นิติศาสตร์ ม.รังสิต จับมือ สภาผู้บริโภค ผนึกกำลังสนับสนุนการพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ สภาองค์กรของผู้บริโภค ลงนามความร่วมมือด้านวิชาการ เพื่อร่วมพัฒนาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์(พิเศษ) วิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค ร่วมด้วยคณะผู้บริหารทั้งสองหน่วยงาน ลงนามบันทึกข้อตกลง จัดขึ้น ณ ห้องออดิทอเรียม (ชั้น 1) อาคารรัตนคุณากร มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อเร็ว ๆ นี้

ศาสตราจารย์(พิเศษ) วิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กับ สภาองค์กรของผู้บริโภค เกิดขึ้นด้วยความตระหนักถึงการให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันมีปัญหาและความซับซ้อนมากกว่าในอดีต โดยเฉพาะในเรื่องการทำสัญญา หรือ การซื้อขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ที่กำลังได้รับความนิยม เพราะมีความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคเองก็อาจตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะการทำสัญญาสำเร็จรูปทางออนไลน์ ที่เป็นการตัดโอกาสผู้บริโภคในการเจรจาต่อรอง หรือ อาจตกเป็นเหยื่อจากการถูกหลอกลวง หรือ ฉ้อโกงได้ง่ายขึ้น อย่างที่เห็นเป็นข่าวในทุกวันนี้

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีความยินดีที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ สภาองค์กรของผู้บริโภค ในการพิทักษ์สิทธิให้แก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะในด้านของการสร้างองค์ความรู้ และการพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงการสนับสนุนให้นักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับทางสภาองค์กรของผู้บริโภค โดยในระดับปริญญาตรี จะมุ่งเน้นเรื่องการฝึกงานกับทางสภาองค์กรของผู้บริโภค การเผยแพร่ความรู้ และให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่ประชาชนที่มีปัญหาจากการถูกละเมิดสิทธิของผู้บริโภค สำหรับระดับปริญญาโท และปริญญาเอก จะมุ่งเน้นในเรื่องการสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการผ่านการทำวิทยานิพนธ์ หรือ สารนิพนธ์ของนักศึกษา เป็นการสร้างนวัตกรรมทางกฎหมาย เพื่อให้ทันต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น” คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต กล่าว

ด้าน คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวว่า ปัจจุบันผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิยังมีอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุจากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการที่มีกระบวนการผลิตที่สลับซับซ้อน โดยอาศัยความไม่รู้ หรือ ไม่เท่าทันของผู้บริโภค ทำให้เกิดการเอาเปรียบผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคมีการตื่นตัว และลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตนเองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเสนอเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมาย และแก้ไขปัญหา รวมถึงการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อให้มีพลังในการเรียกร้องสิทธิของตน จนสามารถทำให้ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองได้มากขึ้น

RANDOM

NEWS

ม.หอการค้าไทย ชวนน้อง ๆ มัธยมปลายร่วมโครงการ “แคมป์เด็กหัวการค้า ปีที่ 11 จุดประกายความฝัน…ปั้นผู้นำธุรกิจ” บ่มเพาะนักธุรกิจรุ่นเยาว์ ต่อยอดพัฒนาเศรษฐกิจประเทศในอนาคต เปิดรับสมัครแล้ว ถึง 3 ตุลาคม

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!