สอศ. ติวเข้ม 20 ทีมสุดท้าย เฟ้นหาผู้ประกอบการนวัตกรรมรุ่นใหม่ ในโครงการ ‘อาชีวะสร้างสรรค์ แปรฝันสู่ธุรกิจ’ ปี 66

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดโครงการอาชีวะสร้างสรรค์ แปรฝันสู่ธุรกิจ ประจำปี 2566 ระยะที่ 2 รอบ 20 ทีม โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม ประกอบด้วย ครูที่ปรึกษา และ นักเรียน รวม 80 คน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 2 กันยายน 2566 ณ โรงแรมทาวน์อินทาวน์ กรุงเทพฯ

นางทิพวรรณ์ วงศ์วิเชียร รองผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมายจาก ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้เป็นประธานเปิด โครงการอาชีวะสร้างสรรค์ แปรฝันสู่ธุรกิจ ประจำปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการเชิงลึก และก่อให้เกิดผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ซึ่งการจัดการอบรมเป็นผู้ประกอบการระยะที่ 1 แก่ทีมธุรกิจที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว จำนวน 85 ทีม เมื่อวันที่ 5 – 6 สิงหาคม 2566 และได้คัดเลือกทีมธุรกิจดีเด่นให้เหลือ จำนวน 20 ทีม เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 เพื่อเข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาในการเป็นผู้ประกอบการแบบเข้มข้น ระยะที่ 2 โดยการคัดเลือกดังกล่าว ดำเนินการคัดเลือกโดยคณะกรรมการจากผู้แทนสถาบันการเงิน ผู้ประกอบการผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่งการอบรมครั้งนี้ เพื่อให้ทีมธุรกิจที่ผ่านการคัดเลือกได้พัฒนาเเนวคิดด้านนวัตกรรมสู่ผู้ประกอบการนวัตกรรม และมีทักษะองค์ความรู้เชิงลึก ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ในการเป็นผู้ประกอบการ เช่น เทคนิคการถ่ายภาพและการตัดต่อวิดีโอเพื่อการนำเสนอสินค้า การทำการตลาดออนไลน์ การจัดแสดงสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และการจัดแสดงสินค้า ณ จุดขาย การนำเสนอธุรกิจให้โดนใจแหล่งทุน การจัดทำโมเดลธุรกิจด้วย Business Model Canvas การสร้างนวัตกรรมธุรกิจพิชิตกลุ่มเป้าหมายยุคดิจิทัล ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ 500 ล้าน ตลอดจนการทำเวิร์คช้อปไอเดียการพัฒนาสินค้าและการทำบัญชีอย่างง่าย เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่า เป็นการพัฒนาศักยภาพธุรกิจแก่ผู้เรียนอาชีวศึกษา โดยหลังจากการอบรม สอศ. จะให้เงินทุนสนับสนุนทั้ง 20 ทีม เพื่อให้ไปดำเนินธุรกิจ ระหว่างเดือนกันยายน – พฤศจิกายน 2566 ซึ่งจะมีคณะที่ปรึกษาธุรกิจที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการ ให้คำปรึกษาแก่ทีมธุรกิจดีเด่น ก่อนจะดำเนินการคัดเลือกและจัดแสดงผลงานของทีมธุรกิจดีเด่น 20 ทีม ในเดือนธันวาคม 2566 นี้

นางทิพวรรณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับรายชื่อทีมธุรกิจที่ผ่านการคัดเลือก 20 ทีม มีดังนี้ 1. โกลบาร์ (Gold Bar) วิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร 2. Anda Waffle (วาฟเฟิลกรอบภูเก็ตสไตล์) วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต 3. Local Cot วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี 4. พวงกุญแจและป้ายอะคริลิค วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร 5. ชาสมุนไพรพืชน้ำเค็ม วิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี 6. ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์จับยึดแคล้มกล้ามปู PVC วิทยาลัยเทคนิคปากช่อง 7. ซอสหมี่คลุกจากมะม่วงหาวมะนาวโห่เสริมไคโตซาน วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง 8. ปูดำ ขยำเงิน วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ 9. ปั้นขลิบไส้อั่ว “กิ๋นลำ” วิทยาลัยเทคนิคนครลำปาง 10. Pro’D ไอศครีมเพราะไบโอติกเสริมพลังงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ 11. ชงโคสปา วิทยาลัยเทคนิคพังงา 12. จักจั่นทะเลแซ่บซี้ด วิทยาลัยการอาชีพท้ายเหมือง 13. บีที ชีวภาพ กำจัดหนอน วิทยาลัยเทคนิคนางรอง 14. น้ำพริกส้มแขกปลานิลหนังกรอบ วิทยาลัยการอาชีพเบตง 15. R-บูดู บูดูผลกึ่งสำเร็จรูป วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอด 16. Gakla วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี 17. ผงลำไยกระชายดำ (ลองกาลิน) วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง 18. ผัดไทยแพลนต์เบสต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา 19. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางธรรมชาติ Supannika by RVC วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด 20. ข้าวเกรียบปากหม้อ วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!