สอศ. จับมือ ศูนย์การศึกษาเกาหลี ประจำประเทศไทย (KEC ) และ ศูนย์ระบบอนุญาตการจ้างงาน (EPS) กระทรวงการจ้างงานและแรงงาน เปิดสอนภาษาเกาหลีในสถานศึกษา เพื่อเข้าสู่ระบบการจ้างงานแบบถูกกฎหมาย

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มอบหมายให้ ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ เป็นประธานในพิธีเปิดชั้นเรียนภาษาเกาหลีเพื่อการจ้างงานในวิทยาลัยอาชีวศึกษา ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับ ศูนย์การศึกษาเกาหลี ประจำประเทศไทย (Korean Education Center in Thailand) ประจำปีการศึกษา 2566 โดยมี นายชเว ว็อน ซ็อก ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาเกาหลี ประจำประเทศไทย และ นายคิม ยอง ดง ผู้อำนวยการศูนย์ EPS ประจำประเทศไทย ผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก ข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา และ นักศึกษาวิทยาลัยกาญจนาภิเษกหนองจอก เข้าร่วมพิธี

ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกับ ศูนย์การศึกษาเกาหลี ประจำประเทศไทย (Korean Education Center in Thailand) ประจำปีการศึกษา 2566 ดำเนินการจัดโครงการสนับสนุนการจัดตั้งชั้นเรียน (หลักสูตร) ภาษาเกาหลีในวิทยาลัยอาชีวศึกษา เพื่อฝึกพัฒนาภาษาเกาหลีให้กับผู้เรียนในระดับ ปวช. ปวส. ให้มีความรู้ ความสามารถ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่ง ภาษาเกาหลี ถือว่าเป็นภาษาที่สามอีกภาษาหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักของผู้เรียนอาชีวศึกษา ตลอดจนสนับสนุนผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรภาษาเกาหลีไปทำงาน ณ สาธารณรัฐเกาหลี ตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (วีซ่า E-9) ตลอดจนเชื่อมต่อกับบริษัทเกาหลีในประเทศไทย เพื่อจัดหาตำแหน่งงาน ซึ่งในวันนี้ วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก ได้จัดตั้งชั้นเรียนภาษาเกาหลี โดยมีครูเกาหลีเจ้าของภาษาเป็นครูผู้สอน และมีนักเรียนสนใจสมัครเรียน จำนวน 37 คน ซึ่งจัดการเรียนการสอนทุกวันพุธ เวลา 15.30 – 17.30 น. จำนวน 120 ชั่วโมง

ด้าน นายชเว ว็อน ซ็อก ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาเกาหลี ประจำประเทศไทย (Korean Education Center in Thailand) เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศในเอเชียที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งประเทศไทยและเกาหลี กำลังมีความสัมพันธ์ทางการค้าเพิ่มมากขึ้น รวมถึงต่างร่วมกันพัฒนาผ่านความร่วมมือทางการลงทุนและเทคโนโลยี นอกจากนี้ ประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากคลื่นวัฒนธรรมเกาหลี เช่น เพลง ซีรีส์ ภาพยนตร์เกาหลี และประเทศเกาหลีเองก็มีความสนใจในด้านศิลปะ ดนตรี วัฒนธรรมพื้นบ้านของไทย เช่นกัน ความหลากหลายของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเช่นนี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจและความเคารพซึ่งกันและกันของทั้งสองประเทศ จึงได้เกิดความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนกันระหว่างสองประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเน้นแฟ้นมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงกระตุ้นให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างโอกาสในการจ้างงาน และการรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป้าหมายการสนับสนุนให้บุคลากรไทย ผู้มีทักษะและศักยภาพที่โดดเด่น ได้เรียนภาษาเกาหลี ตลอดจนสามารถเข้าทำงานในประเทศเกาหลีได้ โดยชั้นเรียนภาษาเกาหลีเพื่อการจ้างงานในสถานศึกษาอาชีวศึกษานี้ จะช่วยให้นักเรียนนักศึกษาได้มีความรู้ ความสามารถทางภาษา มีความเข้าใจทางวัฒนธรรม และก้าวเดินไปสู่ความสำเร็จ สามารถเข้าทำงานต่อในประเทศเกาหลี ตลอดจนได้พัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญของตนเองต่อไป

ทางด้าน นายคิม ยอง ดง ผู้อำนวยการศูนย์ระบบอนุญาตการจ้างงาน (EPS) ประจำประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สาธารณรัฐเกาหลีให้ความสนใจธุรกิจใน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ก่อสร้าง เกษตรปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ ซึ่งการเรียนภาษาเกาหลีเพื่อการจ้างงาน จะเป็นประโยชน์ในการสามารถเข้าไปทำงาน ณ สาธารณรัฐเกาหลี ตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ ซึ่งหากเข้ามาทำงานถูกต้องตามกฏหมายเกาหลี แรงงานไทยจะได้รับผลตอบแทน และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่าเทียมกันกับคนเกาหลีเช่นกัน

RANDOM

ยูเนสโก โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ประสงค์จะมอบรางวัล UNESCO-Japan Prize on Education for Sustainable Development ประจำปี 2568 จำนวน 3 รางวัล รางวัลละ 50,000 เหรียญสหรัฐ หน่วยงานที่สนใจส่งแผนงานหรือโครงการ ภายใน 21 มี.ค. นี้

NEWS

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!