มูลนิธิเอสซีจี เร่งเดินหน้าขยายแนวคิด “Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 สร้าง Mindset การเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นคนทุกเจน-ทุกวัย

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มูลนิธิเอสซีจี เดินหน้าขยายแนวคิด “Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด” เป็นปีที่ 3 หลังได้รับการตอบรับด้วยดี พร้อมเดินหน้าเตรียมจัดเสวนาใหญ่ หวังดันแนวคิดสู่คนทุกเจน-ทุกวัย ให้ทุกคนได้เข้าใจและให้ความสำคัญกับ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” และสามารถนำความรู้ที่มีไปต่อยอดเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการ มูลนิธิเอสซีจี เปิดเผยถึงแนวคิด “Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด” ว่า จากการจุดประกายแนวคิดกับหลายภาคส่วน จนได้รับการผลักดันให้เป็นนโยบายสำคัญของทุกกระทรวงที่จะมีการเน้นย้ำถึงการพัฒนาศักยภาพของทุนมนุษย์ในทุกมิติ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อเติมทักษะต่าง ๆ ให้กับคนทุกวัย ในมุมของมูลนิธิฯ เรามุ่งเน้นการสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อการมีอาชีพ ตอบโจทย์ตลาดมีสัมมาชีพเลี้ยงดูตัวเองได้ พร้อมพัฒนาศักยภาพให้กับนักเรียนทุน ตลอดจนเดินหน้าขยายแนวคิด “Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด” ต่อเนื่อง เป็นปีที่สาม เพื่อผลักดันให้การร่วมมือครั้งสำคัญของทุกภาคส่วนนี้ เป็นทางออกของประเทศไทย ในการปรับตัวให้ก้าวทันโลกได้อย่างเป็นรูปธรรม

โดยในปีนี้ มูลนิธิฯ เตรียมจัดงาน “Learn to Earn Talk เจนใหม่ ไม่หยุด Learn” ในวันที่ 12 กรกฎาคม นี้ ที่ Crystal design center โดยกลุ่มเป้าหมายจะครอบคลุมลงมาถึงกลุ่มคนที่เป็นภาคีเครือข่าย KOL ของแต่ละภาคส่วน ที่สามารถลงมือทำให้เห็นผลได้จริง ในการเรียนรู้ในมุมของตัวเอง ช่วยให้ภาครัฐ เอกชน การศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครอง ได้เห็นแนวคิดอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง เพราะไม่ว่าจะเป็นคนเจนไหนวัยไหนก็จำเป็นต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาในการเพิ่มพูนทั้งทักษะวิชาชีพ (Hard skill) และทักษะชีวิต (Soft skill) เพื่อนำมาปรับใช้ในแต่ละสถานการณ์ที่ต้องเผชิญ เป็นการเสริมและลับคมทักษะเพื่อให้อยู่รอดได้ในโลกยุคปัจจุบัน ที่มีบริบทแตกต่างไปจากโลกในอดีตอย่างสิ้นเชิง

สำหรับการจัดงาน Learn to Earn Talk นี้ จะจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Empowering Learn to Earn Mindset ปลุกพลัง สร้างมายด์เซต ‘เรียนรู้เพื่ออยู่รอด’ ที่จะมาร่วมกันสร้าง Mindset “Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด” ให้เกิดขึ้นในคนรุ่นใหม่อย่างไร และทำอย่างไรที่จะขยายแนวคิดนี้ไปสู่สังคมโดยรวม โดยมีวิทยากร จาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ Lifelong Education มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นตัวแทนจากภาครัฐ นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ CEO of The Standard ตัวแทนภาคสื่อมวลชน ผู้แทนจาก SCG ตัวแทนจากภาคเอกชน มาร่วมพูดคุยถึงความท้าทายในโลกอนาคตที่เด็กยุคนี้ และยุคต่อ ๆ ไปต้องเผชิญ , ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เพื่ออยู่รอด , ฝั่ง Demand ปรับตัวอย่างไรเพื่ออยู่รอด และฝั่ง Supply ปรับทักษะอย่างไรให้รอด , วิธีสร้าง Mindset เรียนรู้เพื่ออยู่รอดให้ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ , สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่ออยู่รอดต้องเริ่มอย่างไร พร้อมช่วงพิเศษร่วมพูดคุยกับ เปอร์-สเปกทีฟ สุวิกรม อัมระนันทน์ พิธีกร นักสัมภาษณ์ และนักเรียนรู้ ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร จะมาบอกเล่าถึงการออกแบบความคิดให้ชีวิต ไม่หยุด Learn การฝึกฝนวิธีคิดให้ตัวเองเป็นคนชอบเรียนรู้ พร้อมแชร์แนวทางในการวางแผนอนาคต เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในโลกที่การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ดำเนินการเสวนาโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และกล่าวเปิดงานโดย นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม ประธานกรรมการ มูลนิธิเอสซีจี

“เพราะการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนสี่เหลี่ยม หรือ จำกัดที่อายุคนเรียนอีกต่อไป แต่จะเป็นการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกยุค ทุกสมัย เป็น Lifelong Learning เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ผู้เรียนรู้สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับนั้นมาพัฒนาตัวเอง เพื่อให้อยู่รอดได้ในโลกยุคปัจจุบัน Learn to Earn ปีที่ 3 นี้ จะขยายแนวคิดนี้ให้ครอบคลุมไปยังหน่วยงานในหลาย ๆ ภาคส่วนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้แนวคิดนี้ได้รับการเผยแพร่ออกไปในวงกว้างมากขึ้น นอกเหนือจากสถาบันการศึกษา ครู ผู้ปกครอง รวมถึงการมุ่งเน้นขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังคนทุกเจนทุกวัย เพราะทุกคนต้องมีความเสมอภาคในการเรียนรู้ที่ทำได้ตลอดชีวิต ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นใครหรืออายุเท่าไร ก็สามารถเรียนรู้เพื่ออยู่รอดได้ในโลกปัจจุบันและอนาคต สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ และพร้อมส่งต่อโอกาสให้กับคนอื่น ๆ ในสังคมต่อไปได้” สุวิมล กล่าว

ติดตามความคืบหน้าของกิจกรรมโครงการ Learn to Earn ในปีที่ 3 และติดตามข้อมูลข่าวสารของมูลนิธิเอสซีจี ได้ที่ www.scgfoundation.org และ เฟซบุ๊ก LEARNtoEARN

RANDOM

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!