CADT DPU ยกระดับหลักสูตร เน้น “ลักซ์ชัวรี เซอร์วิส” เสริมศักยภาพบุคลากรรุ่นใหม่ ตอบรับการบินเติบโต

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) คว้าโอกาสอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลกเติบโตต่อเนื่อง เร่งติวเข้มเซอร์วิสระดับลักซ์ชัวรี ผ่านหลักสูตรและโครงการจัดอบรม เพิ่มศักยภาพบุคลากรรุ่นใหม่ ด้วยเสน่ห์จากบริการที่เหนือชั้น พร้อมเติมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม วางเป้าดึงดูดคนรุ่นใหม่เดินเข้าสู่อุตสาหกรรมการบินมากขึ้นในอนาคต

อาจารย์ปวรรัตน์ สุภิมารส รักษาการคณบดี วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลกฟื้นตัวดีอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัยสนับสนุน ทั้งตัวเลขผลประกอบการของธุรกิจสายการบินที่เติบโตเป็นบวก การเปิดเส้นทางบินใหม่ พร้อมกับจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นในจุดท่องเที่ยวสำคัญ ๆ เช่น ไต้หวัน และฮ่องกง ไปจนถึงการเปิดรับบุคลากรเข้าทำงานในหลายตำแหน่งงาน เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ ส่งผลให้ในภาพรวมทุกอย่างเริ่มกลับมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 โดยสอดรับกับรายงานการวิจัยตลาด ของ Data Bridge Market Research คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมการบินในเอเชียแปซิฟิก (APAC) เป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุด จากจำนวนผู้โดยสารทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้น และการเพิ่มขนาดฝูงบินของสายการบินต่าง ๆ โดยคาดว่าการเติบโตขึ้นนี้ จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องถึงปี 2028

ติดปีก ‘ลักซ์ชัวรี เซอร์วิส’ คนธุรกิจการบิน

อาจารย์ปวรรัตน์ กล่าวต่อว่า นอกจากการแข่งขันกันเปิดเส้นทางการบิน และเพิ่มเที่ยวบินมากขึ้นแล้ว อีกหนึ่งแนวโน้มที่เกิดขึ้น เป็นการแข่งขันกันนำเสนอบริการที่แตกต่างและเป็นพรีเมียมมากขึ้น ทาง CADT DPU มองเห็นโอกาสที่เกิดขึ้นนี้ จึงพร้อมยกระดับการเรียนการสอนไปในแนวทางที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมการบิน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาการให้บริการในระดับลักซ์ชัวรีให้กับนักศึกษาและบุคลากรในอุตสาหกรรมการบิน

โดย วิทยาลัยฯ และ DAA สถาบันฝึกอบรมด้านการบินที่ได้รับรองให้เป็น Authorized Training Center (ATC) ของ สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เตรียมนำเสนอความเป็น “ลักซ์ชัวรี เซอร์วิส” เข้าไปในการเรียนการสอน และจัดอบรม เพื่อยกระดับงานบริการที่มีความเป็นพิเศษและแตกต่างในทุกมิติ ตั้งแต่ท่าทาง การแต่งกาย บุคลิก การสื่อสาร และอื่น ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรม ทั้งนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรปริญญาตรี 2 สาขา ได้แก่ สาขาธุรกิจการบิน และ สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและการอำนวยการบิน

“การให้บริการเป็นจุดเด่นคนไทย ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากชาวต่างชาติอยู่แล้ว เมื่อเพิ่มการอบรมและพัฒนา พร้อมสร้างทัศนคติที่ดีด้านบริการเข้าไป จะยิ่งทำให้เป็นข้อได้เปรียบ นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรมการบิน และนักศึกษา ได้มีทักษะที่โดดเด่น และเป็นที่ต้องการของตลาดงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต อีกทั้งยังเป็นทักษะที่เอไอ หรือ Artificial Intelligence ไม่สามารถสัมผัสความรู้สึกระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ได้ดีเท่ากับการบริการโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี เพิ่มมุมมองด้านลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับนักศึกษา ตามแนวทางของอุตสาหกรรมการบินที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในปี ค.ศ.2050” อาจารย์ปวรรัตน์ กล่าว

ชูจุดแข็ง-ผนึกพันธมิตร ปูทางความสำเร็จสายอาชีพ

นอกจากการเพิ่มทักษะด้านบริการที่เหนือชั้นแล้ว CADT DPU ได้ให้ความสำคัญการสร้างอุปกรณ์การเรียนการสอน และสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility) เช่น อุปกรณ์ฝึกการอพยพจากเครื่องบินกรณีฉุกเฉิน (Slide Drill) , ห้องฝึกปฏิบัติการบนเครื่องบิน (Airbus300-600) และ เครื่องช่วยฝึกบินจำลอง Flight Simulator (Cessna 172 และ Boeing 737-800NG) เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในอุตสาหกรรมการบินที่มากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ได้พัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อยกระดับการเรียนการสอน และเปิดโอกาสให้นักศึกษาไปฝึกงานในสถานที่ปฏิบัติงานจริง ล่าสุดได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพ กับ บริษัท ไทย เวียตเจ็ท แอร์ จอยท์ สต็อค จำกัด (เวียตเจ็ทไทยแลนด์) ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกงานปฏิบัติงานจริงในตำแหน่งต่าง ๆ ของทางสายการบินเวียตเจ็ทไทยแลนด์

ทั้งนี้ CADT DPU ได้วางเป้าหมายการเติบโตไปพร้อมอุตสาหกรรมบินของไทยและทั่วโลก ด้วยการผลิตบุคลากรที่มีทักษะสูง และมีความพร้อมสำหรับการทำงานในสายงานที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดงาน เช่น กราวด์ เซอร์วิส และ นักบิน เป็นต้น ผู้สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://cadt.dpu.ac.th/ และ https://www.daatraining.com/

RANDOM

‘รองชุม’ พอใจพ่อเมืองปากน้ำโพและนายกฯจิตตเกษมณ์ นำทีมรายงานและนำดูงานเชื่อมั่นผ่านฉลุยทั้งกีฬาเยาวชนและอาวุโส พร้อมแนะดึงชุมชนมามีส่วนร่วมเพื่อความภาคภูมิใจของท้องถิ่น

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จับมือ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ชวนคนรุ่นใหม่โชว์พลังสร้างสรรค์ ร่วมประกวดโฆษณาหนังสั้น “GLO Innovation Short Film Contest 2024” ชิงทุนการศึกษารวม 800,000 บาท สมัครเข้าร่วมโครงการได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 12 มี.ค. 67

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!