ทิพยประกันภัย พาตามรอยศาสตร์พระราชา และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาดูงาน ‘โรงสีข้าวพระราชทานอ่าวน้อย’ มรดกล้ำค่าจากพระวิสัยทัศน์ เพื่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter
ปัจจุบันโลกของเราเผชิญกับความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหารอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกอย่างรวดเร็ว ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกลดลง ในขณะที่ความต้องการอาหารกลับเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และวิกฤตเศรษฐกิจโลก ยังส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานอาหารอย่างรุนแรง ทำให้หลายประเทศต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหาร และราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้น
.
ท่ามกลางวิกฤตการณ์ดังกล่าว ทั่วโลกเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารนั้น การพัฒนาภาคการเกษตรเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ หัวใจสำคัญอยู่ที่การดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มีความมั่นคงด้วย ซึ่งในประเด็นนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระวิสัยทัศน์อันยาวไกลเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารของชาติ โดยทรงเล็งเห็นว่า การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร คือ รากฐานสำคัญ เพราะเกษตรกร คือ ฟันเฟืองสำคัญของระบบการผลิตอาหาร หากเกษตรกรไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศโดยรวม แนวคิดนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านพระราชกรณียกิจของพระองค์ โดยทรงพระราชทานโรงสีข้าวให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนโรงสีในพื้นที่ ช่วยให้ชาวบ้านไม่ต้องซื้อข้าวสารราคาแพงจากแหล่งอื่น สามารถพึ่งตนเองได้ และทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
.
.
นางวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจัดโครงการฯ ในครั้งที่ 41 นี้ ได้เลือกมาศึกษาดูงานที่โรงสีข้าวพระราชทานอ่าวน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หนึ่งในโรงสีข้าวที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานไว้ให้กับพสกนิกรชาวไทย และเป็นโรงสีข้าวพระราชทานแห่งสุดท้ายในประเทศ ที่ยังคงเปิดให้บริการประชาชนในพื้นที่มาตั้งแต่ ปี 2524 โดยโรงสีข้าวแห่งนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของพระปรีชาสามารถของพระองค์ในการแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่และสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนเกษตรกรรม โดยไม่เพียงแต่ช่วยให้ชาวบ้านมีข้าวบริโภคในราคาที่เหมาะสม แต่ยังเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญในปัจจุบัน
.
โครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2561 โดย บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ องค์กรพันธมิตร ได้แก่ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน), สมาคมนักเรียนเก่า AFS ประเทศไทย, สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน), การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), มูลนิธิธรรมดี และ องค์กรภาคีเครือข่าย ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของศาสตร์พระราชา และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่จะมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ประเทศชาติเกิดการพัฒนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน พร้อมทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการส่งต่อองค์ความรู้อันทรงคุณค่านี้ไปสู่ประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนและบุคลากรทางการศึกษาของประเทศ เพื่อให้พร้อมรับและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
.
.
นอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ยังได้มีโอกาสชมต้นมะม่วงทรงปลูก ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงปลูกไว้ ณ บริเวณด้านหน้าโรงสีข้าวพระราชทาน เมื่อครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเดินเครื่องยนต์โรงสี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 มะม่วงน้ำดอกไม้ทั้งสองต้นนี้ ได้เจริญเติบโตเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ และทุกปีจะมีการนำผลมะม่วงส่งถวาย พระราชวังไกลกังวล และยังมีการทาบกิ่งเพื่อขยายพันธุ์ให้แก่ส่วนราชการอื่น ๆ เพื่อเป็นสิริมงคล สะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันอันแน่นแฟ้นระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ที่เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณของทั้งสองพระองค์
.
การศึกษาดูงานครั้งนี้ ผู้ร่วมโครงการฯ ได้รับความรู้ในเรื่องข้าวจาก คุณกาญจนา แตงอ่อน ผู้จัดการโรงสีข้าว และ คุณจรัส หอมกลิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลอ่าวน้อย พร้อมมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตข้าวทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกข้าว การสีขาว การแพ็คข้าว ไปจนถึงการจำหน่าย นอกจากนี้ ผู้ร่วมโครงการยังได้มีส่วนร่วมในการบริจาคข้าวสารจากโรงสีข้าวพระราชทานอ่าวน้อย กับ โครงการ “มูลนิธิธรรมดี มหาทานบารมี” ครั้งที่ 349 โดยมี นายสมคิด จันทมฤก ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบข้าวสารน้ำหนักรวม 1.2 ตัน ให้แก่โรงเรียน 10 แห่ง ในตำบลอ่าวน้อย เพื่อเป็นอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน สะท้อนให้เห็นถึงการนำแนวพระราชดำริมาปรับใช้ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการสืบสานพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่ยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการแบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสังคมอีกด้วย
.
.
หลังจากกิจกรรมที่โรงสีข้าวพระราชทานอ่าวน้อย คณะผู้ร่วมโครงการฯ ได้เดินทางต่อไปยังหาดหว้าขาว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อร่วมสักการะอนุสาวรีย์ขุนรองปลัดชู และร่วมรำลึกถึงวีรกรรมอันกล้าหาญของทหารกองอาทมาต 400 นาย วีรบุรุษไทยที่อาสาปกป้องผืนแผ่นดินไทยต่อสู้กับกองทัพพม่า 8,000 นาย ในศึกพระเจ้าอลองพญา เมื่อปี 2302 ณ หาดแห่งนี้ นอกจากนี้ ผู้ร่วมโครงการยังได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการปล่อยปูคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อเป็นการรักษาระบบนิเวศชายฝั่งและความสมดุลของธรรมชาติ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริอีกด้วย
.
อนึ่ง ในโครงการยังมีกิจกรรม Workshop และการบรรยาย โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ อาทิ Workshop “9 ตามรอยนวัตกรรมของพ่อ ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนระดับสากล” ที่เป็นการถอดบทเรียนนวัตกรรมศาสตร์พระราชาในประเด็น “ศาสตร์พระราชากับนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด” พร้อมสอดแทรกคุณธรรม 5 ประการ คือ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และ กตัญญู และ Workshop “The King’s Journey Learn English an Example of an Invention” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์อดุลย์ ดาราธรรม นายกสมาคมนักเรียนเก่า AFS ประเทศไทย และ การบรรยายเรื่อง “คุณธรรมในยุคดิจิทัล” โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามนโยบาย UNSDG ภายในปี 2030
.
.
นอกจากนี้ ทางโครงการฯ ยังได้จัดกิจกรรมจิตอาสาและการกุศล ให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ร่วมทำเพื่อเป็นการเสริมสร้างให้เกิดจิตสาธารณะ และฝึกความเสียสละเพื่อส่วนรวมอีกด้วย เช่น กิจกรรมมอบหนังสือจากโครงการ “อ่านพลิกชีวิต” ของ อมรินทร์กรุ๊ป พร้อมทั้งกิจกรรมมอบทุนและอุปกรณ์ทางการศึกษาจาก มูลนิธิธรรมดี ให้กับ โรงเรียนอ่าวน้อยวิทยาคม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป ทางโครงการ “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 42” ขอเชิญชวนครูอาจารย์ และผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2567 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านจะได้รับประกาศนียบัตรจากทางโครงการฯ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาตนเองในการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจากคุรุสภาได้

RANDOM

กกท.และนครสวรรค์จับมือลุยจัดกีฬาอาวุโสแห่งชาติให้สมบูรณ์แบบ พร้อมปรับเวลาแข่งและจัดการช่วยระบายอากาศ เพื่อสู้ความร้อน หวังช่วยให้นักกีฬาแสดงความสามารถได้อย่างเต็มศักยภาพ

“ราชบุรี” มั่นใจ งานออกมาดี หลังร่วมหารือ 3 ฝ่ายกับ กกท.และสมาคมกีฬา ในการเตรียมเป็นเจ้าภาพกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39 “ราชบุรีเกมส์” และกีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 6 “เมืองโอ่งเกมส์” ปีหน้า

NEWS

ม.หอการค้าไทย ชวนน้อง ๆ มัธยมปลายร่วมโครงการ “แคมป์เด็กหัวการค้า ปีที่ 11 จุดประกายความฝัน…ปั้นผู้นำธุรกิจ” บ่มเพาะนักธุรกิจรุ่นเยาว์ ต่อยอดพัฒนาเศรษฐกิจประเทศในอนาคต เปิดรับสมัครแล้ว ถึง 3 ตุลาคม

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!