มช. ยกระดับมาตรฐานศูนย์ Glycemic Index Center เพิ่มขีดความสามารถทางวิชาการด้านสุขภาพระดับโลก ภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) นำโดย รศ.ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน คณะกรรมการกลั่นกรองการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา และประธานคณะทำงานส่งเสริมและยกระดับสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล นางสาวนัดดา เจ๊ะยอเด ผู้แทนผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) โดยได้เยี่ยมชม “ศูนย์ทดสอบดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index Center; GIC)” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ พร้อมรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯ และให้การสนับสนุน เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคตในระดับนานาชาติ และเพิ่มขีดความสามารถทางวิชาการด้านสุขภาพระดับโลก

รศ.ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน คณะกรรมการกลั่นกรองการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา และ ประธานคณะทำงานส่งเสริมและยกระดับสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล กล่าวว่า การเยี่ยมชม “ศูนย์ทดสอบดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index Center; GIC)” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศูนย์ GI ที่มีระบบ กลไก และบุคลากรที่พร้อมต่อการให้บริการศึกษาค่าดัชนีน้ำตาลที่มีความเชี่ยวชาญและยอมรับในระดับสากล โดยผ่านการขอรับรอง ISO22642:2010 (ระบบคุณภาพสำหรับการวิเคราะห์ค่าดัชนีน้ำตาล) และเป็นแพลตฟอร์มการทำงานแบบบูรณาการของผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและการแพทย์ ที่จะช่วยสนับสนุนการศึกษาวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์ในระดับ Clinical trial อย่างครบวงจร สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยเฉพาะโรคเบาหวาน

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อยู่ในกลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global and Frontier Research) เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งการวิจัยที่มีคุณภาพในระดับแนวหน้าของโลกหรือเฉพาะทาง สร้างและพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพหรือทักษะสูงให้สามารถคิดค้นผลงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในระดับสากล ผลิตบัณฑิตที่เป็นนักวิจัยหรือผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ตอบโจทย์ตลาดแรงงานโลก ซึ่งโครงการจัดตั้งศูนย์ GI Center (GIC Thailand) เพื่อให้บริการวิจัยแบบบูรณาการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร GI ต่ำ และ การพัฒนาเป็นศูนย์ที่ให้บริการทดสอบ GI ที่เป็นมาตรฐานรายแรกในประเทศไทย สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันที่เป็นเลิศ และสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่ Food for health in NCDs ต่อไปในอนาคต รวมทั้งศูนย์นี้จะช่วยส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและการต่อยอดในเชิงพาณิชย์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศูนย์ GI center (GIC Thailand) ให้เป็นศูนย์ที่ดำเนินการทดสอบและวิจัย GI ในผลิตภัณฑ์อาหารแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองจาก Glycemic Index Foundation ในการประเมินคุณภาพของคาร์โบไฮเดรตในอาหารเอเชีย โดยใช้อาสาสมัครคนไทยเพื่อพัฒนาฐานข้อมูล GI ของอาหารในท้องถิ่น ตลอดจนสนับสนุนและตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม ผ่านการนำเสนอชุดบริการให้คำปรึกษาในการพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์ GI ต่ำ แก่ SMEs และ บริษัทข้ามชาติ (MNCs) นอกจากนี้ GIC Thailand ยังจะมีศักยภาพในการให้บริการวิจัยด้านโภชนาการทางคลินิกที่หลากหลาย นอกเหนือจากการทดสอบ GI เพื่อการวิจัยและพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ ตลอดจนการนำไปใช้ในการยื่นขอเลขทะเบียน อย. และการเป็นข้อมูลอ้างอิงผลต่อสุขภาพของผลิตภัณฑ์

ศูนย์ GIC Thailand จะทำให้เกิดแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกัน ระหว่างอาจารย์ นักวิจัย ผู้ประกอบการ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นการนำความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยในมิติของ Food for NCDs Prevention มาร่วมกันพัฒนาบูรณาการศาสตร์ที่จะพลิกโฉมมหาวิทยาลัย ทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับโลก ได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้าง Frontier Technology ให้กับประเทศในการเป็นผู้นำแห่งวิทยาการที่นำไปสู่การรับมือกับมิติการเปลี่ยนแปลงของโลก

RANDOM

มูลนิธิทีทีบี ชวนน้อง ๆ เยาวชนร่วมรณรงค์ต่อต้านการบูลลี่ ผ่านการประกวดโครงงาน โครงการ “เท่อย่างไทย โดย ไฟ-ฟ้า ทีทีบี” ในหัวข้อ “เท่ได้ต้องไม่บูลลี่” ชิงถ้วยพระราชทาน กรมสมเด็จพระเทพฯ

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!