สมาคมส่งเสริมพัฒนากำลังคนสเตมเพื่ออนาคต (International Association for the Future STEM Workforce : IAFSW) ร่วมกับ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ผู้ดำเนินโครงการโลกศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Global Learning and Observations to Benefit the Environment : GLOBE) โดยการสนับสนุนจาก องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การ NASA (National Aeronautics and Space Administration) ของ สหรัฐอเมริกา และมูลนิธิทีเด็ดเพื่อการศึกษา จัดโครงการประกวดภาพถ่ายแมลง “ความหลากหลายของแมลงประเทศไทยในป่าและสิ่งแวดล้อม” Exploring Thailand’s Insect Diversity : Photo Challenge ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567
โดยได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินโครงการ “เติมพลังรักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย Foster Future Forests” เพื่อพื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ จังหวัดระยอง มุ่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวดูดซับ CO2 และส่งเสริมการอนุรักษ์ผ่านชุมชนสู่ความยั่งยืน เพื่อขยายผลสู่พื้นที่อื่น ๆ ต่อไปในอนาคต
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้านสเตมผ่านการถ่ายภาพแมลง ดังต่อไปนี้
1. ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องแมลง
เกี่ยวกับความหลากหลาย ชนิดของแมลง พฤติกรรม การอยู่อาศัยในระบบนิเวศ ประโยชน์และโทษของแมลง ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์ ผ่านการถ่ายทอดความรู้โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรมการถ่ายภาพแมลง
2. ส่งเสริมการเรียนรู้ ฝึกกระบวนการสังเกต ค้นคว้าหาข้อมูลและบันทึกภาพ
ทำความรู้จักเข้าใจ เรียนรู้พฤติกรรมและความสำคัญของแมลง สร้างกระบวนการเรียนรู้ ทางวิทยาศาสตร์ผ่านภาพถ่าย และเผยแพร่ภาพถ่ายที่สวยงามสู่สังคมเพื่อให้รับรู้ตระหนักและ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ใช้ประโยชน์ ควบคุมจัดการ เพื่อความยั่งยืนของระบบนิเวศและ ความหลากหลายทางชีวภาพ
3. การทำคลังความรู้สำหรับการเผยแพร่
เพื่อนำภาพถ่ายที่ได้รับคัดเลือกไปเผยแพร่ให้กับประชาชนทุกภาคส่วนรับรู้และตระหนักใน คุณค่าของแมลง
4. เพื่อสร้างแพลตฟอร์มรองรับกิจกรรมการประกวด
เพื่อสร้างแพลตฟอร์มรองรับกิจกรรมการประกวดแข่งขันถ่ายภาพด้านความหลากหลายทางชีวภาพในหัวข้อแมลงหรือหัวข้ออื่นในระดับนานาชาติในอนาคต
ประเภทการแข่งขัน
1. มัธยมศึกษาตอนต้น
คุณสมบัติ : ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2. มัธยมศึกษาตอนปลาย และอาชีวศึกษา
คุณสมบัติ : ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย , ปวช. หรือ บุคคลที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี
3. บุคคลทั่วไป
คุณสมบัติ : บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
เงื่อนไขและกติกา
1. ต้องเป็น ภาพถ่าย/วิดีโอคลิป ที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปีก่อนวันสิ้นสุดกำหนดการส่งภาพเข้าประกวด
2. ต้องเป็น ภาพถ่าย/วิดีโอคลิป ที่เจ้าของผลงาน ไม่เคยส่ง ภาพถ่าย/วิดีโอคลิป นั้นเข้าประกวดที่ใดๆ มาก่อน และ/หรือ ไม่เคยตีพิมพ์ และ/หรือ เผยแพร่ หรือโฆษณาในนิตยสาร หนังสือ สื่ออินเทอร์เน็ต หรือโพสต์ลงเว็บไซต์ (ไม่ว่าจะกระทำผ่านรูปแบบใดๆ อาทิ PC, Notebook, Smart Phone และ/หรือ Smart Device ใดๆ ก็ตาม) ยกเว้นการโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าหรือเชิงพาณิชย์ ไม่เป็นภาพที่จำหน่ายอยู่บนเว็บไซต์ Microstock ต่าง ๆ
3. ภาพถ่าย/วิดีโอคลิป ที่เข้ารอบ (รวมถึง ภาพถ่าย/วิดีโอคลิป ที่ได้รับรางวัล) ให้ถือเป็นลิขสิทธิ์ร่วมระหว่างเจ้าของผลงาน และผู้จัดประกวด ตลอดอายุแห่งความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย โดยผู้จัดประกวดมีสิทธิ์นำ ภาพถ่าย/วิดีโอคลิป ที่ผ่านเข้ารอบ (รวมถึง ภาพถ่าย/วิดีโอคลิปที่ได้รับรางวัล) ไปจัดแสดงในสถานที่ต่างๆ จัดพิมพ์เผยแพร่ลงในบรรจุภัณฑ์และสื่อต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ ในกรณีที่เจ้าของผลงานประสงค์จะแสวงหาประโยชน์จากผลงานใดๆ ในส่วนของตนให้สามารถกระทำได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องขออนุญาต และ/หรือ จ่ายค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่ผู้จัดประกวด ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้จัดประกวดมีการนำ ภาพถ่าย/วิดีโอคลิป ที่เข้ารอบ (รวมถึงภาพที่ได้รับรางวัล) ใดๆ ไปจัดแสดงในสถานที่ต่างๆ ผู้จัดประกวดจะแจ้งชื่อและนามสกุลของเจ้าของผลงานแสดงไว้ใต้ภาพทุกผลงานที่นำมาจัดแสดงที่เข้ารอบทุกผลงาน
4. ภาพถ่าย/วิดีโอคลิป แมลงจะต้องเป็นแมลงที่พบและอาศัยในประเทศไทย จะต้องเป็นภาพที่ถ่ายในประเทศไทยเท่านั้น
5. ภาพถ่าย ที่จัดองค์ประกอบและส่วนประกอบของภาพที่ปรากฏในขณะที่กดชัตเตอร์จริง ห้ามเพิ่มเติม หรือลบองค์ประกอบ และ/หรือ ส่วนประกอบของภาพ (Retouch) ภายหลังจากการกดชัตเตอร์แล้วเป็นอันขาด การตัดส่วนของภาพหลังจากการกดชัตเตอร์ (Crop) ให้สามารถกระทำได้
6. วิดีโอคลิป ที่ถ่ายและบันทึก (Record) อย่างชัดเจน ห้ามมีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมภาพหรือส่วนของวิดีโอด้วยการตัดต่อ (Video Editing) หลังจากการบันทึกแล้ว เฉพาะการตัดส่วนของวิดีโอหลังจากบันทึก (Crop) ให้สามารถกระทำได้
7. ภาพถ่าย/วิดีโอคลิป ที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่ตกแต่ง เปลี่ยนแปลง ปรับสภาพแวดล้อมธรรมชาติหรืออื่นใดเพื่อการ ภาพถ่าย/วิดีโอคลิป หากมีการกระทำดังกล่าว และสามารถพิสูจน์ได้ คณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณางดหรือยกเลิกรางวัลที่มอบให้ และ/หรือ เรียกคืนรางวัลทั้งหมดได้ทันที และตัดสิทธิ์ในการเข้าประกวดครั้งต่อไป ทั้งนี้ให้ถือดุลยพินิจของคณะกรรมการเป็นที่สุด
8. หากพบว่าภาพที่ส่งมาประกวดมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามกติกาการประกวดในข้อใดข้อหนึ่ง หรือมีการทำผิดกติกาเกิดขึ้น ผู้ส่งภาพเข้าประกวดจะถูกตัดสิทธิ์ แม้ว่าจะได้รับการพิจารณาได้รับค่าตอบแทน และ/หรือ รางวัลใดรางวัลหนึ่งไปแล้ว หากมีการท้วงติงและสามารถพิสูจน์ได้ว่าทำผิดกติกาจริง ผู้จัดประกวดสามารถยกเลิก และเปลี่ยนแปลงการตัดสิน รวมทั้งขอคืนค่าตอบแทน และ/หรือ รางวัลได้ทั้งหมด
9. ส่ง ภาพถ่าย/วิดีโอคลิป เข้าร่วมประกวดได้สูงสุดอย่างละไม่เกิน 10 ผลงาน
รูปแบบผลงานที่ส่งเข้าประกวด
ภาพถ่าย
1. รูปแบบของไฟล์ภาพถ่าย ต้องเป็นภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิทัล กล้องโทรศัพท์มือถือ ไฟล์ภาพที่ส่งต้องเป็นไฟล์ภาพความละเอียดสูง ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านพิกเซล และต้องไม่มีลายน้ำ เครดิตภาพ ตัวอักษร หรือกราฟฟิกใด ๆ ลงบนภาพ รวมทั้งห้ามเว้นขอบภาพเป็นสีขาวหรือสีใด ๆ
2. รูปแบบของไฟล์ในแบบมาตรฐาน .JPEG เท่านั้น ไม่รับภาพที่เป็น RAW FILE และไฟล์ที่เป็นสกุลอื่น ขนาดไม่เกิน 5 MB/ผลงาน ภาพได้รับรางวัลผู้ส่งเข้าประกวดต้องส่งไฟล์ภาพต้นฉบับมายืนยันทุกภาพ
3. การใช้โปรแกรมในการโปรเซสภาพให้สามารถดำเนินการได้เฉพาะการปรับสี-แสง และ Crop เท่านั้น ทั้งนี้ให้เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสิน (ผู้ส่งภาพต้องเก็บไฟล์ต้นฉบับไว้เพื่อตรวจสอบ (กรณีคณะกรรมการของผู้จัดประกวดมีความประสงค์ขอดูไฟล์ต้นฉบับ) จนกว่าการจัดการประกวดจะแล้วเสร็จลง)
4. ต้องเป็นภาพที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปีก่อนวันสิ้นสุดกำหนดการส่งภาพเข้าประกวด
วิดีโอคลิป
1. รูปแบบของไฟล์วิดีโอคลิป ต้องบันทึกด้วยกล้องดิจิทัล กล้องโทรศัพท์มือถือ ไฟล์วิดีโอต้องไม่มีลายน้ำ เครดิตภาพ ตัวอักษร หรือกราฟฟิกใด ๆ ลงบนภาพ รวมทั้งห้ามเว้นขอบภาพเป็นสีขาวหรือสีใด ๆ
2. รูปแบบของไฟล์ในแบบมาตรฐาน ขนาดไม่เกิน 10 MB/ผลงาน วิดีโอคลิปได้รับรางวัลผู้ส่งเข้าประกวดต้องส่งไฟล์ต้นฉบับมายืนยันทุกคลิป
3. การใช้โปรแกรม Video Editing ให้สามารถดำเนินการได้เฉพาะการปรับสี-แสง และ Crop เท่านั้น ทั้งนี้ให้เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสิน (ผู้ส่งวิดีโอคลิปต้องเก็บไฟล์ต้นฉบับไว้เพื่อตรวจสอบ (กรณีคณะกรรมการของผู้จัดประกวดมีความประสงค์ขอดูไฟลต้นฉบับ) จนกว่าการจัดการประกวดจะแล้วเสร็จลง)
4. ต้องเป็นวิดีโอถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปีก่อนวันสิ้นสุดกำหนดการส่งภาพเข้าประกวด
วิธีการส่งผลงานเข้าประกวด
1. สมัครเข้าร่วมส่งผลงานที่ www.biodiversity.iafsw.org โดยเลือกประเภทการเข้าร่วมให้ตรงกับคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประกวด
2. นำข้อมูล Username และ Password จากการสมัครเข้าร่วม เข้าสู่ระบบสำหรับการอัปโหลดภาพถ่ายและวิดีโอคลิป www.biodiversity.iafsw.org/login
3. อัปโหลดไฟล์ภาพถ่าย/วิดีโอคลิป พร้อมรายละเอียดให้ครบถ้วน
เกณฑ์การตัดสิน
1. ภาพถ่ายแมลงที่มีในประเทศไทยที่แสดงถึงชนิด พฤติกรรม ถิ่นที่อยู่อาศัย รวมทั้งวิถีชีวิตของคนที่ใช้ประโยชน์จากแมลง
2. ความสวยงามและการจัดวางองค์ประกอบตามหลักทัศนศิลป์
3. ความยากง่ายและเทคนิคการถ่ายภาพ
4. ความยากง่ายของการพบพฤติกรรมหรือชนิดของแมลง
รางวัลการประกวด
1. ประเภทมัธยมศึกษาตอนต้น
รางวัลที่ 1 เงินรางวัลประเภทละ 15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลที่ 2 เงินรางวัลประเภทละ 8,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลที่ 3 เงินรางวัลประเภทละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล เงินรางวัลประเภทละ 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
2. ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย และอาชีวศึกษา
รางวัลที่ 1 เงินรางวัลประเภทละ 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลที่ 2 เงินรางวัลประเภทละ 15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลที่ 3 เงินรางวัลประเภทละ 8,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล เงินรางวัลประเภทละ 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
3. ประเภทบุคคลทั่วไป
รางวัลที่ 1 เงินรางวัลประเภทละ 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลที่ 2 เงินรางวัลประเภทละ 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลที่ 3 เงินรางวัลประเภทละ 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย จำนวน 4 รางวัล เงินรางวัลประเภทละ 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
สมัครและส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ที่ https://biodiversity.iafsw.org ตั้งแต่บัดนี้ – 30 เมษายน 2567
สอบถามเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/BiodiversityPhotoCompetition
อ้างอิงจาก https://shorturl.asia/IvAHZ