มทร.ล้านนา มุ่งผลิตนักวิจัยหน้าใหม่ ตั้งเป้าของบวิจัยเพิ่ม 30-40% หวังพัฒนากำลังคนตามความต้องการของประเทศ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา เปิดเผยว่า มทร.ล้านนา ให้ความสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมให้คณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ได้ทำวิจัยด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และการพัฒนากำลังคนตามความต้องการของประเทศ สอดคล้องกับความเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มสอง งานวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี จึงเป็นไปตามแผนปฏิรูปความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย “ครีเอทีฟล้านนา” ซึ่งสัมพันธ์กับ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ได้มีการแบ่งพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ Northern Economic Corridor : NEC – Creative LANNA ที่ถูกกำหนดไว้ 4 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง และ ลำพูน

มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากภาครัฐ ปีละ 50-60 ล้านบาท จากงบประมาณรายได้ทั้งหมด 400-600 ล้านบาท หรือ 10% ของรายได้มหาวิทยาลัย ซึ่งงบประมาณดังกล่าว มทร.ล้านนา คาดหวังว่า จะเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 30-40% แต่การจะทำให้งบวิจัยเพิ่มขึ้นได้นั้น จะต้องมีการส่งเสริมและสร้างนักวิจัยหน้าใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งนี่เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งของ มทร.ล้านนา ในการสร้างนักวิจัยหน้าใหม่ และส่งเสริมให้อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ให้ทำงานวิจัยร่วมกับผู้ประกอบการมากขึ้น เพราะนอกจากงบประมาณจากภาครัฐ กองทุนวิจัย แล้ว ส่วนหนึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ประกอบการ SME ร่วมด้วย” รักษาการอธิการบดี มทร.ล้านนา กล่าว

รศ.ดร.อุเทน กล่าวต่อว่า การทำงานวิจัยของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย จะต้องคำนึงถึง 2 ประเด็นหลัก คือ วิจัยเพื่อใช้ประโยชน์เรื่องอะไร และใครที่จะได้ผลประโยชน์จากงานวิจัยดังกล่าว นั่นคือ แผนงานวิจัยต้องทำให้เห็นชัดเจนว่ามีผู้ใช้หรือไม่ และต้องรู้ว่าใครจะเอาไปใช้ประโยชน์ เช่น งานด้านวิศวกรรมของอาจารย์ท่านหนึ่งที่ได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนในการจัดทำเสื้อทำกระสุน เวลาเขียนแผนงานวิจัยจะมีเป้าหมายชัดเจน และมีการทำ IP Plan รวมถึงการใช้เครื่องมือในการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (IP Tools) เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้ประโยชน์จากงานวิจัย ต้องได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็น อาจารย์นักวิจัย หรือ บริษัทที่เข้ามาสนับสนุนร่วมมือในการทำงานวิจัย และนำไปใช้ได้จริงในท้องตลาด ดังนั้น งานวิจัยของ มทร.ล้านนา จะมีเรื่องของเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตร ภาคบริการ Arts Design & Architecture เป็นต้น เป็นการสนับสนุนงานวิจัยของทั้งครูอาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยในแต่ละคณะ

นอกจากการส่งเสริมให้อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทำวิจัยแล้ว ยังสนับสนุนให้เป็นสตาร์ทอัปร่วมด้วย ซึ่งอาจารย์และนักศึกษาต้องสร้างธุรกิจ เพื่อที่จะทำให้พวกเขามีอาชีพ มีรายได้ เกิดการลงทุนกับนักลงทุนที่อยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน ฉะนั้น นักศึกษาและอาจารย์ที่ทำงานวิจัยร่วมกับผู้ประกอบการ นักลงทุน จะต้องออกไปนำเสนองาน และเกิดการทำสัญญาร่วมกัน พัฒนาจากงานวิจัยกลายเป็นโปรดักส์ที่จำหน่ายได้จริง ๆ

“การลงทุนงานวิจัย มีกำหนดการในการดำเนินการไม่เกิน 8-9 เดือน การทำสตาร์ทอัป ใน1 โปรดักส์ จะต้องมีการฝึกอบรม สัมมนา ให้ความรู้ และต้องมีความชัดเจนว่า สิ่งที่ค้นพบนั้นสามารถนำไปสู่โปรดักส์หรือขายได้ รวมถึงการสร้างเชื่อมโยงกับ SMEs ภาคเหนือ ให้ปรับเปลี่ยนจากธุรกิจเดิมสู่การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้มีการรวบรวม พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ งานวิจัยที่สามารถสร้างรายได้ และสร้างงานให้แก่อาจารย์ นักศึกษา สตาร์ทอัป และชุมชนได้มากขึ้น” รศ.ดร.อุเทน กล่าว

RANDOM

“ก้องศักดมอบรองชุม”สะสางกลุ่มต้องล้างท่อและค้างชำระ ขณะที่กลุ่มค้างนานเอาเงินไปแล้วไม่เคลียร์ ยันเป็นเงินหลวงก็ต้องคืนหลวงเท่านั้นจะละเลยไม่ได้ พร้อมเตรียมแก้ไขจะไม่ให้ติดขัดเรื่องนี้ในอนาคต

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!