เริ่มแล้ว Coding for farm ยกระดับเกษตรกรไทย สู่เกษตรประณีตทฤษฎีใหม่อย่างยั่งยืน

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ไร่แสนดี จังหวัดมหาสารคาม เพื่อติดตามการดำเนินโครงการเกษตรประณีตทฤษฎีใหม่ 1 ไร่ มีรายได้ 100,000 บาทต่อเดือน (เฉลี่ยทั้งปี) ซึ่งดำเนินการโดย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานการวางแผนทําการเกษตรอย่างเป็นระบบ (Coding for farm) สู่โครงการเกษตรประณีตทฤษฎีใหม่ ภายใต้แนวคิด “ทําเกษตรบนเนื้อที่ 1 ไร่ มีรายได้ 100,000 บาทต่อเดือน (เฉลี่ยทั้งปี) โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ผู้ที่ถูกเลิกจ้างงานและกลับถิ่นฐาน ตลอดจนคนที่สนใจเพิ่มทักษะด้านการเกษตร ให้มีโอกาสในการสร้างอาชีพ ด้วยการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถ สร้างคน สร้างงาน สร้างรายได้ เกิดการพัฒนาให้มีองค์ความรู้และทักษะต่อยอดอาชีพเกษตรกร เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อขับเคลื่อนฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ พร้อมปรับตัวรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตได้

โครงการเกษตรประณีตทฤษฎีใหม่ จะจัดขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2566 โดยมีหลักสูตรการอบรม ดังนี้ 1. การวางแผนการทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ (Coding for farm) เช่น การวิเคราะห์และสร้างทางเลือกในการผลิตและบริการ 2. การจัดการบริหารน้ำอย่างเป็นระบบ เช่น การเก็บกักน้ำและการระบายน้ำเพื่อการเกษตร หลักการใช้น้ำเพื่อประโยชน์ในการปลูกพืชอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การปลูกพืช เช่น การปลูกข้าวโพดหวานระบบแม่นยํา การผลิตผักปลอดภัย การปลูกพืชไร่ผลิตอาหารสัตว์ 4. การเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงสัตว์ปีก การเลี้ยงโคพื้นเมือง การเลี้ยงกบ และการวางแผนการทําเกษตรอย่างเป็นระบบ ซึ่งการอบรมแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ภาคทฤษฎี 7 วัน (1 สัปดาห์) และภาคเรียนปฏิบัติ 21 วัน (3 สัปดาห์) โดยมีระยะเวลาอบรมรวม 1 เดือน โดยผู้ที่เข้ารับการอบรมและผ่านเกณฑ์จะได้รับเงินเริ่มต้นการลงทุน 1,300 บาท ต่อคน เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ

ทั้งนี้ ได้นำหลักสูตรการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร (หลักสูตรชลกร) มาต่อยอดบูรณาการในหลักสูตร และในการอบรมยังได้รับความร่วมมือและได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนในชุมชน และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ เช่น วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโค วิสาหกิจชุมชนปลูกผักเพื่อสมุนไพรผลิตผลิตภัณฑ์ ร่วมกับ ครูจากวิทยาลัยฯในการให้องค์ความรู้ส่งต่อให้กับผู้รับการอบรมอย่างเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และเป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตร ซึ่งดำเนินโครงการโดย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยจะติดตามและประเมินผลจากการไปประกอบอาชีพเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ผู้สนใจสามารถสมัครและเข้ารับการอบรมได้ที่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีและประมง สังกัด สอศ. ทั้ง 47 แห่ง ทั่วประเทศ และวิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดน จังหวัดบุรีรัมย์ และวิทยาลัยการอาชีพดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร รวม 49 แห่ง

“ในพื้นที่ชุมชนของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ดและวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ ได้รับการตอบรับจากประชาชนในชุมชนเป็นอย่างดี นับได้ว่าเป็นที่น่ายินดีที่เกษตรกรและประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมการอบรม นอกจากการต่อยอดในอาชีพแล้ว ยังได้รับทุนในการประกอบอาชีพอีกด้วย จึงอยากชวนให้เกษตรกรและผู้ที่ต้องการมีอาชีพเข้าร่วมอบรม สิ่งสำคัญ อยากให้เลี้ยงตัวเองได้ เลี้ยงครอบครัว และเรียนรู้การจัดสรรอย่างเป็นระบบ การปลูกพืชผสมผสาน การจัดการน้ำ ดิน พืช และสัตว์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดบนพื้นที่ พึ่งพาตนเองได้ วางแผนประเทศไทยให้เป็นผู้ผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก คนไทยจะมีอาชีพที่มั่นคง อยู่ดี กินดี มีคุณภาพ อย่างยั่งยืน” รมช.ศธ. กล่าวทิ้งท้าย

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!