บพท. ชู “ทุนพื้นที่ที่หลากหลาย” โจทย์ตั้งต้น สู่ “การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก” ให้อยู่รอดในยุคการแข่งขันสูง

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter
“เป้าใหญ่การทำงานของเรา คือ การหนุนเศรษฐกิจฐานราก เพราะเราพูดถึงโมเดลการพัฒนาประเทศแบบใหม่ ที่ไม่ใช่การสร้าง Growth Engine หรือ สร้าง New S-Curve แต่เป็นการไปเสริมและพัฒนาทักษะทั้ง Upskill และ Reskill ให้เศรษฐกิจฐานรากสามารถอยู่รอดในยุคที่ต้องแข่งขันกันสูง”
.
.
ส่วนหนึ่งจากเสียงสะท้อนของ ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่แสดงมุมมองต่องานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจฐานราก และความเข้มแข็งของชุมชน
.
นอกจากนี้ การใช้ Global Trend เข้ามาเป็นแรงหนุนในการขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่ ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำควบคู่กันไป เพราะเป็นความก้าวหน้าของสายเทคโนโลยี และกลุ่มอุตสาหกรรม แต่พบว่า หากมุ่งแค่พัฒนาไปตามกระแสของโลก จะเกิดปัญหาที่ตามมา ได้แก่ 1. ผู้ประกอบการรายใหญ่เกิดขึ้นได้ แต่รายเล็กเกิดขึ้นยาก เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจในมุมนี้ จะเกิดความมั่งคั่งที่กระจุกตัว โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ กลุ่มคนที่เข้าถึงเทคโนโลยี เข้าถึงตลาด เข้าถึงทุน เกิดการจ้างงาน แต่กลับพบว่า โอกาสที่ผู้ประกอบการรายเล็ก จะเติบโตนั้นค่อนข้างยาก เพราะโดนควบคุมด้วยอุตสาหกรรมรายใหญ่  2. เกิดการจ้างงานน้อยลง เนื่องจากโดนควบคุมด้วยเทคโนโลยีเป็นหลัก และต้องใช้แรงงานที่มีทักษะขั้นสูงตามเทคโนโลยี
.
.
จากปัญหาดังกล่าว ดร.กิตติ แสดงทรรศนะว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางทุนวัฒนธรรม ดังนั้น โมเดลสำหรับการพัฒนาประเทศ คือ ต้องใช้ทุนในประเทศที่มีอยู่มาต่อยอด แม้ว่าจะมีมวลรวมเศรษฐกิจไม่มาก แต่สามารถกระจายรายได้สูง ในรูปแบบ BCG Economy Model ซึ่งเป็นอีกกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต สามารถกระจายโอกาส กระจายรายได้ไปสู่ชุมชนและท้องถิ่นอย่างทั่วถึง จากนั้นจึงหาเป้าหมายที่จะขับเคลื่อน หรือเรียกว่า ผู้ประกอบการชุมชน
.
ทั้งนี้ การสร้างให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้มแข็งได้ ต้องใช้งานวิจัยเชิงพื้นที่เข้าไปหนุนเสริม โดยไม่ทิ้งอัตลักษณ์ หรือ บริบทของพื้นที่นั้น ๆ ภายใต้ หลักการ “กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยต้องเติบโตและมีส่วนแบ่งกับตลาดได้ทุกระดับ แล้วขยายไปสู่ตลาดโลก”
.
จากการลงพื้นที่ที่นักวิจัยไปเจอ คือ มีกลุ่มอาชีพครัวเรือนแบบเศรษฐกิจพอเพียง ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หรือ ยังไม่ได้ตั้งเป็นกลุ่มอย่างเป็นทางการ เช่น กลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบ เลี้ยงปู เลี้ยงปลา กลุ่มจักสาน ฯลฯ พอเกิดกลุ่มหลาย ๆ กลุ่มรวมกันแล้ว เรียกว่า เครือข่ายธุรกิจชุมชน ซึ่งหากมีการเข้าไปหนุนเสริมจากทุนที่เขามีอยู่แล้ว จะเกิดการสร้างรายได้ สร้างคุณค่าได้มากขึ้น” 
.
.
ท้ายที่สุด สิ่งสำคัญของการฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก คือ การหนุนผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังไม่เข้มแข็ง ให้สามารถลุกขึ้นมา สร้างงาน สร้างอาชีพ ที่จะเชื่อมโยงไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางการเงินในระดับท้องถิ่น มีรายได้เพียงพอสำหรับความต้องการพื้นฐาน สามารถพัฒนาตนเองได้ ดูแลครอบครัวชุมชนตัวเองต่อไปในอนาคต ที่จะนำไปสู่การลดความยากจน และเพิ่มโอกาสทางสังคม อีกทั้งโมเดลการพัฒนาแบบนี้สร้าง “สำนึกท้องถิ่น” ให้กับคนและกลไกในพื้นที่ให้รักษ์ถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเองอย่างยั่งยืนต่อไป
.
หน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีเป้าหมายหลัก คือ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตนเองได้ และกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-109-5432 ต่อ 811 หรือที่  อีเมล pmua@nxpo.or.th

RANDOM

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้ทุนเรียนต่อต่างประเทศ จำนวน 114 ทุน ตามโครงการทุนเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมายุ 60 พรรษา เพื่อพัฒนาผู้มีอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ด้านภัยพิบัติ

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!