จุฬาฯ เปิดหลักสูตรควบข้ามศาสตร์ 2 ปริญญา หลักสูตรแรกของไทย ระยะเวลาเรียน 6 ปี เรียนจบรับปริญญาตรี ทันตแพทยศาสตร์ และปริญญาโท วิศวกรรมชีวเวช   

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานแถลงข่าวความร่วมมือ เปิดตัว หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช เรียน 6 ปี ได้รับ 2 ปริญญา ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย ที่นิสิตจะได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ร่วมกับ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช 
.
.
ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการบดีด้านบริหารทั่วไปและศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ทำให้จำเป็นต้องปรับบทบาทของมหาวิทยาลัย ทั้งในเรื่องของหลักสูตรการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม  ซึ่งในเรื่องหลักสูตร สิ่งที่สำคัญเป็นเรื่องของโครงสร้างหลักสูตรที่จะต้องให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงการบริหารหลักสูตรให้มีความคล่องตัว ถ้าทำสองสิ่งนี้ให้สำเร็จ ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนรายวิชา หรือ การเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนทักษะความรู้ที่สนใจ ซึ่งอาจเป็นความรู้ข้ามศาสตร์ ทำให้ผู้เรียนสามารถทำงานและเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต เพื่อก้าวเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
.
.
ด้าน ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “หลักสูตรควบข้ามระดับข้ามศาสตร์” เป็นตัวอย่างแพลตฟอร์มการศึกษารูปแบบใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ เริ่มดำเนินการครั้งแรก ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ ในโครงการผลิตบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญา คือ ปริญญาตรี ทันตแพทย์ – ปริญญาโท วิศวกรรมชีวเวช เพื่อขับเคลื่อนแพลตฟอร์มการศึกษาควบข้ามระดับข้ามศาสตร์ให้ขยายผลไปยังคณะและนิสิตกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความสนใจมากยิ่งขึ้น ตลอดจนนำความเข้มแข็งจากภายในของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Growth from within) ต่อยอดไปเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์ต่อสังคม
.
นิสิตสามารถสมัครเรียนหลักสูตรปริญญาโท สหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช ได้ เมื่อเรียนรายวิชาในหลักสูตรปริญญาตรีทันตแพทย์ ครบ 120 หน่วยกิต หรือ เมื่อเรียนจบชั้นปีที่ 3 ซึ่งทำให้มีเวลาเรียนรู้และวางแผนชีวิต ก่อนสมัครเรียนปริญญาโท โดยจะรับนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตรปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป ปีละไม่เกิน10 คน โดยจะมีทุนสนับสนุนการศึกษาระดับปริญญาโทให้นิสิตด้วย
.
.
ทางด้าน ศ.ดร.ทพ.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต่อว่า หลักสูตรนี้จะเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย ที่นิสิตจะได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ร่วมกับ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช ภายในระยะเวลาการศึกษา 6 ปี โดยในงานวิจัยของนิสิตจะมุ่งเน้นในการพัฒนาองค์ความรู้และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางวิศวกรรม เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), การพิมพ์ 3 มิติด้วยวัสดุชีวภาพ (3D Bioprinting) มาประยุกต์ใช้ร่วมกับองค์ความรู้ทางทันตแพทยศาสตร์ บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนี้ จะสามารถเป็นทันตแพทย์ นักวิชาการ นักวิจัยชั้นน้ำ ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งสาขาทันตแพทยศาสตร์และวิศวกรรมชีวเวช ที่สามารถสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากได้ 
.
.
หลักสูตรปริญญาตรีทันตแพทยศาสตร์ (ท.บ.) ควบข้ามระดับข้ามศาสตร์กับ หลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering) ถูกออกแบบการจัดการเรียนการสอนรองรับให้นิสิตสามารถเลือกเรียนรายวิชาเสริมองค์ความรู้และสมรรถนะทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ตามช่วงชั้นปีที่เหมาะสมในระหว่างศึกษาในหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ โดยมีคณาจารย์จากทั้งสองคณะที่พร้อมให้คำแนะนำหัวข้อวิจัย และการทำวิทยานิพนธ์ เพื่อให้นิสิตสามารถสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์และระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้ คณะทันตแพทยศาสตร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังพร้อมสนับสนุนทุนการศึกษา การทำวิจัยให้กับนิสิตที่มีศักยภาพ เพื่อผลิตบัณฑิตได้ตามเป้าประสงค์ โดยในเบื้องต้นมีนิสิตที่สนใจจะเรียนต่อในหลักสูตรนี้แล้ว 5 คน ซึ่งเป็นนิสิตที่กำลังเรียนปริญญาตรี สาขาทันตแพทยศาสตร์ ของจุฬาฯ ในอนาคตได้วางเป้าหมายเอาไว้ว่า จะมีนิสิตเข้ามาเรียนหลักสูตรนี้ปีการศึกษาละ 10 คน

RANDOM

พิพิธภัณฑ์ครุฑ เชิญสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ “พิพิธภัณฑ์ครุฑ ร่วมส่งเสริม สืบสาน ความซื่อสัตย์ กตัญญู ความดี สู่สถานศึกษา และเยาวชน ประจำปีการศึกษา 2567” เพื่อรับการคัดเลือกรับโล่เชิดชูเกียรติ “โรงเรียนต้นแบบสร้างคนกตัญญู และเยาวชนต้นแบบคนกตัญญู ประจำปีการศึกษา 2567”

ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ จับมือ ธ.ออมสิน เปิดอบรมฟรี ด้านอาหาร เกษตร และสุขภาพ หนุนผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ปูทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

สจล. พานวัตกรอวดไอเดียโชว์ของ ‘แบตเตอรี่กราฟีน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม , อีเซีย (EASEA) ลูกประคบไฮเทค – อีวีทัล (eVTOL) ระบบเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับและดิจิทัล’ ดันนวัตกรรมไทยสร้างชื่อในเวทีโลก งาน CES 2024 ที่สหรัฐอเมริกา

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!