สถาบันโคเซ็น สจล. ผนึกกำลัง ไทย – ญี่ปุ่น 6 องค์กรชั้นนำ ปั้นนวัตกร ป้อน EEC และอุตสาหกรรมเป้าหมาย

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter
สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KOSEN – KMITL) นำโดย รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สจล. ต้อนรับตัวแทนจากรัฐบาลญี่ปุ่น นายฮากิอูดะ โคอิชิ สมาชิกสภาล่างญี่ปุ่น และ ประธานกรรมาธิการวิจัยนโยบาย พรรคเสรีประชาธิปไตยญี่ปุ่น พร้อมด้วย ท่านเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น ไจก้าประเทศไทย (JICA) สถาบันโคเซ็นแห่งญี่ปุ่น (NIT) และ คณะทำงาน ในโอกาสที่เดินทางมาประเทศไทย และเยี่ยมชมติดตามความก้าวหน้าของสถาบันโคเซ็นแห่งสจล. (KOSEN – KMITL) ในการผนึกความร่วมมือทางการศึกษาไทย – ญี่ปุ่น มุ่งปั้นนวัตกรตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผย ปี  2567 รุ่นแรกจบ และเข้าทำงานในภาคอุตสาหกรรม
.
.
รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และ ประธานกรรมการ สถาบันโคเซ็นแห่งสจล. (KOSEN – KMITL) กล่าวว่า ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศผู้นำทางเทคโนโลยีระดับสูง และอุตสาหกรรมชั้นแนวหน้าของโลก ประเทศไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์อันดีมาอย่างยาวนาน และมีความร่วมมือทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และ การศึกษา ซึ่ง สจล. มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศญี่ปุ่นมานับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ศูนย์ฝึกโทรคมนาคม และพัฒนาความก้าวหน้ามาเป็น สจล. จวบจนปัจจุบัน ในโอกาสนี้ สจล. มีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้ต้อนรับการมาเยือนของคณะตัวแทนรัฐบาล และ 6 องค์กรชั้นนำ จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้เดินทางมาประเทศไทย ประกอบด้วย มร. ฮากิอูดะ โคอิชิ สมาชิกสภาล่างญี่ปุ่นและประธานกรรมาธิการวิจัยนโยบาย พรรคเสรีประชาธิปไตยญี่ปุ่น นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย นายซูซูกิ คะสุยะ ไจก้าประเทศไทย นายมิยาเกะ ฟูมิโตะ จากกระทรวงต่างประเทศ และ ศาสตราจารย์ อิโนอุเอะ มิสึเตรุ ผู้อำนวยการอาวุโส สถาบันโคเซ็นแห่งญี่ปุ่น (NIT) และ คณะทำงาน  โดยได้เยี่ยมชมติดตามความก้าวหน้าและความสำเร็จของ สถาบันโคเซ็นแห่งสจล. (KOSEN – KMITL) พร้อมชมห้องปฏิบัติการ การสาธิตผลงานนวัตกรรมของนักศึกษา และพบปะพูดคุยกับนักศึกษาอย่างอบอุ่น นับเป็นการสานพลังไทย – ญี่ปุ่น ในการร่วมพัฒนาศักยภาพของเยาวชนคนไทยสู่ระดับโลก เพื่อรองรับการขยายตัวของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย และแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจ EEC พร้อมไปกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก
.
.
สถาบันโคเซ็นแห่งสจล. (KOSEN – KMITL) ก่อตั้งเมื่อปี 2562 จากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและญี่ปุ่น มุ่งเน้นเป็นสถาบันการศึกษาที่พัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่มีทักษะความเชี่ยวชาญสูงในการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายในการสร้าง ‘นวัตกร’ และ ‘วิศวกรนักปฏิบัติ’ (Practical Engineers) ตามมาตรฐานโคเซ็นประเทศญี่ปุ่น (NIT) เป็นหลักสูตรอนุปริญญา 5 ปี ที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทอุตสาหกรรมชั้นนำต่าง ๆ ทั่วโลก ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเศรษฐกิจตะวันออก หรือ  EEC  ปัจจุบันมีนักศึกษา 348 คน โดยในปี 2566 คาดว่า จะมีเยาวชนสนใจเข้าสมัครเรียนราว 6,000 คน และ ในเดือนเมษายน 2567 จะมีบัณฑิตจบการศึกษารุ่นแรกจะเข้าทำงานเป็นกำลังสำคัญในภาคอุตสาหกรรม
.
.
ด้าน รศ. ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า สถาบันโคเซ็นแห่งสจล. (KOSEN – KMITL) มุ่งผลิตวิศวกรชั้นแนวหน้าของโลก เพื่อยกระดับการผลิตกำลังคนระดับอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน โดยให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแก้ปัญหาจากโจทย์ ผ่านกระบวนการคิด ทำงานเป็นกลุ่ม และนำไปสู่การหาคำตอบ หรือ สร้างองค์ความรู้ใหม่บนฐานความรู้เดิม พร้อมทั้งบูรณาการหลักสูตรกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เข้มข้น ทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติจากประเทศญี่ปุ่น โดยเนื้อหาของหลักสูตรจะยึดตามแนวทางของสถาบันโคเซ็นแห่งญี่ปุ่น หรือ NIT ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับโลกของญี่ปุ่น ในการสร้างบุคลากรด้านเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิศวกรรม เพื่อปฏิบัติงานได้จริง ควบคู่กับการเรียนรู้ในทักษะด้านสังคม เข้าใจในความเป็นมนุษย์ มีจิตสาธารณะ และความรับผิดชอบต่อสังคม
.
หลักสูตรของสถาบันโคเซ็นแห่งสจล. (KOSEN – KMITL) เปิดรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น เข้าเรียนหลักสูตรอนุปริญญา 5 ปี ซึ่งมี 3 หลักสูตร ได้แก่ 1. หลักสูตรอนุปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineering) 2. หลักสูตรสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) และ 3. หลักสูตรสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Electrical and Electronic Engineering) และ ในปี 2567 วางแผนเตรียมเปิดสอนในหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ (Advanced Innovative Engineering) โดยนักศึกษาจะได้รับทุนการศึกษาจากโครงการฯ และได้ไปทำงานวิจัย 2 ภาคการศึกษา ที่สถาบันโคเซ็นแห่งญี่ปุ่น ด้วย
.
.
ทั้งนี้ ผู้สนใจสมัครเรียนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันโคเซ็นแห่งสจล. (KMITL – KOSEN) โทร. 096-805-9827 , 02-329-8000 ต่อ 7214, 7215 และ เว็บไซต์ http://www.kosen.kmitl.ac.th/home หรือ ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.facebook.com/KOSENKMITL

RANDOM

มจธ. เปิดรับสมัครงาน ตำแหน่ง “นักบริหารจัดการเทคโนโลยีเชิงธุรกิจ – นักบริการการศึกษา” สำหรับ “นักบริหารจัดการเทคโนโลยีเชิงธุรกิจ” หมดเขตรับสมัคร 31 ต.ค. 66 ส่วน “นักบริการการศึกษา” หมดเขตรับสมัคร 30 ก.ย. 66

BEM ผู้ให้บริการทางพิเศษและรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง จัดประกวดวาดภาพสีน้ำ ‘BEM Art Contest’ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ในคอนเซปต์ “20 ปี Anniversary MRT สายสีน้ำเงิน“ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 100,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!