สถาปัตย์-วิศวะ จุฬาฯ จับมือ พานาโซนิค ร่วมวิจัยเทคโนโลยีที่อยู่อาศัยยั่งยืน ประหยัดพลังงาน แบบฉบับ “สภาวะน่าสบายภายในบ้าน” เพื่อคนไทยอย่างแท้จริง

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ร่วมกับ พานาโซนิค เดินหน้าสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัยที่ยั่งยืน ผุดโปรเจคความร่วมมือด้านการวิจัย (Research collaboration project) ค้นหา “สภาวะน่าสบาย” ของคนไทยที่แท้จริง ชี้ภาวะน่าสบายของที่อยู่อาศัยในอนาคต ต้องปราศจากความเครียด (Stress-free) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ (Carbon-free) และลดการใช้พลังงาน (Energy Efficiency) ปั้นโมดูลาร์จำลองเพื่อการศึกษาภาวะน่าสบายในทุกมิติ พร้อมเตรียมขยายผลวิจัยในโครงการที่อยู่อาศัยจริง โดยจับมือกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในอนาคต

มร.ฮิเดคาสึ อิโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ด้วยแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการสร้างสังคมที่อยู่อาศัยแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน และสอดรับกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป พานาโซนิค จึงได้มุ่งมั่นศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายในการสร้างภาวะแวดล้อมภายในบ้านที่อยู่สบายสำหรับผู้บริโภคที่แตกต่างกันไปทั่วโลก

ปัจจุบันมีหลายองค์กรได้ทำการศึกษาวิจัย พบว่า สภาวะน่าสบายเชิงอุณหภาพตามมาตรฐานสากล (ANSI/ASHRAE Standard 55) จะอยู่ที่ประมาณ 20 – 27 องศาเซลเซียส (หรือ 68 – 80 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งตัวเลขสภาวะน่าสบายสากลอยู่ที่ 26.5 องศาเซลเซียส แต่สภาวะน่าสบายนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลมที่มาปะทะตัวเรา และการแผ่ความร้อนจากสภาพแวดล้อม เป็นต้น

พานาโซนิค เล็งเห็นว่า สภาพแวดล้อมภายในบ้านที่อยู่สบาย นั้น ควรมีองค์ประกอบสำคัญ ทั้งภาวะน่าสบาย (Comfort Zone) ปราศจากความเครียด (Stress-free) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ (Carbon-free) และลดการใช้พลังงาน (Energy Efficiency) จึงมีแนวคิดในการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย (Research collaboration project) กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของไทย เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่อยู่อาศัยที่ยั่งยืน และประหยัดพลังงานในประเทศไทย (Sustainable and Energy – Efficient Housing Technologies in Thailand) ภายในระยะเวลา 3 ปี คาดหวังว่า ผลของการวิจัยจะทำให้สามารถค้นพบ “สภาวะน่าสบายภายในบ้าน” สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่อยู่อาศัยในอนาคตที่เหมาะกับบริบทของประเทศไทย

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่อยู่อาศัย ร่วมกับ การใช้เทคโนโลยี Digital twin ในการบริหารจัดการอาคาร เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดบ้านที่ยั่งยืน ด้วยใช้เทคโนโลยีในการประหยัดพลังงานในประเทศไทย (Sustainable and Energy – Efficient Housing Technologies in Thailand) เป็นอีกหนึ่งโครงการที่สอดรับกับแผนการผลักดันให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลายเป็น Sustainable City อันมีเป้าหมาย เพื่อการขับเคลื่อนสังคมให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ประหยัดพลังงาน นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

“ความร่วมมือในการจัดทำการวิจัย กับ พานาโซนิค ในประเทศไทยครั้งนี้ เราได้นำความเชี่ยวชาญของจุฬาฯ ทั้งจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มาผนวกกับความรู้ความชำนาญทางเทคโนโลยีของพานาโซนิค ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการวิจัยไปข้างหน้า และมีส่วนช่วยในการพัฒนาโซลูชั่นและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัยในประเทศไทยในอนาคตได้”

ความร่วมมือดังกล่าวถูกพัฒนาเป็นโมเดลที่อยู่อาศัยแบบจำลอง โดยการนำเทคโนโลยี BIM หรือ Building Information Modelling เข้ามาช่วยในการออกแบบและก่อสร้างบ้านโมดูลาร์ ในชื่อ ZEN Model ขนาดพื้นที่ 36 ตารางเมตร ภายในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจำลองบรรยากาศที่อยู่อาศัยในสภาวะน่าสบาย และทำการเก็บข้อมูลจากการให้กลุ่มตัวอย่างได้เข้ามาทดลองใช้ชีวิตในพื้นที่แห่งนี้ โดยขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้วกว่า 30%

มร.ฮิเดคาสึ อิโตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากการทำการศึกษาวิจัยผ่านบ้านแบบจำลอง ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว พานาโซนิคยังได้เตรียมการต่อยอดงานวิจัย ด้วยการร่วมมือกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์โครงการต่าง ๆ ซึ่งจะเริ่มมีการทดลองกับบ้านจริงหลังแรก ภายในบ้านตัวอย่างของโครงการเสนา แกรนด์โฮม บางนา กม. 29 โดยร่วมกับ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ฮันคิว ฮันชิน พร๊อพเพอร์ตี้ คอร์ป เพื่อนำผลที่ได้จากการทดลองมาพัฒนาต่อยอดผลลัพธ์ของสภาวะน่าสบายในบ้านที่สร้างขึ้นจริงในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่า ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์ที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันได้อย่างแท้จริง

RANDOM

“ประชุม บุญเทียม” ประธานฝ่ายเทคนิค ยืนยันสนามแข่งขัน ศึกกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชียลอาร์ตเกมส์ ครั้งที่ 6 ลงตัว ยืนยันเสร็จทันตามเดดไลน์ของ “โอซีเอ” แน่นอน และจะใช้เป็นสังเวียนชิงชัย ยาวต่อไปจนถึงศึกซีเกมส์ 2025 ที่ไทย เป็นเจ้าภาพในปีหน้า

กองบิน 5 จัดประกวด INFOGRAPHIC เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหัวข้อ “สืบสาน รักษา และต่อยอดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ชิงเงินรางวัล และโล่เกียรติยศผู้บัญชาการทหารอากาศ เปิดรับสมัครแล้ว ถึง 29 พ.ย. นี้

ม.หอการค้าไทย ชวนน้อง ๆ มัธยมปลายร่วมโครงการ “แคมป์เด็กหัวการค้า ปีที่ 11 จุดประกายความฝัน…ปั้นผู้นำธุรกิจ” บ่มเพาะนักธุรกิจรุ่นเยาว์ ต่อยอดพัฒนาเศรษฐกิจประเทศในอนาคต เปิดรับสมัครแล้ว ถึง 3 ตุลาคม

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!