ราชภัฏอุดรฯ จัดตั้ง ‘ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ’ (FTCDC) ชูเป็นแหล่งสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และยกระดับรายได้ชุมชน

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) นำโดย นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ รองศาสตราจารย์รัฐชาติ มงคลนาวิน อนุกรรมการโครงการ Reinventing University พร้อมด้วยคณะ ตรวจเยี่ยมและลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (รอบ 12 เดือน) กลุ่ม Area Based ด้านการพัฒนาท้องถิ่น ด้วยการพัฒนาศักยภาพกำลังคนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) จากทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เยี่ยมชมความก้าวหน้าศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หรือ FTCDC : Fabric and Textile Creative Design Center พร้อมด้วย โครงการส่งเสริมทุนปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อรับฟังผลการดำเนินโครงการ ฯ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการ ฯ รวมถึงปัญหาและอุปสรรค เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี กล่าวว่า จ.อุดรธานี เป็นจังหวัดที่มีมรดกทางวัฒนธรรมหลากหลาย ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเชื่อและความศรัทธาของผู้คนในท้องถิ่นที่ยาวนาน โดยเฉพาะ เรื่องผ้าทอมือ ผ้ามัดย้อม ผ้าหมี่ขิด ที่มีความโดดเด่นมาก ซึ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (มรภ.อุดรธานี) ได้นำทุนปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมเรื่องผ้าหมี่ขิด มาผนวกความรู้เชิงวิชาการและศึกษาต่อยอด ถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดตั้งศูนย์ทำงานออกแบบตัดเย็บให้เกิดความสวยงามทันสมัยเทียบเท่าสากล ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์และยกระดับรายได้ของเศรษฐกิจในชุมชน อีกทั้งที่ผ่านมา มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับทั้งภาครัฐ เอกชน ดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เป็นการพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งช่วยเหลือท้องถิ่นจังหวัด ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ที่ดีของการบูรณาการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ส่วนท้องถิ่น และประชาชน

ทั้งนี้ มรภ. อุดรธานี โดย ผศ.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี และ ผศ.ธีรยุทธ์ เพ็งชัย รองอธิการบดี ได้จัดตั้งศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ : FTCDC เพื่อการศึกษารวบรวมวัฒนธรรมภูมิปัญญา องค์ความรู้ผ้าทอพื้นเมืองใน จ.อุดรธานี และพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งครอบคลุมไปถึงวัฒนธรรมของ สปป.ลาว มีการพัฒนากระบวนการผลิตเส้นใย และใช้สีย้อมจากธรรมชาติ เกิดการยกระดับและสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ภายในศูนย์ ยังประกอบไปด้วย พิพิธภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองอีสาน และแหล่งเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์และการเผยแพร่วัฒนธรรม ภูมิปัญญา องค์ความรู้ผ้าทอพื้นเมือง ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งเป็นแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการศึกษาวิจัยนวัตกรรมเส้นใย/สีย้อมจากธรรมชาติ และมีศูนย์ทดสอบและรับรองมาตรฐานเส้นใยและผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองที่มีมาตรฐานสำหรับบริการกลุ่มชุมชน ผู้ประกอบการผลิตผ้าทอพื้นเมือง นอกจากนั้น ยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้วัฒนธรรมภูมิปัญญาและผ้าทอพื้นเมือง สนับสนุนพันธกิจของการเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านการพัฒนาท้องถิ่น โดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่ออนุรักษ์ สร้างสรรค์ พัฒนาผ้าทอพื้นเมืองให้ลูกหลานได้ศึกษาและสืบทอดต่อไป

หลังจากนั้น คณะ สป.อว. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านเดื่อ อ.เมือง จ.หนองคาย เป็นโครงการพัฒนาศักยภาพกำลังคนสร้างสรรค์ด้านแฟชั่น และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการจากทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ในชุมชนบ้านเดื่อ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง มีสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม คือ ผ้ามัดย้อม และผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีจากต้นมะเดื่อ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในพื้นที่ มีกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวที่เกิดจากการรวมกลุ่มกันในด้านต่าง ๆ สามารถรับรองนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี มีร้านจำหน่ายสินค้าผ้าทอ ที่เกิดจากการร่วมมือกันของสมาชิกในชุมชน มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาให้การสนับสนุนหลายแห่ง และยังมีการจำหน่ายสินค้าที่มีมะเดื่อเป็นส่วนประกอบหลัก ในรูปแบบออนไลน์ นอกจากนี้ ยังได้สัมผัสถึงกลิ่นไอของอาหารพื้นบ้าน (Gastronomy Food) จากการพัฒนาเมนูอาหารพื้นถิ่นจากปลานิลแม่น้ำโขงอีกด้วย

RANDOM

ทุนธนาคารกรุงเทพ ระดับปริญญาโท สำหรับพนักงานละบุคคลภายนอก จำนวน 25 ทุน ศึกษาต่อสถาบันการศึกษาต่างประเทศและในประเทศ (ภาคภาษาอังกฤษ) ประจำปี 2567 ยื่นใบสมัครขอรับทุนได้ถึง 16 เม.ย. 67

มจธ. ร่วมมือ Jülich เยอรมนี ให้ “ทุนรุกขพิทยพัฒน์” ศึกษาต่อระดับปริญญาโท จำนวน 3 ทุน ด้านพืชศาสตร์-วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ-เศรษฐกิจชีวภาพ ยื่นใบสมัครได้ถึง 15 ต.ค.นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!