‘แผ่นผนังปลูกต้นไม้แนวตั้งจากขยะ ในงานภูมิทัศน์’ Vertical planting wall panel from landscaping waste ผลงานของ อาจารย์ดนุพล มากผ่อง และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีระยุทธ นาคทิพย์ นักวิจัยและอาจารย์ สาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตอบโจทย์ BCG Model เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นำขยะกลับไปใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ โดยได้รับรางวัล Special Prize ด้านมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรณ์รวี เอี่ยมสมบูรณ์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในงานมหกรรมวิจัยและนวัตกรรม มทร.ธัญบุรี เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน (RMUTT Research and Innovation Fair for Sustainable Change2023) ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
.
.
อาจารย์ดนุพล มากผ่อง เล่าว่า งานวิจัยนี้เกิดขึ้นเพื่อต้องการลดปริมาณขยะในงานภูมิทัศน์ ที่เกิดขึ้นจากการการจัดสร้าง และดูแลรักษาภูมิทัศน์ จากขั้นตอนการปลูกต้นไม้ รวมไปถึงการดูแล และการตกแต่งภูมิทัศน์ เช่น กระถางพลาสติกถุงเพาะชำต้นไม้ แผ่นซาแลนหุ้มโคลนต้นไม้ ถุงดินปลูกที่ย่อยสลายไม้ได้ ซึ่งเป็นการนำขยะในงานภูมิทัศน์กลับมาใช้ใหม่ ให้เกิดประโยชน์ สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้
.
ทีมวิจัยได้ออกแบบแผ่นผนังปลูกต้นไม้แนวตั้ง เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับขยะในงานภูมิทัศน์ ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา รูปทรงทันสมัย และติดตั้งง่ายในพื้นที่ที่พักอาศัยทั้งภายในและภายนอก รวมถึงระบบในการดูรักษาต้นไม้ โดยใช้ถุงเพาะชำต้นไม้หนักไม่เกิน 70 กรัมต่อแผ่น หลังทำการทดสอบพบว่า ถุงเพาะชำต้นไม้ ขึ้นรูปได้ง่ายกว่าสูตรอื่น และรับน้ำหนักได้ดี
.
.
ด้าน ผศ.วีระยุทธ นาคทิพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการทดสอบแรงดึง ก่อนนำมาใช้มางาน ถุงเพาะชำต้นไม้สามารถรับแรงดึงและรับน้ำหนักได้ดี โค้งงอง่าย และติดตั้งได้ง่าย ซึ่งการเปรียบเทียบน้ำหนัก น้ำหนักเฉลี่ยแล้วไม่เกิน 70 กรัมต่อแผ่น ซึ่งแผ่นผนังปลูกต้นไม้แนวตั้ง ที่ขายท้องตลาดทั่วไป (Flora Felt) มีน้ำหนักเฉลี่ยโดยประมาณ 100-150 กรัมต่อแผ่น ทั้งนี้ แผ่นผนังปลูกต้นไม้แนวตั้ง มีค่าการดูดซับน้ำเฉลี่ย ร้อยละ 0.06 ช่วยลดปัญหาระบบรากเน่าเสีย ลดสาเหตุการเกิดเชื้อรา และตะไคร่น้ำ โดยมีราคาต้นทุนต่อแผ่นอยู่ที่ 50-60 บาทต่อแผ่น ซึ่งท้องตลาดทั่วไป (Flora Felt) อยู่ระหว่าง 100-180 บาทเฉลี่ยต่อแผ่น (1.50 ตารางเมตร)
.
ทาง คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้นำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ออกแบบชิ้นงาน เพื่อให้มีขนาดเบา รูปทรงทันสมัย พร้อมระบบการดูแลรักษา เพื่อหาขนาดที่เหมาะสม โดยออกแบบให้การสอดคล้องกับคุณสมบัติของขยะแต่ละประเภทที่ทำการแยก จากของขยะในงานภูมิทัศน์ โดยนำไปบูรณาการในการเรียนการสอน การนำไปใช้งาน การติดตั้งชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์ และการทดลองปลูกต้นไม้ ที่อาคาร 70 ปี เกษตรปทุมธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ศูนย์รังสิต ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์ดนุพล มากผ่อง / ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีระยุทธ นาคทิพย์ โทร. 02-592-1955
.