มทร.ล้านนา โชว์กึ๋น ผุดนวัตกรรม ‘เซ็นเซอร์เตือนภัยไฟป่าแบบเรียลไทม์’ แจ้งพิกัดป้องกันไฟลุกลาม ลดการสูญเสีย แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มทร.ล้านนา โชว์กึ๋น ผุดนวัตกรรม “เซ็นเซอร์” ระบบเตือนภัยไฟป่าแบบเรียลไทม์ แจ้งพิกัดไฟป่า ป้องกันไฟลุกลามทำลายผืนป่า ลดการสูญเสียเจ้าหน้าที่ ทั้งแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เร่งพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้งานง่ายขึ้น และราคาถูก หวังติดตั้งช่วยดับไฟป่าทั่วประเทศ

ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ทางภาคเหนือตอนบน มักมีปัญหาเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และ ไฟป่า มหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน โดยมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ ในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการแก้ปัญหาไฟป่า ซึ่ง ศูนย์วิจัยระบบพลังงานสะอาด มทร.ล้านนา ได้ดำเนินโครงการวิจัย “ลมหายใจเชิงดอย : การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการทำงานให้บริการสาธารณะ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะ ประชาชนของเครือข่ายเทศบาลลุ่มน้ำแม่กวงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์ม การเตือนภัยจุดที่มีความร้อน” อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบเซ็นเซอร์เตือนภัยจุดที่มีความร้อน ทำให้สามารถรู้พิกัดจุดเกิดไฟป่า รวมถึงลดปริมาณการเข้าไปในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ร่วมด้วย เพราะที่ผ่านมา เมื่อไม่มีระบบเซ็นเซอร์ เวลาเกิดไฟป่า จะมีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตจากการเข้าไปดับไฟจำนวนมาก เพราะไม่รู้ทิศทางของลม และไม่สามารถหนีออกมาได้ทัน

ระบบเซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นการแจ้งเตือน และรู้พิกัดไฟป่า ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดับไฟได้ทันท่วงที ควบคุมการลามของไฟป่าได้ และยังเป็นการลดปัญหาหมอกควัน และฝุ่นละออง PM 2.5 อันเกิดจากไฟป่า โดยหลังจากนี้จะพัฒนาระบบเซ็นเซอร์ที่มีราคาไม่เกิน 100 บาท โดยใช้แบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งาน 2-3 ปี เมื่อแบตเตอรี่หมดก็สามารถนำกลับมาเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ ปัจจุบันยังไม่มีระบบเซนเซอร์แจ้งเตือนไฟป่าแบบเรียลไทม์ อย่างไรก็ตาม ระบบดังกล่าวยังคงต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ดีขึ้น ประหยัดมากขึ้น และติดตั้งได้ตามพื้นที่ต่าง ๆ ในป่า เพราะการที่รู้ตำแหน่งเกิดไฟป่าอย่างชัดเจน จะช่วยให้ป่าไม้ถูกทำลายลดลง ช่วยแก้ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมได้ อีกทั้ง จะมีการพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึง และร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน

ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ มทร.ล้านนา ยังได้ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่และชุมชน ดำเนินการเกี่ยวกับไฟป่าผ่านโครงการต่าง ๆ มากมาย อาทิ โครงการ Smoke Watch ซึ่งเป็นการออกแบบระบบแอปพลิเคชัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1. จุดความร้อน VIIRS Hotspot 2. แจ้งการเกิดไฟ 3. สถิติรายงานการแจ้งไฟ และ 4. แผนที่แสดงการแจ้งไฟ และมีการแจ้งเตือน แสดงผลเฉพาะจุดความร้อน VIIRS ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงรายก่อน

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!