มข. จับมือ ปปช. สร้างเครือข่ายขับเคลื่อนพัฒนา “หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา” ป้องปรามการคอร์รัปชันในองค์กร

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter
เมื่อเร็ว ๆ นี้ รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ นำโดย นายประทีป จูฑะศร รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภาค 4 (ปปช.ภาค 4) ณ ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย คณะผู้บริหารจากทั้งสององค์กร ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามในครั้งนี้
.
.
รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) โดยเป็นความร่วมมือทางวิชาการ เรื่องการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ ที่เป็นมะเร็งร้ายกัดเซาะความเจริญก้าวหน้าของประเทศ การที่ ปปช.ได้มีแผนงานที่จะทำในหลายมิติและรูปแบบ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในส่วนภาคการศึกษาเรามีหน้าที่โดยตรงในการให้ความรู้ การอบรมระยะสั้น และด้านการศึกษา โดยเฉพาะกับนักศึกษาซึ่งเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะต้องออกไปทำงานในอนาคต ความร่วมมือนี้จะเป็นประโยชน์และเสริมสร้างอุดมการณ์ของ ปปช. อีกทั้งยังเป็นอุดมการณ์ของ มข.ด้วย ที่จะผลิตบัณฑิตให้ออกไปเป็นคนดีและไม่ทุจริต
.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้การสนับสนุนเต็มที่และยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับ ปปช.ในทุกมิติ การป้องกันและปราบปรามทุจริต ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักประการหนึ่งในประเด็นยุทธศาสตร์ ตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล วางระบบการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาลให้เกิดทั่วทั้งมหาวิทยาลัย โดยยึดหลักเกณฑ์ของ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) คือ หลักการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) ซึ่งได้ถ่ายทอดและนำไปใช้กับทุกหน่วยงาน โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้ดำเนินการต่าง ๆ ให้สอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการทุจริต เช่น การออกนโยบายการไม่ให้ หรือ ไม่รับของขวัญ (No Gift Policy) รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ อีกทั้งยังป็นการสร้างความร่วมมือในการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลการเรียนรู้ในหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น เองอีกด้วย
.
.
ด้าน นายประทีป จูฑะศร รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติภาค 4 กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นในครั้งนี้ ด้วยเล็งเห็นความสำคัญในการเป็นสถานศึกษาชั้นนำของประเทศ ที่จะร่วมกันขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและปราบปรมการทุจริต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการพัฒนาหลักสูตร การวิจัย และความร่วมมือทางวิชาการผ่านการฝึกอบรมระยะสั้น เพื่อขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลการเรียนรู้ในหลักสูตรฯ ตลอดจนการนำเรื่องการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ไปเป็นหลักสูตรอบรมคณาจารย์ ข้าราชการ ลูกจ้างของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน ITA ให้กับนักศึกษา และจะขยายผลไปยังภาคีสถาบันการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคอีสานอีกด้วย
.
.
ทั้งนี้ จากการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรและดำเนินการจัดฝึกอบรมระยะสั้นเกี่ยวกับการทำงานในองค์กรภายใต้ หลักคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในรูปแบบการฝึกอบรมระยะสั้นในสถานที่ และ รูปแบบออนไลน์ 2. เพื่อสร้างความร่วมมือในการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลการเรียนรู้ในหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา 3. เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

RANDOM

ศิลปกรรม จุฬาฯ ร่วมกับ โครงการ OFOS กระทรวงวัฒนธรรม จัดอบรมฟรี โครงการ “Next-Gen Arts : พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power” พร้อมรับประกาศนียบัตรหลังผ่านการอบรมตามเกณฑ์ หมดเขตสมัคร 31 ต.ค.นี้

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!