มูลนิธิเอเชีย ชี้ปฏิรูปการศึกษา พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน คือ ทางออกกับดักรายได้ปานกลางของไทย

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดอันดับจากธนาคารโลกว่า เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางมานานกว่า 20 ปี การที่ประเทศไทยจะเติบโตเป็นประเทศที่มีรายได้สูงได้นั้น ทางภาครัฐและเอกชนต่างมีความเห็นว่า จะต้องมีการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี ฯลฯ โดยมีการศึกษาเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญ จากเรื่องดังกล่าว มูลนิธิเอเชีย ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ ให้ความเห็นและมุมมองที่สามารถนำไปปรับใช้และต่อยอดได้อย่างน่าสนใจ

นายโทมัส พาร์ค ผู้แทนมูลนิธิเอเชียประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยประสบกับปัญหากับดักรายได้ปานกลางมานานกว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องของเศรษฐกิจที่มีต้นทุนการทำธุรกิจและแรงงานที่เพิ่มมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังมีเรื่องของการศึกษาที่เป็นปัจจัยสำคัญ หลาย ๆ ธุรกิจบอกว่า กำลังประสบปัญหาในการหาบัณฑิตจบใหม่ที่มีคุณสมบัติสูงด้านแรงงาน ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งท้าทายที่สำคัญในการก้าวออกจากกับดักรายได้ปานกลางของประเทศไทย

ถ้าต้องการหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางต้องปฏิรูปการศึกษา โดยจะต้องทำให้อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาในระดับนานาชาติอยู่ในอันดับที่ดีขึ้น มีการผลิตนักเรียนที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ก็จะดึงดูดให้ภาคธุรกิจมีแรงงานที่มีความสามารถและสามารถแข่งขันในระดับสากลได้ สิ่งสำคัญ คือ จะทำให้ระบบการศึกษาดีขึ้นได้อย่างไร ต้องทำให้ทั้งระบบสามารถดูแลนักเรียนได้เป็นจำนวนมาก หรือ ทำให้ประเทศไทยโดยรวมก้าวไปสู่ขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งในด้านการศึกษาทางมูลนิธิเอเชียได้มุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหา 2 ประการ คือ 1. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพโดยรวมของระบบการศึกษาไทย ซึ่งเป็นเรื่องโครงสร้างทั้งระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก 2. ลดความไม่เท่าเทียมกันในระบบการศึกษา ซึ่งมีความแตกต่างกันมาก ทั้งในโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมถึงโรงเรียนในพื้นที่ชนบทและในเมือง

นอกจากนี้ การสร้างพื้นที่ให้เด็กได้แสดงออกก็เป็นสิ่งสำคัญ การส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้ความรู้กับคุณครูเพื่อสอนเด็กก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่การเข้าไปพูดคุยสอบถามนักเรียนว่า เขามีความคิดเห็นอย่างไร เป็นเรื่องที่มีความลึกซึ้งมากกว่า เพราะจะทำให้ทราบข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจ สามารถชี้นำไปในทางที่ถูกต้อง ซึ่งจากการจัดโครงการประกวดเรียงความ “ครูใหญ่ในใจเรา” ที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนต้องการให้ผู้อำนวยการมีส่วนร่วมกับชีวิตประจำวันในโรงเรียนมากขึ้น อาทิ การเดินไปพบนักเรียนในชั้นเรียน , สังเกตว่าครูกำลังทำอะไร รวมถึงเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ให้มากขึ้น และออกไปพูดคุยกับชุมชน หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ ใช้เวลาไปกับการหาทุนการศึกษาให้น้อยลง นอกจากนี้ นักเรียนยังต้องการผู้อำนวยการที่มีความยุติธรรมและเสมอภาค ให้เกียรติกับคนต่างเพศ หรือ มีภูมิหลังต่างกัน และจะชื่นชมเมื่อมีการใช้วาจาที่เหมาะสม และเป็นที่น่าเคารพนับถือ ฯลฯ โดยผลที่ได้รับจากการประกวดเรียงความในครั้งนี้ คือ นักเรียนรู้สึกว่าความคิดเห็นของพวกเขามีความสำคัญ สามารถช่วยปรับปรุงโรงเรียน หรือ แก้ไขระบบการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญได้ เป็นการขยายพื้นที่ให้นักเรียนมีบทบาท หรือ เคารพต่อบทบาทของตนเองมากขึ้นในอนาคต

นายโทมัส พาร์ค กล่าวทิ้งท้ายว่า ในอนาคต มูลนิธิเอเชีย มีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียน ต่อไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะในเรื่องความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน โดยจะให้ความสำคัญโรงเรียนขนาดเล็กในชนบทที่ต้องมีความพร้อมและได้รับการสนับสนุนมากขึ้น ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทย โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาไปพร้อมกับประเทศ เพื่อให้หลุดพ้นจากประเทศที่มีกับดักรายได้ปานกลางต่อไป

RANDOM

รมว.ศธ. มอบนโยบายขับเคลื่อนการจัดการศึกษา ของสำนักงาน กศน. ในการประชุมชี้แจงจุดเน้นและแนวทางการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ปี 66 เน้นย้ำความปลอดภัยในสถานศึกษา และการป้องกันยาเสพติด

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!