จุฬาฯ ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน Night at the Museum @ Chula ประจำปี 2566 ใน theme “ช้าง ช้าง เวลากลางคืน Proboscidea the nocturnal life and their friends” ระหว่างวันที่ 15 – 17 ธันวาคม 2566 เวลา 16.00 – 22.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา และ พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์ และบริเวณคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ในจุฬาฯ ร่วมจัดงาน ได้แก่ ภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า พิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนของจุฬาฯ Night at the Museum @ Chula เป็นความร่วมมือระหว่าง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) โดยเริ่มจัดกิจกรรมดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2559 จากความสำเร็จของกิจกรรมท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน Night at the Museum 2022 ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมงานมากกว่า 30,000 คน ในปีนี้ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จะจัดงานท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน Night at the Museum @ Chula ใน theme “ช้าง ช้าง เวลากลางคืน Proboscidea the nocturnal life and their friends” ซึ่งเป็น theme ที่ มิวเซียมสยาม กำหนดขึ้น เนื่องจาก “ช้าง” เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย จึงตั้งใจให้ “ช้างเป็น soft power ของไทย
รศ.ดร.วิเชฎฐ์ เผยถึงจุดเด่นของงาน Night at the Museum @ Chula ในปีนี้ว่า พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ มีความหลากหลายขององค์ความรู้ รวมทั้งมีตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตทุกกลุ่ม รวมถึง “ช้าง” ซึ่งเป็นความพิเศษของการแสดงนิทรรศการในปีนี้ การเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน ซึ่งมีการใช้แสงและสีเข้ามาช่วย เป็นการเปลี่ยนมุมมองการชมพิพิธภัณฑ์ ทำให้ภาพที่เห็นแตกต่างออกไปจากปกติ ผู้ชมจะได้สัมผัสความงดงามของสิ่งที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในมิติที่แตกต่างจากเวลากลางวัน
ความพิเศษของ Night at the Museum @ Chula ในปีนี้
พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาฯ
– พบกับเรื่องราวของช้างและสัตว์หายากที่ควรอนุรักษ์ เช่น พะยูนดงตาล โลกของสัตว์เผือก
– ความลับของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน
– พิพิธภัณฑ์เต่า เต่าอะไรเอ่ย ? ที่มีตีนเหมือนช้าง
– พิพิธภัณฑ์แมลง พบกับ แมลง-แมงที่มีชื่อเกี่ยวกับ “ช้าง”
– พิพิธภัณฑ์หอยทาก หอยอะไรเอ่ย ? ที่เกี่ยวข้องกับช้าง
นิทรรศการพิเศษ
– “น้องพะยูนดงตาล กับ ลุงเต่าทะเล” ความสัมพันธ์ต่างสายพันธุ์ การท่องเที่ยวกับการอนุรักษ์ไปด้วยกันได้หรือไม่ ?
– โลกของสัตว์เผือก Albino land สัตว์เผือก-เผือกเป็นอย่างไร มาหาความรู้ได้ที่งานนี้
– ความลับของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน-The secret of Amphibian and Reptile
– The Menagerie of BBTech Beasts เยี่ยมชมสัตว์โลกแปลก ๆ ที่จะทำให้คุณตื่นเต้นได้ตลอดเวลา
พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา
– ส่องฟอสซิลช้างไทย เรียนรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของช้างในอดีต ที่ไม่เหมือนปัจจุบัน
– สัมผัสหินหนังช้าง พบกับ ความลับที่ซ่อนอยู่
– สำรวจหินรูปช้าง ผ่านทัวร์เสมือนกับนักธรณีวิทยา
พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์
– พบกับ มหัศจรรย์พันธุ์พืชใน Tropical Forest จากใต้น้ำสู่ทะเลทราย พืชอวกาศ คือต้นอะไร ที่ Living plant museum (เรือนเพาะชำ)
– สวนอาหารช้าง กินอะไรตัวจึงใหญ่
– กิจกรรม Rally คล้องช้าง
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ
– จัดแสดงภาพถ่ายช้างป่า
– ภาพถ่ายฟิล์มกระจกสามมิติ “พิธีคล้องช้างสมัยโบราณ” ซึ่งเป็นภาพที่หาดูยาก
– ฟังการเสวนาเรื่องการถ่ายภาพธรรมชาติ และภาพสัตว์ป่า
ภาควิชาจุลชีววิทยา
– พบกับ “จุลินทรีย์มหัศจรรย์” (Fantastic microbe)
– ตัวอย่างจริงของเห็ดแปลกตา ราแมลง สาหร่ายมุกหยก สาหร่ายทนร้อน (polyextremophile) จากน้ำพุร้อน , บรั่นดี ที่ได้จากงานทดลองในภาควิชาฯ
– จุลินทรีย์หลากหลายชนิดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดูจากกล้องจุลทรรศน์
งานเสวนา และตอบคำถามชิงรางวัล
วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566
– พูดคุยเรื่อง “วัณโรคในช้าง” โดย ศ.ดร. ธนาภัทร ปาลกะ
– สาธิตการทำโยเกิร์ตโฮมเมด พร้อมชวนมาดูจุลินทรีย์ที่ใช้ทำโยเกิร์ต ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดย นิสิตภาควิชาจุลชีววิทยา
วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566
– พูดคุยเรื่อง “ไมโครไบโอม (ในช้าง)” โดย อ.ดร.ณัฐภณ ป้อมบุบผา
– สาธิตการทำโยเกิร์ตโฮมเมด พร้อมชวนมาดูจุลินทรีย์ฯ โดยนิสิตภาควิชาจุลชีววิทยา
วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2566
– พูดคุยเรื่อง “จุลินทรีย์ย่อยสลายพลาสติก และการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้จากจุลินทรีย์”
โดย รศ.ดร.วันชัย อัศวลาภสกุล และ รศ.ดร.สุชาดา จันทร์ประทีป นภาธร
– สาธิตการทำโยเกิร์ตโฮมเมด พร้อมชวนมาดูจุลินทรีย์ฯ โดยนิสิตภาควิชาจุลชีววิทยา
ภาควิชาฟิสิกส์
– ร่วมสัมผัสประสบการณ์ดูดาวด้วยกล้องโทรทรรศน์ ได้เห็นทั้งดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ และอื่น ๆ
– เยี่ยมชมบูธดาราศาสตร์ของเรา เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของดาราศาสตร์
– ถ่ายภาพดาวผ่านกล้องโทรทรรศน์ ด้วยโทรศัพท์มือถือ
– การบรรยายเรื่อง “การถ่ายและประมวลผลภาพวัตถุอวกาศห้วงลึก (DSO)”
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
– ความลับของหมึกดัมโบ้-หมึกน้ำลึกที่หน้าตาเหมือนช้างดัมโบ้ พร้อมชมนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับหมึกดัมโบ้ หมึกทะเลน้ำลึก และการศึกษาทางทะเล
– ร่วมพูดคุยในการเสวนา MarineTalk ในหัวข้อการผจญภัยในมหาสมุทร
– ทดลองผ่าศึกษาอวัยวะภายในของฉลาม
– ซุ้มถ่ายรูป Check-in เป็นที่ระลึก
สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
– ความรู้เกี่ยวกับหอยงวงช้าง สัตว์โบราณที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
– จัดแสดงสัตว์น้ำเครือญาติใกล้ชิดกับหอยงวงช้างแบบตัวเป็น ๆ
– สัมผัสสัตว์น้ำในระบบนิเวศทะเลรอบ ๆ ตัว ผ่าน “Touch tank” อ่างน้ำของระบบนิเวศจำลองที่เต็มไปด้วยสัตว์น้ำที่น่าสนใจ
– เต็มอิ่มกับความรู้ทางด้านทรัพยากรทางน้ำที่นำมาใช้ประโยชน์
พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย
– นิทรรศการ “หินและแร่ ขุมทรัพย์ธรรมชาติ” ณ พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย
– นิทรรศการ “ต้ม ต้อง เมี้ยน” ณ นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ
– กิจกรรมการแสดงดนตรี โดยวง CU Chamber ณ ลานพิพิธศิลป์ อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย
– การแสดง Line Dance โดยนิสิตเก่าจุฬาฯ
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.museum.sc.chula.ac.th/ และ https://www.facebook.com/NHMCU
หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 02-218-3634-5 , 02-218-3624