังหวัด เกิดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการอาชีวศึกษาสู่ภูมิภาค พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ เชื่อมโยงกับส่วนราชการจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนบูรณาการจัดการศึกษาร่วมกัน เรื่องทวิศึกษาแนวใหม่ มุ่งเน้นไปยังนักเรียน นักศึกษา ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยในระยะแรกได้ร่วมมือกับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล โดยได้ประสานงานกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำคู่มือร่วมกัน โดยจะเปิดเรียนในภาคเรียน ปี 2566 การปฏิรูปวิทยาลัยเกษตรและประมง จากปัญหานักเรียนนักศึกษาที่ลดลง จึงมีการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจเอกชน โครงการ 1 วิทยาลัย 1 ฟาร์ม ให้นักเรียนนักศึกษาได้ฝึกเป็นผู้ประกอบการในวิทยาลัย เป็นเจ้าของธุรกิจ โครงการทวิภาคีร่วมกับสถานประกอบการภาคเอกชน ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำ โดยมอบหมายให้ สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด เชื่อมโยงและจับคู่ภาคธุรกิจในท้องถิ่น ทั้งหมดนี้ เป็นการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ตอบสนองต่อความต้องการในการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง เพื่อพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

RANDOM

NEWS

กระทรวง อว. ระดม มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโครงสร้างอาคารและการแพทย์ เปิด “ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือด้านการตรวจสอบอาคารและการแพทย์” ประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือ ติดต่อผ่าน Call Center 1313 หรือที่ เฟซบุ๊ก กระทรวง อว.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เชิญชวนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ประกวดออกแบบสื่อ Infographic และ Motion Graphic ภายใต้ธีม “The Synchronizer สุดยอดนักเชื่อม DATA” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท สมัครและส่งผลงานได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 12 เมษายน

ม.วลัยลักษณ์ ยันพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน “ชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ” ครั้งที่ 22 วันที่ 4 – 8 เม.ย. นี้ เพื่อคัดเลือกนักเรียนไทยเป็นตัวแทนไปแข่งชีววิทยาโอลิมระหว่างประเทศ ที่ฟิลิปปินส์

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!