ซินโครตรอนไทย เจ๋ง ไขความลับ “กระเทียม” เมืองจิงโจ้ วิเคราะห์ปัจจัยเพิ่มสารออกฤทธิ์ทางยาก่อนแปรรูปอัดเม็ด ส่งขายในอุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

นักวิทยาศาสตร์ต่างชาตินำกระเทียมจากออสเตรเลียมาวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอนที่ประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อความเข้มข้นของ “อัลลิซิน” ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาในกระเทียม เพื่อเป้าหมายการผลิตกระเทียมที่ให้สารดังกล่าวในปริมาณสูง เป็นประโยชน์ต่อการแปรรูปเป็นกระเทียมอัดเม็ดหรือแคปซูล ในอุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์

รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์ (Assoc. Prof. Stephen Harper) นักวิจัยจากวิทยาลัยการเกษตรและอาหาร (School of Agriculture and Food Sciences) มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (The University of Queensland) ออสเตรเลีย และ ดร.บินห์ เหงียน (Dr.Binh Nguyen) นักวิจัยชาวเวียดนาม ซึ่งจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย เดินทางมาใช้บริการแสงซินโครตรอน ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมา

รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์ กล่าวว่า เราใช้แสงซินโครตรอนด้วยเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (XAS) เก็บข้อมูลรูปแบบของธาตุซัลเฟอร์ ในกระเทียมหลากหลายสายพันธุ์ และกระเทียมที่ปลูกด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ว่ารูปแบบของธาตุซัลเฟอร์ตั้งต้นมีผลต่อปริมาณสาร “อัลลิซิน” (Allicin) ในกระเทียมหรือไม่ ซึ่งอัลลิซินเป็นสารที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์ มีการแปรรูปกระเทียมเป็นอัลลิซินอัดเม็ดหรือบรรจุแคปซูล อุตสาหกรรมจึงต้องการกระเทียมที่ให้ปริมาณอัลลิซินสูง ซึ่งงานวิจัยนี้ต้องการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อความเข้มข้นของอัลลิซินในกระเทียม

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิจัยของศูนย์วิจัยการเกษตรนานาชาติแห่งออสเตรเลีย (ACIAR) ซึ่งเรื่องกระเทียมและพืชวงศ์มะเขือในออสเตรเลีย เนื่องจากที่ออสเตรเลียปลูกกระเทียมจำนวนมาก และกระเทียมของออสเตรเลียขึ้นชื่อเรื่องมีปริมาณอัลลิซินสูง โดยอัลลิซินเป็นสารออกฤทธิ์ทางยา และรู้จักกันว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมนุษย์ ดีต่อหลอดเลือดหัวใจ และมีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อต่าง ๆ

“ซินโครตรอนประเทศไทย สามารถศึกษาธาตุเบาอย่างซัลเฟอร์ได้ และเพื่อนร่วมงานของเราที่มาวิจัยพร้อมกันก็ศึกษาเรื่องฟอสฟอรัส ซึ่งการทำการวิจัยธาตุทั้งสองนี้โดยใช้แสงซินโครตรอนนั้น ไม่สามารถทำได้ที่ออสเตรเลีย” รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์กล่าว ซึ่งการเดินทางมาวิจัยที่ประเทศไทยสะดวกต่อการเดินทางสำหรับเขา และ ดร.บินห์ เหงียน ด้วย

“สารประกอบอัลลิซินมีความสำคัญต่อกลิ่นของกระเทียม หากใครชอบกระเทียมก็จะอยากได้กระเทียมที่มีกลิ่นฉุน” ดร.บินห์ เหงียน กล่าว และบอกด้วยว่า ประทับใจเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนที่มิตร คอยช่วยเหลือ และมีความเชี่ยวชาญ จึงคิดว่าจะกลับมาทำวิจัยที่เมืองไทยอีก และแนะนำเพื่อน ๆ ที่เวียดนามให้มาทำวิจัยที่นี่ด้วย

RANDOM

โครงการซื่อสัตย์เพื่อชาติ เชิญชวนผู้สนใจไม่จำกัดเพศและอายุ ร่วมประกวดแสดงความซื่อสัตย์ผ่านการแสดงรูปแบบใดก็ได้ โดยต้องมี​เพลง “ความซื่อสัตย์” เป็นส่วนประกอบ ชิงเงินรางวัลรวม 110,000 บาท

ราชมงคลพระนคร รับสมัครคัดเลือกบุคคล ตำแหน่ง “อาจารย์” คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และ ตำแหน่ง “นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ” เทคโนโลยีดิจิทัลทางการศึกษา และบริการห้องปฏิบัติการ

“ทุนพลเอกเปรม ติณสูลานนท์” เรียนต่อป.ตรี หลักสูตรไทย-อินเตอร์ ด้านการโรงแรม ที่วิทยาลัยดุสิตธานี ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567 รอบที่ 2 (ทั่วไป) ยื่นใบสมัครขอรับทุนได้ถึง 15 ธ.ค.นี้

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!