ไปรษณีย์ไทย ชวนน้อง ๆ นักศึกษาส่งผลงานร่วมประกวดออกแบบแสตมป์ และผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Prototype หัวข้อ “ส่งทุกความสัมพันธ์ สู่ทุกความสําเร็จ” ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 120,000 บาท

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

ไปรษณีย์ไทย เชิญชวนนักศึกษาปริญญาตรี หรือ เทียบเท่า ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดออกแบบแสตมป์ และผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Prototype หัวข้อ “ส่งทุกความสัมพันธ์ สู่ทุกความสําเร็จ” ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 120,000 บาท ส่งผลงานได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 20 กันยายน 2567

1. คุณสมบัติของผู้ประกวด
ผู้ที่กําลังศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือ เทียบเท่า สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ทั้งแบบเดี่ยว และแบบกลุ่ม โดยมีสมาชิกจํานวน 1 – 3 คน/กลุ่ม ซึ่งสามารถรวมกลุ่มจากต่างสาขาวิชา ต่างสถาบันได้

2. กติกาในการส่ง ผลงานเข้าประกวด
2.1 ส่งผลงานประกวดในหัวข้อ “ส่งทุกความสัมพันธ์ สู่ทุกความสําเร็จ” 1 ผลงาน ประกอบด้วย
1) แบบภาพดวงตราไปรษณียากร (แสตมป์) สร้างสรรค์จากเทคนิคใดก็ได้ รวมทั้งคอมพิวเตอร์กราฟิก โดยต้องมีส่วนประกอบของแสตมป์ ได้แก่ “ประเทศไทย
THAILAND 5 บาท BAHT”

2) แบบร่างสินค้าต้นแบบ Prototype ที่สัมพันธ์กับภาพดวงตราไปรษณีย์ในข้อ 1) สามารถใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิกทั้ง 2D และ 3D ได้ พิมพ์ลงบนกระดาษขนาด A3 ได้ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
2.2 ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าประกวด ไม่คัดลอก ทําซ้ำ ลอกเลียนแบบ หรือ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ หรือ สิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ไม่มีลักษณะส่อไปในทางลามกอนาจาร ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยส่งเข้าประกวดที่ใดมาก่อน
2.3 ไม่อนุญาตให้ใช้ผลงานที่สร้างสรรค์ผ่านปัญญาประดิษฐ์ (AI) หากตรวจพบจะตัดสิทธิ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมทุกกรณี
2.4 ระบุชื่อผลงาน แนวความคิด (Concept of Design) ชื่อ-สกุล และ ชื่อสถานศึกษา พร้อมเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ ไว้หลังภาพ
2.5 การตัดสินของคณะกรรมการเป็นที่สิ้นสุด ลิขสิทธิ์ และกรรมสิทธิ์ของผลงานที่ส่งเข้าประกวดถือเป็นของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด (ปณท) แต่เพียงผู้เดียว
2.6 ในกรณีที่คณะผู้จัดงานตรวจพบ หรือ ทราบภายหลังว่า ผู้เข้ารอบ หรือ ผู้ได้รับรางวัลไม่ปฏิบัติตามกติกา โดยปกปิดข้อเท็จจริง หรือ มีการแอบอ้าง ลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่น คณะผู้จัดงานสามารถตัดสิทธิ์ผู้ได้รับรางวัลออกได้ทันที และผู้ได้รับรางวัลไม่มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหายไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
2.7 เงินรางวัลที่ได้รับจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 5%

3. วิธีการส่งผลงานเข้าประกวด
3.1 ผู้ประกวดสามารถส่งได้ 1 ผลงาน/กลุ่ม เท่านั้น
3.2 ผู้สนใจประกวดสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ทาง


3.3 เอกสารในการส่งผลงานเข้าประกวด
1) ใบสมัครโครงการประกวดออกแบบแสตมป์ และ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Prototype
2) สําเนาบัตรประจําตัวนักเรียน/นักศึกษาที่ยังไม่หมดอายุ
3) ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ได้แก่ ภาพดวงตราไปรษณียากร และ แบบร่างสินค้าต้นแบบ Prototype
3.4 สามารถส่งผลงานด้วยตนเอง หรือ ทางไปรษณีย์ด้วยบริการ EMS ในประเทศ ที่ ฝ่ายบริหารลูกค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการไปรษณีย์ (ปป.) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด 111 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 02-831-3965 จนถึง วันที่ 20 กันยายน 2567 โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสําคัญ

4. การตัดสินผลงาน
รอบคัดเลือก
ประกาศผลรอบคัดเลือก วันที่ 27 กันยายน 2567 ผ่านช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด (ปณท)
ทีมที่ผ่านการคัดเลือก จํานวน 5 ทีม จะมีสิทธิพิเศษ ดังนี้
– การ Workshop กับผู้เชี่ยวชาญด้านงานออกแบบ ในวันที่ 5 ตุลาคม 2567 (สามารถเข้าร่วมได้ทั้ง Onsite/Online)
– ได้รับเงินทุน จํานวน 10,000 บาท/กลุ่ม เพื่อนําไปพัฒนาสินค้าต้นแบบ (Prototype) สําหรับส่งประกวดในรอบชิงชนะเลิศ และจัดทําวิดีโอคลิปนําเสนอผลงานความยาวไม่เกิน 2 นาที โดยจะนําไปเผยแพร่ ผ่าน Social Media ของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด (ปณท) เพื่อเปิดรับคะแนน Popular Vote (หากไม่ส่งผลงานจะต้องคืนเงินทุนที่ได้รับ)
รอบชิงชนะเลิศ
นําเสนอผลงานด้วยตนเอง ที่อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก ถ.เจริญกรุง กรุงเทพฯ ในวันที่ 30 ตุลาคม 2567
– รางวัลที่ 1 รางวัลละ 30,000 บาท
– รางวัลที่ 2 รางวัลละ 20,000 บาท
– รางวัลที่ 3 รางวัลละ 10,000 บาท
– รางวัล Popular Vote ผลงานของทีมที่ได้รับจํานวน Like สูงสุดผ่าน Social Media ของ ปณท จํานวน 1 รางวัล รางวัลละ
10,000 บาท

สอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-831-3965

ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ https://shorturl.asia/ZLG4J

อ้างอิงจาก https://shorturl.asia/Bptvb

RANDOM

สอศ. จับมือ สมาคมวิทยาศาสตร์ฯ และ บ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น จัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา ประจำปี 2567 หนุนพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์นักเรียนนักศึกษา ต่อยอดผลิตแรงงานคุณภาพออกสู่ตลาดงานในอนาคต

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!