มูลนิธิทีทีบี ภายใต้การสนับสนุนหลักจาก ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) จัดประกวดโครงงาน โครงการ “เท่อย่างไทย โดย ไฟ-ฟ้า ทีทีบี” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้เยาวชนเข้าใจถึงความหมายของการข่มเหงรังแก (bully) ผลกระทบ และ แนวทางการแก้ไข เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกข่มเหงรังแก ผ่านการประกวดโครงงาน ภายใต้ชื่อโครงการ “เท่อย่างไทย โดย ไฟ-ฟ้า ทีทีบีครั้งที่ 51” ประจำปี 2566 ในหัวข้อ “เท่ได้ต้องไม่บูลลี่” ชิงถ้วยพระราชทาน และประกาศนียบัตร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และทุนการศึกษา และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้โรงเรียนสามารถส่งโครงงานรอบคัดเลือกได้ด้วยการนำเสนอผ่านคลิปวิดีโอความยาวไม่เกิน 5 นาที ส่งให้คณะกรรมการพิจารณา และโครงงานที่ผ่านรอบคัดเลือกจะได้รับทุนไปดำเนินโครงงานจริง แล้วนำผลการทำโครงงานกลับมานำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการในรอบชิงชนะเลิศต่อไป
ระดับและประเภทการประกวด แบ่งระดับผู้เข้าประกวดเป็น ๒ ระดับ คือ
1. ระดับ ม.1 – ม.3
2. ระดับ ม.4- ม.6 และ ปวช.
การประกวดทั้ง 2 ระดับ เป็นการประกวดประเภททีม ๆ ละ 5-7 คน ไม่จำกัดจำนวนทีมที่ส่งประกวดในแต่ละโรงเรียน
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าประกวด
1. นักเรียนทั้งชายและหญิงกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศที่มีความสนใจในการสร้างสรรค์โครงงานนำเสนอโครงงานรอบคัดเลือกผ่านวิดีโอ ความยาวไม่เกิน 5 นาที
2. ศึกษาอยู่ในโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษาพิเศษที่จดทะเบียนกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยผู้บริหารสถาบันการศึกษารับรองว่ากำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน
ขอบเขตของผลงาน
1. ทีมที่เข้าประกวดต้องช่วยกันตีความโจทย์หัวข้อ“เท่ได้ ต้องไม่บูลลี่” แล้วร่วมกันคิดทำโครงงาน สร้างสรรค์ และ นำเสนอผลงานผ่านคลิปวิดีโอ ความยาวไม่เกิน 5 นาที ด้วยการส่งลิงค์ที่โพสต์บน YouTube จากบัญชี (account) ของสมาชิกในทีม
2. โครงงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นเอง โดยไม่เลียนแบบผู้ใด หรือ ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา หากมีการร้องเรียนเกิดขึ้น ผู้เข้าประกวดที่ส่งผลงานประกวดต้องเป็นผู้รับผิดชอบในทุกกรณี
3. โครงงานต้องประกอบด้วย
3.1 การตีโจทย์ วิเคราะห์ภาพรวมของปัญหาการบูลลี่ภายในโรงเรียน
3.2 หลักการ เหตุผล เป้าหมาย และ วัตถุประสงค์ของโครงงาน
3.3 ประโยชน์ที่จะได้รับ ขอบเขตแผนงาน ความคิดในองค์รวม และรูปแบบรายละเอียดการดำเนินโครงงาน
3.4 ขั้นตอนการดำเนินงานภายในโรงเรียน
3.5 บทสรุปและผลที่คาดว่าจะได้จากการทำโครงงาน
4. การส่งประกวดจะต้องแนบส่งงานอัปโหลด ประกอบด้วย
4.1 ลิงค์คลิปวิดีโอที่โพสต์บน YouTube บัญชี (account) ของสมาชิกในทีม
4.2 ไฟล์ที่นำเสนอในรูปแบบ Power Point บันทึก (save) ในรูปแบบ PDF หรือ ไฟล์เนื้อหาโครงงานในรูปแบบ Word บันทึก (save) ในรูปแบบ PDF
5. สำหรับทีมที่ผ่านรอบคัดเลือก เมื่อได้เข้าร่วมอบรมในวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 แล้ว จะได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิทีทีบี เพื่อนำแผนงานที่ร่วมกันคิดไปปรับให้เหมาะสม แล้วนำไปปฏิบัติจริงในโรงเรียนตามโครงงานที่นำเสนอมาเป็นระยะเวลากว่า 3 เดือน โดยในระยะเวลาดังกล่าว ทีมงานสามารถปรับแผนงาน รูปแบบ ได้ตามการประเมินผล ก่อนการส่งผลงานเข้าประกวดรอบชิงชนะเลิศ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมไดที่ 062-070-0088 และ 062-070-0099 เวลาทำการจันทร์- ศุกร์ เวลา 9.30 – 17.30 น.
ทุนดำเนินการสำหรับโครงงานที่ผ่านรอบคัดเลือก
สถาบันการศึกษาจะได้รับทุนดำเนินการจากมูลนิธิทีทีบี ทีมละ 20,000 บาท เพื่อใช้เป็นทุนในการทำโครงงานจริง แล้วนำผลงานกลับมานำเสนอคณะกรรมการในรอบชิงชนะเลิศ
รางวัลสำหรับสถาบันและผู้เข้าประกวด
รางวัลสำหรับสถาบันการศึกษา
– รางวัลชนะเลิศ ระดับละ 1 รางวัล
ถ้วยพระราชทาน และประกาศนียบัตร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับละ 1 รางวัล
โล่รางวัลจากโครงการฯ พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับละ 1 รางวัล
โล่รางวัลจากโครงการฯ พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท
รางวัลสำหรับทีมผู้เข้าประกวด
– รางวัลชนะเลิศ ระดับละ 1 รางวัล
ทุนการศึกษาคนละ 8,000 บาท หรือ ไม่เกินทีมละ 56,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากโครงการฯ
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับละ 1 รางวัล
ทุนการศึกษาคนละ 6,000 บาท หรือ ไม่เกินทีมละ 42,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากโครงการฯ
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับละ 1 รางวัล
ทุนการศึกษาคนละ 4,000 บาท หรือ ไม่เกินทีมละ 28,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากโครงการฯ
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ระดับละ 7 รางวัล
ทุนการศึกษาคนละ 2,000 บาท หรือ ไม่เกินทีมละ 14,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากโครงการฯ
กำหนดการรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ – 24 สิงหาคม 2566
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://shorturl.asia/6KHJT
อ้างอิงจาก https://shorturl.asia/Z9fR0