อังค์ถัด จับมือ ไทย ผลักดันพลังหญิง ปั้นผู้ประกอบการและนักวิจัยหญิง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ อังค์ถัด ผนึกกำลังประสานความร่วมมือพัฒนาการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจัดการฝึกอบรมผู้ประกอบการ และนักวิจัยหญิง เพื่อเพิ่มศักยภาพผลักดันให้เกิดต้นแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียวของประเทศ นำร่อง 15 ตัวแทนจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เข้าร่วมเวิร์คช็อปเดือนสิงหาคม ที่กรุงเทพฯ

ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียว หลังจากที่ประเทศสามารถผ่านวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ได้สำเร็จ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญที่จะนำความหลากหลายทางชีวภาพภายในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงความร่ำรวยทางมรดกวัฒนธรรม โดยคำนึงถึงโอกาสการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านการสนับสนุนทั้งทางด้านกรอบของกฏหมาย และเงินลงทุน จะเป็นต้นแบบในการช่วยให้บริษัทสามารถพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันในอุตสากรรมหลัก 4 ประเภท คือ อุตสาหกรรมด้านการเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมด้านยาและสุขภาพ อุตสาหกรรมด้านชีวพลังงาน ชีววัตถุ และชีวเคมีภัณฑ์ รวมถึงอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

และภายในอีก 5 ปีข้างหน้า รัฐบาลคาดว่า โมเดลทางธุรกิจนี้จะสามารถสร้างรายได้เกือบ 30% ของ 4 อุตสาหกรรมหลัก จาก GDP รวมที่ 3.4 ล้านล้านบาท (99.5 พันล้านUSD) ถึง 4.4 ล้านล้านบาท (128.7 พันล้าน USD) โดยภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าวนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ อังค์ถัด จะจัดโครงการฝึกอบรมให้นักวิจัยและผู้ประกอบการผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนาให้ได้เรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียว เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวได้มีขึ้นในการประชุมครั้งที่ 26 ของ คณะกรรมการด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมา

“โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียวมีศักยภาพที่จะขยายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน และเรามีความยินดีที่ประเทศไทยพร้อมที่จะแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้ ซึ่งเราได้รับการตอบรับที่ดีจากหลายประเทศที่แสดงความสนใจมาเข้าร่วมกับโครงการดังกล่าว โดยกรอบความร่วมมือครั้งนี้เป็นความสำเร็จอย่างต่อเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 25 ซึ่งได้จัดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา” คุณชามิกา เอ็น ซิริมัน ผู้อำนวยการอังค์ถัด ด้านเทคโนโลยีและการขนส่ง กล่าวในพิธีเซ็นสัญญาความร่วมมือของทั้งสององค์กร

โดยในระยะแรกของโครงการนั้น ทั้งสองภาคีจะร่วมกันฝึกอบรม 15 คน ตัวแทนจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการฝึกอบรมดังกล่าวจะจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ในเดือนสิงหาคม 2566 โดยจะคัดเลือกจากผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากประเทศในกลุ่มเอเชียและแอฟริกา โดยความร่วมมือดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประเทศสมาชิกถาวรในเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการฝึกอบรมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ใน 4 อุตสาหกรรมหลัก พร้อมทั้งการแบ่งปันประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผู้ประกอบการชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์จากสถาบันที่มีชื่อเสียง และผู้วางกรอบนโยบายที่สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียว

“เมื่อเรามองไปในอนาคต มันถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับวิธีการที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีความเท่าเทียม และมีประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งพลังของผู้ประกอบการและนักวิจัยผู้หญิงมีศักยภาพที่สูงมาก และไม่ควรถูกจำกัด” ดร.ปัทมาวดี กล่าว

กรอบความร่วมมือดังกล่าว เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South Cooperation) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา โดย สุพัตรา ศรีไมตรีพิทักษ์ เอกอัครราชทูตไทย และผู้แทนถาวรขององค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีในกรอบนโยบายและการเติมเต็มในกรอบของการปฎิบัติ รวมถึงการส่งเสริมยุทธศาสตร์ทางเลือกเพื่อการพัฒนาของกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมของประเทศ เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนามีกำลังขับเคลื่อนภายในเพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

RANDOM

IBA (ไอบ้า) ปลดล็อกความกังวล เมื่อยอมอ่อนข้อ ปล่อยนักมวย เจ้าหน้าที่เทคนิค และโค้ช สังกัด IBA เข้าช่วยการแข่งขัน European Games 2023 เพื่อคัดสู่โอลิมปิกเกมส์ 2024 ภายใต้ การดำเนินการของโอลิมปิกสากลแล้ว

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!