บริษัทก่อสร้างชั้นนำ หนุน ม.วลัยลักษณ์ เอ็มโอยูพัฒนางานวิจัยวัสดุแท่งคอมโพสิตและคอนกรีตรีไซเคิล ยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้าง

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

2 บริษัทก่อสร้างชั้นนำของประเทศไทย ร่วมกับ ม.วลัยลักษณ์ เซ็นเอ็มโอยูพร้อมมอบทุนกว่า 1 ล้านบาท หนุนงานวิจัยวัสดุแท่งคอมโพสิตและคอนกรีตรีไซเคิล เพื่อช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วย นายพิสิษฐ์ จรัสพงศ์ถาวร กรรมการบริหาร บริษัท จีเอฟอาร์พี คิงส์ และ นายประเสริฐ ตั้งเด่นไชย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปัญญาคอนกรีต จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมวัสดุแท่งคอมโพสิตและคอนกรีต โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธี โดยมีผู้บริหารของทั้ง 2 ฝ่ายร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องINNOVATION HUB อุทยานวิทยาศาสตร์ฯและห้องเกียรติยศ รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาวัสดุแท่งคอมโพสิตในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ศึกษาและวิจัยต่อยอดผลิตภัณฑ์วัสดุแท่งคอมโพสิต พัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างคอนกรีต และนวัตกรรมการก่อสร้าง ศึกษาและวิจัยต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากคอนกรีตรีไซเคิล พร้อมทั้งการสนับสนุนความร่วมมือการทำวิจัยเพิ่มเติมในอนาคต ภายใต้กรอบเวลา 3 ปี

โอกาสเดียวกันนี้ ทั้ง 2 บริษัท และ ม.วลัยลักษณ์ ยังได้การลงนามในสัญญาโครงการวิจัย จำนวน 2 โครงการ พร้อมสนับสนุนทุนการวิจัย ให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย รวมทั้งสิ้น 1,075,000 บาท ด้วย

รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ กล่าวถึงความสำคัญของโครงการวิจัยในครั้งนี้ว่า อุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก การนำวัสดุคอนกรีตรีไซเคิล และวัสดุแท่งคอมโพสิตมาใช้ จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศไทยได้

ในอนาคตเรามีแผนในการก่อสร้างอาคารจริง ขนาด 3 ชั้น ที่ใช้วัสดุแท่งคอมโพสิต 100% เป็นโครงสร้างเสริมแรง โดยจะตรวจวัดและติดตามผลด้านความทนทานและประสิทธิภาพของวัสดุต่อสภาพแวดล้อมจริง เป็นระยะเวลา 12 เดือน เพื่อประเมินความทนทานและความสามารถในการรองรับน้ำหนักในระยะยาว” รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ กล่าว

ส่วนการใช้คอนกรีตรีไซเคิลสำหรับผลิตลูกปูนหนุนเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีต จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรใหม่ และลดขยะก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการสึกกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต ทนทานต่อการกัดกร่อนในสภาวะแวดล้อมที่รุนแรง ที่สำคัญจะช่วยยืดอายุการใช้งานของโครงสร้างได้อีกด้วย

RANDOM

สถาบันวัคซีนฯ เปิดรับสมัครทุนวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2568 ครั้งที่ 2 หนุนวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบป้องกันโรคติดเชื้ออื่น ๆ นอกเหนือจากวัคซีนโควิด 19 เพื่อความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 30 สิงหาคม 2567

นักศึกษาเทคนิคฉะเชิงเทรา โชว์กึ๋น ประดิษฐ์ “Wheelchair & Walker” อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินผู้ป่วยกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ซิวรองอันดับ 1 การประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ ปี 66

ทิพยประกันภัย เชิญครู อาจารย์ และผู้สนใจทั่วประเทศ ตามรอยศาสตร์พระราชา “รู้…รักสามัคคี” เยือนลุ่มน้ำปากพนัง อู่ข้าว อู่น้ำแห่งภาคใต้ ในโครงการ “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 45” วันที่ 26 – 27 ตุลาคม นี้

NEWS

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!