ทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผงาดจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก คว้า TOP 70 ของโลก และ TOP 2 ของอาเซียน โดย QS World University Rankings by Subject 2023

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับจาก QS World University Rankings by Subject 2023 ให้ติดอันดับ TOP 70 ของโลก ในสาขาทันตแพทยศาสตร์ (Dentistry) เป็นครั้งแรก และจัดอยู่ใน TOP 2 ของอาเซียน และอันดับ 1 ของประเทศไทย

ศ.ทพ.ดร.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ถูกจัดอันดับจาก QS World University Rankings by Subject ซึ่งปัจจัยแห่งความสำเร็จในครั้งนี้ เกิดจากการพัฒนาที่ดีขึ้นในหลาย ๆ ด้านของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทั้งงานวิจัย วิชาการ และการบริการวิชาการ ซึ่งในด้านงานวิจัย เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งเน้นการตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงในวารสารวิชาการนานาชาติในระดับ Q 1 ซึ่งพบว่ามีจำนวนผลงานวิชาการของคณะที่ตอบโจทย์สังคมได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้ง บริษัท ซี.ยู.เดนท์ เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด ส่งผลให้คณาจารย์และนิสิตพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ตอบโจทย์การพัฒนาผลงานนวัตกรรมนำไปสู่การจำหน่ายเชิงพาณิชย์

ในด้านวิชาการ คณะทันตแพทยศาสตร์มีการพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ในรูปแบบของ Education Innovation โดยมีหลักสูตรต่าง ๆ จำนวนมากที่เป็นความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ รวมทั้งยังมีหลักสูตรผลิตทันตแพทย์ ร่วมกับ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข คณะวิศวกรมศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ อีกด้วย รวมทั้งมีโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตต่างชาติ และส่งเสริมให้คณาจารย์ได้ไปนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศ

ด้านการให้บริการวิชาการ โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (HA) ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และเป็นศูนย์ Tertiary Healthy Care ทางทันตกรรม รวมถึงพัฒนาโครงการ Teledentistry เพื่อดูแลสุขภาพช่องปากของคนไทยในถิ่นทุรกันดาร และผู้ด้อยโอกาส ด้วยการสร้างเครือข่ายชุมชนผ่านทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทำหน้าที่ในการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น ให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากก่อนที่จะเข้ารับการรักษาที่คลินิก หรือ โรงพยาบาล มีโครงการความร่วมมือกับ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในการนำนวัตกรรม AI เข้ามาใช้ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. (PTT Station) ในรูปของคลินิกที่มีลักษณะคล้ายตู้เอทีเอ็ม ให้บริการ 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยสามารถเข้าไปพิมพ์อาการป่วยของตนเอง ระบบ AI จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางการรักษาอาการป่วยในเบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์ โดยจะเริ่มเปิดให้บริการได้ภายในปลายปีนี้ที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. วิภาวดีรังสิต 62

“คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีความโดดเด่นในด้านการวิจัย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ส่งเสริมให้คณาจารย์ในคณะพัฒนางานวิจัย วิชาการ โดยมีทุนสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ที่ทางคณะและมหาวิทยาลัยให้การสนับสนุน มีการจัดทำ Workshop เขียนบทความวิจัย โดยมีนักวิจัยอาวุโสเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ยังมีการสร้างกลุ่มพันธมิตรวิจัยขึ้น ในส่วนของคณาจารย์นั้น คณะมีคณาจารย์ที่มีคุณภาพ มีการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการทำวิจัย และมีงบประมาณสนับสนุนการทำวิจัยที่เพียงพอ ทำให้นักวิจัยมีความสุขกับการพัฒนาผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น ด้านการให้บริการของคณะก็มีความโดดเด่นทั้งในส่วนของคลินิกการรักษาทางทันตกรรมที่ทันสมัย พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ” ศ.ทพ.ดร.พรชัย กล่าว

คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายนอกเป็นจำนวนมาก ศ.ทพ.ดร.ธนภูมิ โอสถานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีโครงการความร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการผลิต Nano-hydroxyapatite ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้เป็นสารทดแทนกระดูกที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อส่งเสริมการคืนกลับแร่ธาตุของผิวฟัน นอกจากนี้ ทางคณะยังร่วมมือกับ บริษัท โอสถ อินเตอร์ แลบบอราทอรีส์ จำกัด พัฒนาน้ำยาบ้วนปากก่อนและหลังทำฟันเพื่อลดการติดเชื้อ ซึ่งขณะนี้มีจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว

ศ.ทพ.ดร.พรชัย กล่าวต่อว่า นวัตกรรมส่วนหนึ่งจากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่น่าสนใจ อาทิ Dent Cloud เป็นระบบบริหารจัดการคลินิกทันตกรรมที่ทำงานอยู่บนระบบ Cloud ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลคลินิกทันตกรรมของตัวเองได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นการช่วยเหลือสังคมได้อย่างดียิ่ง การพัฒนา Dent Product เช่น ยาสีฟัน “คูฬเดนท์” ซึ่งเป็นยาสีฟันคุณภาพดี หนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ใช้สารจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนา Silver Diamine Fluoride เพื่อป้องกันฟันผุในเด็ก สามารถระงับอาการฟันผุได้ผลเป็นอย่างดี ซึ่งปัจจุบันต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ถ้าสามารถผลิตเองได้ในประเทศ จะทำให้ราคาถูกลง และสามารถนำไปใช้ในชุมชนได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ยังมีการสร้าง CU Dental Academy ในการให้ความรู้ผ่านการศึกษาต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบ upskill และ reskill ให้ทันตแพทย์ไทย ทำให้มีทันตแพทย์ที่มีคุณภาพสูงออกไปทำหน้าที่ในการดูแลประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

“ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องผ่านงานวิจัยมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมตามเทรนด์ของโลก รวมถึงความโดดเด่นในด้านการพัฒนาผลงานวิชาการ และการให้บริการแก่สังคม ส่งผลให้คณะมีชื่อปรากฏอยู่ใน Top Ranking ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ขอเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยในการช่วยเหลือดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพฟันที่ดี มีคุณภาพอย่างยั่งยืนตลอดไป” คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวทิ้งท้าย

RANDOM

‘ดร.สุปราณี’ ยันข่าวคิกบ๊อกซิ่ง หลุดจากโผจัดโอลิมปิก2028 คงเป็นเรื่องจริง แม้จะยังไม่เป็นทางการ และระบุข่าวนี้ถือเป็นโชคดีของมวยไทย ที่จะมีลมหายใจต่อในเส้นทางเดินสู่โอลิมปิกเกมส์

มูลนิธิกองทุนพัฒนาการกีฬา เดินหน้าสนับสนุนนักกีฬาล่าสุดมอบทุนการศึกษาให้”น้องมายด์” ปัณชญา จันทร์น้อย แชมป์โลกสนุ้กเกอร์เยาวชนอายุไม่เกิน 21 ปี จากประเทศโรมาเนีย เดือนละ 20,000 บาท รวม 6 เดือน

สสส. จับมือ องค์การอนามัยโลกฯ เดินหน้าโครงการส่งเสริมความปลอดภัยทางถนนในสถาบันอุดมศึกษา The PAUSE Project : คิด & Pitch Power Camp พร้อมเฟ้นหา 10 ทีมสุดท้าย ที่จะได้รับทุนการศึกษาไปผลิตสื่อคลิปสั้นรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนต่อไป

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!