กรมศิลปากร ส่งมอบคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม จำนวน 894 รายการ (ผูก) พร้อมขยายเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์รักษาเอกสารโบราณเพิ่มเติม

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีแถลงข่าวส่งมอบผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม จำนวน 894 รายการ (ผูก) พร้อมหนังสือบัญชีทะเบียนคัมภีร์ใบลาน และมอบเกียรติบัตรแก่อาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากร โดย สำนักหอสมุดแห่งชาติ ดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่าง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กับ กรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม ถึง 21 มีนาคม 2567 ระยะเวลา 2 เดือน ทำการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลาน จำนวน 894 รายการ (ผูก) โดยบูรณาการประสานความร่วมมือระหว่าง กรมศิลปากร คณะสงฆ์ และ ประชาชน สร้างการรับรู้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) เพิ่มขึ้น จำนวน 7 รูป/คน ความสำเร็จของการดำเนินงานครั้งนี้ จึงถือเป็นก้าวสำคัญที่สร้างความมั่นใจในการเป็นผู้นำการอนุรักษ์ให้กับประชาชน และสร้างการรับรู้แบบตรงไปตรงมาแก่ชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดเอกสารโบราณ โดยมีวัดเป็นแหล่งเอกสารโบราณ และคณะสงฆ์เป็นผู้เก็บรักษาสมบัติล้ำค่าเหล่านี้ไว้ สรุปผลความสำเร็จของการดำเนินงาน ดังนี้

1. กรมศิลปากร อนุรักษ์จัดเก็บ และจัดทำทะเบียนคัมภีร์ใบลาน ซึ่งเป็นการจัดระบบคัมภีร์ใบลาน เพื่อให้บริการตามหลักวิชาการ ออกเลขทะเบียนบัญชีรายชื่อคัมภีร์ใบลานจำนวน 67 มัด มีเลขทะเบียน 144 เลขที่ รวมทั้งสิ้นจำนวน 894 ผูก ถือว่าเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้กลางกรุงที่สำคัญ

2. ความสำคัญของคัมภีร์ใบลาน เทียบเท่า ความสำคัญของวัด ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 เนื่องจากเป็นคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎก ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ภายในพระบรมมหาราชวังมาแต่เดิม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จึงถือว่าเป็นคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกฉบับหลวง ประจำรัชกาลที่ 4 ด้วยเช่นกัน ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้อัญเชิญคัมภีร์พระไตรปิฎกชุดนี้ มาประดิษฐาน ณ วัดราชประดิษฐฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากขึ้น

3. จากการสำรวจ อนุรักษ์ จัดเก็บ พบว่า มีคัมภีร์ใบลานฉบับทรงสร้างซ่อมเติมเต็มฉบับที่หายไปในรัชกาลก่อน ซึ่งในแหล่งเอกสารโบราณวัดราชประดิษฐฯ นี้ รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างซ่อมคัมภีร์บางฉบับที่หายไปในรัชกาลที่ 4 เพื่อทำให้สมบูรณ์เต็มชุด จึงเรียกว่า คัมภีร์ใบลานฉบับหลวงทรงสร้างซ่อม หรือ คนทั่วไป เรียกว่า คัมภีร์ใบลาน 2 รัชกาล เนื่องจากมีตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 4 อยู่ด้านซ้าย และตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5 อยู่ด้านขวา ของ ปกคัมภีร์ใบลาน โดยสรุปมีคัมภีร์สำคัญ ได้แก่ วรด.1-3 (วัดราชประดิษฐฯ เลขที่ 1-3)

เรื่อง อนาคตวังสะ สมัยรัชกาลที่ 4 อายุประมาณ 170 ปี, วรด.14,17,28-32,83,98 (วัดราชประดิษฐฯ เลขที่ 14,17,28-32,83,98) เรื่อง วังสมาลินี, อรรถกถาสังยุตตนิกาย, ฎีกามหาวงศ์, โยชนาอภิธัมมัตถสังคหะและปุคคลบัญญัติ ฉบับหลวงสร้างซ่อม รัชกาลที่ 5 อายุ 139 ปี

4. คัมภีร์ใบลานสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 ได้รับการอนุรักษ์จัดเก็บอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ โดยใช้ไม้ประกับประกบด้านข้างของคัมภีร์ เพื่อเป็นการรักษาทรงไม่ให้โค้งงอ ส่วนกล่องบรรจุคัมภีร์ที่มีมาแต่เดิม จำนวนทั้งสิ้น 87 กล่อง ถือเป็นโบราณวัตถุที่มีความสำคัญ เพราะสร้างโดยประณีตศิลป์ เพื่อเก็บรักษาคัมภีร์ มีข้อความจารึกฝังที่สันกล่อง ระบุปี จ.ศ.1247 (พ.ศ.2428) กล่องประณีตศิลป์นี้ จึงมีอายุอย่างน้อย 139 ปี จึงถ่ายโอนภารกิจนี้ให้กับ สำนักช่างสิบหมู่ ดำเนินการอนุรักษ์ซ่อมแซมต่อไป

5. ขยายเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์รักษาเอกสารโบราณเพิ่มเติมจากปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านมา โดยการอบรมจัดตั้งสมาชิก (อส.มศ.) ตามหลักสูตรอบรม จัดตั้งเป็นเวลา 2 วัน มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 7 รูป/คน จึงถือเป็นการร่วมมือระหว่าง วัด กรมศิลปากร และ ภาคส่วนประชาชน เป็นอย่างดี ตามโครงการความร่วมมือระหว่างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กับ กรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมให้แก่คณะสงฆ์และประชาชนเพิ่มขึ้น

RANDOM

สาธารณสุข ม.มหิดล เชิญชวนนิสิต นักศึกษา ด้านสาธารณสุขจากทั่วประเทศ ร่วมแข่งขัน “Mahidol Public Health Hackathon Contest” ชิงถ้วยพระราชทาน กรมสมเด็จพระเทพฯ และเงินรางวัลรวม 135,000 บาท หมดเขตสมัครแข่งขัน 24 ตุลาคม นี้

ม.เกษตรฯ ผนึก ซีโอฮุน และ เชฟรอน จับมือ 10 โรงเรียนมัธยมแกนนำ เดินหน้าขยายแนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” สร้างองค์ความรู้รับมือโรคระบาด ตั้งเป้าขยายหลักสูตรไปยังโรงเรียนทั่วประเทศ

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!