มวล. เปิดเวทีระดมสมอง กำหนดกลยุทธ์ยกระดับระบบวิจัยฯ ขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC)

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) เปิดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดกลยุทธ์ยกระดับระบบวิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภูมิภาค ภาคใต้ (SEC) เชื่อมโยงเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ

ผศ.ดร.สมใจ หนูผึ้ง หัวหน้าสถานวิจัย สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน ม.วลัยลักษณ์ (มวล.) ในฐานะหัวหน้าโครงการกำหนดกลยุทธ์ในการยกระดับระบบวิจัยและนวัตกรรม ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภูมิภาคภาคใต้ (SEC) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มวล. ร่วมกับ สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน พร้อมภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการยกระดับระบบวิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคใต้ ภายใต้ โครงการการพัฒนาระบบกลไกของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเพื่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค โดยในพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานกล่าวเปิด โดยมีบุคลากร เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษา เข้าร่วมกว่า 150 คน ณ ห้องแกรนด์บอลรูม 9 โรงแรมบรรจงบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผศ.ดร.สมใจ กล่าวว่า กิจกรรมในครั้งนี้เกิดขึ้นจากการบูรณาการร่วมกัน และการให้ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน โดย กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ได้มอบหมายให้ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ดำเนินการพัฒนาระบบกลไกของ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อมุ่งพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ตามที่รัฐบาลได้ประกาศพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ขึ้น โดยมีพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร และ ระนอง ให้เป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาคใต้ให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

การจัดกิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อแนะนำโครงการดังกล่าว โดยมีการประชุมกลุ่มย่อยและรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาคม สมาคม ชุมชน สถาบันการศึกษา ในพื้นที่ SEC ที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และจะมีการนำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการกำหนดทิศทางในระยะยาว เพื่อเป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการมุ่งเป้าอย่างมีประสิทธิภาพ

“โครงการฯให้ความสำคัญกับการกำหนดวิสัยทัศน์ที่มาจากความต้องการและความคาดหวังของคนในพื้นที่จริง ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจมีทิศทางที่ชัดเจน และสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้ครอบคลุม ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ต่อไป” ผศ.ดร.สมใจ กล่าว

RANDOM

เปิดบ้าน ม.ธรรมศาสตร์ สุดคึกคัก ชูสุดยอด 129 หลักสูตร ป.ตรี อัปเลเวลสู่ “มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำแห่งอนาคต” รุกปรับหลักสูตรครั้งใหญ่ เน้นความสนใจ โอกาส และการเปลี่ยนแปลงโลก

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!