ประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2024” ปั้นนวัตกรรุ่นใหม่ขับเคลื่อนประเทศ รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 15 ก.ย. 66

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหน้าที่หลักในการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยการสร้างแรงจูงใจแก่นักวิจัย และนักประดิษฐ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ และสนับสนุนนักวิจัย นักประดิษฐ์ในการพัฒนางานวิจัย และสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ตลอดจนการให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือ ยกย่องบุคคล หรือ หน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม จึงได้จัดให้มีโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award 2024” (I – New Gen Award 2024) ขึ้น เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจและมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นนักวิจัยและนวัตกรในอนาคต ตามเป้าหมายในการสร้าง “เยาวชนผู้เปลี่ยนอนาคต : Youth as Future Changer” ได้มีเวทีในการแสดงความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งจะนําไปสู่ช่องทางในการขยายฐานบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่จะเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงประเทศในอนาคต และยังเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเข้าร่วมประกวดในเวทีระดับนานาชาติ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนที่มีความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้น วิจัยและนวัตกรรม ได้ใช้ศักยภาพในการสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ ให้เกิดการพัฒนาต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ

2. เพื่อพัฒนากลไกเชื่อมโยงเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้นให้เข้าสู่เส้นทางอาชีพด้านวิจัยและนวัตกรรมในภาคการผลิต บริการ สังคม และชุมชน

3. เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้มีเวทีนําเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อนําไปสู่การแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติ

ประเภทการประกวด แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย

1. ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย)

2. ระดับอาชีวศึกษา (ประกาศนียบัตรวิชาชีพ และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง)

3. ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี และ ปริญญาโท)

กลุ่มเรื่องการประกวด แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่

กลุ่มที่ 1 การเกษตร ประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีเทคโนโลยีระบบการผลิต การออกแบบ และพัฒนาเพื่อนํามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและการปศุสัตว์ เทคโนโลยีการเกษตร (Agri tech) พืช สัตว์ และการประมง อุตสาหกรรมเกษตร วิศวกรรมและเครื่องจักรกลการเกษตร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มที่ 2 อาหาร ประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมด้านอาหาร อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่ออํานวยความสะดวกในกระบวนการผลิตอาหาร เทคโนโลยีอาหาร (Food tech) อาหารเสริม อาหารแห่งอนาคต การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เครื่องดื่ม การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยการสร้างมาตรฐานความสะอาด และ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มที่ 3 สุขภาพและการแพทย์ ประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเทคโนโลยีสุขภาพ (Health tech) ที่นําไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษา การป้องกัน และบําบัด การสร้างเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ การอํานวยความสะดวก หรือ เพิ่มความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง การเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและจิตใจ เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้ทุพพลภาพ และประชาชน รวมทั้งสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยต้องคํานึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มที่ 4 พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ ประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยการพัฒนานวัตกรรมการผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน (Renewable Energy) เชื้อเพลิงชีวภาพ เทคโนโลยีพลังงานสะอาด พลาสติกชีวภาพและสารเคมีชีวภาพ การอนุรักษ์พลังงาน และเทคโนโลยีสะอาด (Clean Tech) ที่สามารถออกแบบเพื่อแก้ไข ฟื้นฟู บํารุงรักษาสิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มที่ 5 การท่องเที่ยว ประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์ ดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ และ นวัตกรรมเทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Travel tech) ที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวในรูปแบบความสนใจพิเศษอื่น เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ (Service Enhancing) โดยการใช้องค์ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ รูปแบบใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง รวมถึงการพัฒนาเพื่อส่งออกสินค้าและบริการผ่านของขวัญ ของฝากอย่างมีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติของผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เข้าร่วมประกวด

1. เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียน นิสิต/นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย โดยส่งผลงานเป็นทีม

2. เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สอดคล้องกับกลุ่มเรื่องที่ วช. กําหนด ในกลุ่มเรื่องใดกลุ่มเรื่องหนึ่ง และเป็นผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ พร้อมจะนําไปใช้ประโยชน์ โดยมีเป้าหมายในการนําไปใช้จริง (หากผลงานมีผู้ใช้ประโยชน์ที่ชัดเจน ขอให้แนบหลักฐานเพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการ)

3. เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่ และ/หรือ ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แสดงถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความชาญฉลาดในการประดิษฐ์ หรือ การปรับปรุง มีความปลอดภัย ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ มีความเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผลงาน หาได้ง่าย มีต้นทุนต่ํา มีการนําองค์ความรู้จากการวิจัย หรือหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้หรือสนับสนุนการประดิษฐ์

4. ต้องไม่เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ลอกเลียนแบบมาจากผู้อื่น และให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เสนอผลงานที่เข้าร่วมประกวด

5. ผลงานสิ่งประดิษฐ์หากเคยได้รับรางวัลจากการประกวดจาก วช. หรือ จากหน่วยงานอื่น ๆ มาก่อนแล้ว จะต้องได้รับการปรับปรุง และพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยระบุให้เห็นข้อแตกต่าง แต่การได้รับรางวัลหนึ่งรางวัลใดมาก่อน จะไม่มีผลต่อการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการ ทั้งนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาจากการพัฒนาต่อยอดผลงานให้ดีขึ้นเป็นสําคัญ

6. วช. ขอสงวนสิทธิ์ในการจัดกลุ่มผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เสนอผลงานไม่ตรงตามกลุ่มเรื่อง

ระยะเวลาในการดําเนินงาน

1. เปิดรับสมัครเสนอผลงานผ่านระบบ NRIIS ที่เว็บไซต์ https://nriis.go.th/www/ (ระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 – 15 กันยายน 2566)

2. การพิจารณารอบตัดสิน ระหว่างวันที่ 2 – 5 กุมภาพันธ์ 2567 ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจําปี 2567 (เป็นผลงานที่ผ่านเกณฑ์ในรอบคัดเลือกและนําผลงานเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงานฯ เพื่อนําเสนอผลงานต่อคณะกรรมการฯ ทั้งนี้ผลงานใดที่ไม่สามารถเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการได้ จะถือว่าสละสิทธิ์เข้าร่วมประกวด)

3. การประกาศผลและมอบรางวัล ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจําปี 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

วิธีการสมัครเข้าร่วมประกวด

เสนอผลงานผ่านระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) https://nriis.go.th โดยมีขั้นตอนการเสนอผลงาน และเอกสารประกอบการเสนอผลงาน ดังนี้

1. ลงทะเบียนในระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS)
– คณะนักเรียนผู้ประดิษฐ์อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมทุกท่าน จะต้องลงทะเบียนในระบบ NRIIS

2. การเสนอผลงาน
– อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก หรือ ผู้แทน เป็นผู้เสนอผลงานในระบบ NRIISสามารถเสนอได้มากกว่า 1 ผลงาน

3. รายละเอียดที่ต้องจัดเตรียม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเสนอผลงานเข้าร่วมประกวด

3.1) แบบสรุปรายละเอียดผลงาน จํานวน 1 หน้า ขนาด A4
ประกอบด้วย หัวข้อดังนี้
1. ชื่อผลงานสิ่งประดิษฐ์ (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ)
2. ระดับที่ส่งประกวด (มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา/อุดมศึกษา)
3. กลุ่มเรื่องที่ส่งประกวด (การเกษตร/อาหาร/สุขภาพและการแพทย์/พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ/การท่องเที่ยว)
4. สถาบันการศึกษา (ชื่อสถาบันการศึกษา/ที่อยู่/โทรศัพท์/โทรสาร/ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์)
5. ความสําคัญ/ความโดดเด่น/การนําผลงานไปใช้ประโยชน์ (โปรดระบุรายละเอียดให้ครบถ้วน โดยไม่เปิดเผยสาระสําคัญในการประดิษฐ์คิดค้น)
5.1 ความแปลกใหม่ (การพัฒนาผลงานหรือรูปแบบวิธีการทํางานใหม่ให้ดีกว่าเดิม ความโดดเด่นน่าสนใจ และความแตกต่างจากสิ่งประดิษฐ์ชิ้นอื่นในประเภทเดียวกัน)
5.2 ความเป็นที่ต้องการ (การช่วยแก้ไขปัญหาสําคัญ ความสอดคล้องกับความจําเป็นหรือความต้องการของชุมชนสังคม ท้องถิ่น หรือ สาธารณะ รวมถึงการผ่านการทดสอบการใช้งาน)
5.3 ความยากง่าย (ระดับของการพัฒนาผลงาน)
5.4 ความชาญฉลาดในการประดิษฐ์ (วัสดุที่ใช้ประดิษฐ์ผลงาน แหล่งที่มา การใช้วัตถุดิบ และการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม)
5.5 การใช้ประโยชน์(การนําไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในเชิงชุมชน/สังคม ภาคบริการ การผลิต อุตสาหกรรม หรือพาณิชย์ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของผลงาน ระบบการทํางานและการพัฒนาต่อยอดผลงานในอนาคต)

3.2) Infographicสรุปผลงานประดิษฐ์ จํานวน 1 หน้า ขนาด A4
– สรุปรายละเอียดข้อมูลให้มีความกระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ออกแบบ Infographic ให้มีความน่าสนใจ สวยงาม และความเหมาะสม โดย Infographic จะต้องประกอบด้วย
1. โลโก้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
2. โลโก้สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
3. โลโก้สถาบันการศึกษาที่สังกัด

4. ชื่อผลงานที่ตรงตามข้อมูลการเสนอผลงาน
5. รูปภาพผลงานที่ชัดเจน
6. เทคโนโลยีของผลงานที่ได้พัฒนาขึ้น
7. ประโยชน์ของผลงานประดิษฐ์
8. ชื่อหน่วยงาน + เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ + อีเมลที่ติดต่อได้
– ตั้งชื่อไฟล์เป็นชื่อผลงาน และ Save เป็นไฟล์ JPG หรือ PNG

3.3) รูปภาพผลงาน
– จํานวนอย่างน้อย 3 – 5 ภาพ ไฟล์ภาพ JPG หรือ PNG

3.4) หนังสือยืนยันความเป็นเจ้าของผลงาน

รางวัลการประกวด

แบ่งการให้รางวัลออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เหรียญรางวัล I – New Gen Award ผลงานละ 1 เหรียญ พร้อมเกียรติบัตร ผลงานละ 1 ใบ ตามเกณฑ์คะแนนของคณะกรรมการฯ แบ่งเป็น 3 ระดับรางวัล ดังนี้

• รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal)
• รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal)
• รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal)

ทั้งนี้ ผลงานในกลุ่มเหรียญทองที่มีคะแนนรวมสูงสุด 3 อันดับแรก จะได้รับถ้วยรางวัล

I-New Gen Award ตามรายละเอียดข้อที่ 2

2. ถ้วยรางวัล I – New Gen Award ในแต่ละระดับ และ แต่ละกลุ่มเรื่อง ตามเกณฑ์คะแนนของคณะกรรมการฯ ในแต่ละระดับและแต่ละกลุ่มเรื่อง โดยได้รับถ้วยรางวัล พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล ดังนี้

สอบถามข้อมูลติดต่อ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม กลุ่มงานรางวัลและกิจกรรมยกย่องเชิดชู โทร. 02-579-1370-9 ต่อ 508 หรือที่ เฟซบุ๊ก Thailand New Gen Inventors Award

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://shorturl.asia/U25fR

อ้างอิงจาก https://shorturl.asia/hZ8bJ

 

RANDOM

สัตวแพทย์ ม.เกษตรฯ ศาสตร์ เชิญชวนผู้สนใจร่วมประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ (LOGO) “วันสถาปนาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบ 70 ปี” ชิงเงินรางวัลรวม 35,000 บาท หมดเขตรับสมัคร 28 ก.พ. 67

โตโยต้า จับมือ พันธมิตร จัดประกวดโครงการชุมชนลดเปลี่ยนโลก และ โครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก ปีที่ 2 ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าพาประเทศมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!