วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FM 101.5 MHz. และ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เชิญชวนนักเรียนมัธยมศึกษา หรือ เทียบเท่า สมัครเข้าร่วมประกวด โครงการ “Green Mission by Chula X Gulf : ภารกิจรักษ์ยั่งยืน” ในหัวข้อ “Beware Your Step : ก้าวต่อไป ไร้รอยเท้า” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 100,000 บาท พร้อมประกาศเกียรติคุณ
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ เกี่ยวกับสภาพปัญหา ความสำคัญและแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามบริบททางสิ่งแวดล้อม และสังคมวัฒนธรรมของประเทศไทย
2. เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในบริบทที่เหมาะสม สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป ผ่านโครงการฯ และสื่อประชาสัมพันธ์ของโครงการฯ
กลุ่มเป้าหมาย
เยาวชน อายุ 15-18 ปี จากทุกภูมิภาคของประเทศไทย ส่งใบสมัครเป็นทีม ๆ ละ 3 คน พร้อมตอบคำถามเพื่อรับการคัดเลือก
การดำเนินโครงการ
1. รับสมัครเป็นทีม โดย ใน 1 ทีม สมาชิก จำนวน 4 คน ประกอบด้วย
(1) นักเรียน (เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ ไม่เกินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า และมีอายุไม่เกิน 18 ปี) จำนวน 3 คน
(2) ครูและ/หรือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ จำนวน 1 คน โดยทีมที่ต้องการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องกรอกข้อมูลและตอบคำถามในใบสมัครให้ครบถ้วน และส่งใบสมัครภายในวันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน 2567 ทั้งนี้ ผู้สมัคร 1 คน สามารถเป็นสมาชิกทีมได้เพียง 1 ทีม เท่านั้น
2. คัดเลือกทีมผู้สมัครจากการตอบคำถามในใบสมัคร จำนวน 20 ทีม เพื่อเข้าร่วมโครงการฯ
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 20 ทีม (จำนวน 80 คน) เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ ของ โครงการ Green Mission by Chula X Gulf ภารกิจรักษ์ยั่งยืน หัวข้อ “Beware Your Step: ก้าวต่อไป ไร้รอยเท้า” เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี (ทั้งนี้ ผู้สมัครแต่ละทีมจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเข้าร่วมอบรม และค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนา)
ประกาศผลการคัดเลือก 20 ทีม วันที่ 7 ตุลาคม 2567
ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 20 ทีม เข้าร่วมกิจกรรม ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.สระบุรี
วันที่ 22 ตุลาคม 2567 เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันที่ 22-24 ตุลาคม 2567 อบรม Boot Camp
วันที่ 25 ตุลาคม 2567 การแข่งขัน Hackathon รอบชิงชนะเลิศ
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 20 ทีม จะต้องเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกระบวนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) ของโครงการฯ จึงจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ
3. การคัดเลือกทีมผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย จำนวน 8 ทีม ผ่านแบบทดสอบภายในกิจกรรม โดยใช้เกณฑ์ตัดสิน ดังนี้
– ความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– ความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– การคิดเชิงวิเคราะห์ และการจัดการกับสถานการณ์เฉพาะหน้า
– การสร้างการมีส่วนร่วม
– ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
4. การแข่งขันการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon) รอบชิงชนะเลิศ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
(1) ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้าย ทั้ง 8 ทีม จะต้องเข้าร่วมการแข่งขันการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon) รอบชิงชนะเลิศ
(2) คณะกรรมการโครงการฯ ตัดสินผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ จากการนำเสนอผลการดำเนินงาน (oral presentation) โดยมีเกณฑ์ในการตัดสิน ดังนี้
– ความรู้ ความเข้าใจ ด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (15%)
– แนวทางการจัดการ และนวัตกรรมสามารถนำไปใช้ได้จริง (20%)
– แนวทางการจัดการ และนวัตกรรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในบริบทอื่น (20%)
– ความโดดเด่นของแนวทางการจัดการ และนวัตกรรม (30%)
– ความน่าสนใจของการนำเสนอ (15%)
*หมายเหตุ การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
5. ทีมที่ชนะการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ จะได้รับรางวัล ดังรายละเอียดต่อไปนี้
รางวัลที่ 1 : เงินรางวัล 40,000 บาท จำนวน 1 รางวัล พร้อมประกาศเกียรติคุณ
รางวัลที่ 2 : เงินรางวัล 20,000 บาท จำนวน 1 รางวัล พร้อมประกาศเกียรติคุณ
รางวัลที่ 3 : เงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล พร้อมประกาศเกียรติคุณ
รางวัลชมเชย : เงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท จำนวน 5 รางวัล พร้อมประกาศเกียรติคุณ
รางวัล Popular Vote by Gulf : เงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล
รางวัลรวมมูลค่า 105,000 บาท
6. ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
– เดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2567
– เปิดรับสมัครวันที่ 1 สิงหาคม 2567
– ปิดรับสมัคร วันที่ 30 กันยายน 2567
– ประกาศผลการคัดเลือก 20 ทีม วันที่ 7 ตุลาคม 2567
– ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 20 ทีม เข้าร่วมอบรม Boot camp และ แข่งขัน Hackathon วันที่ 22-25 ตุลาคม 2567
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณวลีรัตน์ มีกุล โทร. 02-218-0685 waleerat.m@chula.ac.th
คุณอติภา ต่วนชื่น โทร. 02 -18-0686 atipa.t@chula.ac.th
Inbox Facebook/curadio
Facebook/EnviInsider
Line@chularadioplus
สมัครเข้าร่วมกิจกรรม https://shorturl.asia/joLIF
อ้างอิงจาก https://shorturl.asia/5bLmq