กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เชิญชวนนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ร่วมประกวดออกแบบสินค้าสร้างสรรค์ของเล่นพื้นบ้านภูมิปัญญาไทย “Re-Play HISTORY : เรื่องไม่เล่น ของเล่นวิถีไทย” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 100,000 บาท เปิดรับสมัครถึง 11 เมษายน

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษา ต่อยอด เพื่อยกระดับของเล่นพื้นบ้านไทยให้ร่วมสมัย ผ่านการบูรณาการ นวัตกรรมและวิทยาศาสตร์สมอง เพื่อให้ของเล่นพื้นบ้านไม่เพียงแต่คงอยู่ แต่ยังสามารถแข่งขันในตลาดสากลได้ โดยเปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้พัฒนาไอเดียผ่านการแข่งขัน การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการแสดงผลงาน เพื่อต่อยอดสู่การผลิตและจำหน่ายจริง ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ เป็นแรงผลักดันให้ของเล่นพื้นบ้านไทยก้าวเข้าสู่ตลาดโลกในฐานะผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ที่ตอบโจทย์การเรียนรู้และพัฒนาทักษะเด็ก และผู้สูงอายุในยุคปัจจุบัน

รายละเอียดกิจกรรมการประกวด
ค้นหานักออกแบบที่หลงใหลในการออกแบบงานศิลป์ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด “ถอดรหัสของเล่นไทย สู่นวัตกรรมวิทยาศาสตร์สมอง” เพื่อรักษา ต่อยอด และนำภูมิปัญญาพื้นบ้านของเล่นไทย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ระดับท้องถิ่นในมุมมองใหม่ ๆ ให้เป็นที่รู้จักในไทยและต่างประเทศ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 100,000 บาท

ประเภทการประกวด แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. การออกแบบของเล่นสำหรับเด็ก ช่วงวัย 6-12 ปี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนสู่ศตวรรษที่ 21
2. การออกแบบของเล่นสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาสมองอย่างต่อเนื่อง ป้องกันอัลไซเมอร์ก่อนวัยอันควร

คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด
1. ผู้สมัครต้องเป็น นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือ บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดอายุ
2. ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขันแบบเดี่ยว หรือ แบบทีม โดยสมาชิกในทีมไม่เกิน 3 คน
3. ผู้สมัครแต่ละทีมสามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ มากกว่า 1 ผลงาน แต่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าสู่รอบคัดเลือกเพียง 1 ผลงาน ที่มีคะแนนรวมสูงสุดเท่านั้น
4. ผู้สมัครจะต้องเข้าร่วมทุกกิจกรรมที่โครงการกำหนด

ขั้นตอนการเข้าร่วมการแข่งขัน
ผู้สมัครส่งข้อเสนอการออกแบบของเล่น และร่างแบบของเล่น มาพร้อมกับการลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน เปิดรับสมัคร จนถึง วันที่ 11 เมษายน 2567
1. กรอกแบบฟอร์มการสมัครให้ครบถ้วน พร้อมอัปโหลดไฟล์ผลงานที่ ลิงก์ https://bit.ly/4bDCBhj
2. รายละเอียดการจัดทําข้อเสนอการออกแบบของเล่นวิทยาศาสตร์ (Project Proposal) นำเสนอในรูปแบบ PPT หรือ PDF Format เนื้อหาความยาวไม่เกิน 3 หน้า A4 ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้
– ชื่อผลงาน
– แนวคิดหลัก (Concept Idea) อธิบายที่มา และแรงบันดาลใจของของเล่นที่เลือก
– อัตลักษณ์ วัฒนธรรมไทย ที่นำมาต่อยอด
– ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ ที่คาดว่าผู้เล่นจะได้รับจากการเล่นของเล่นชิ้นนี้
– รูปแบบ และวิธีการเล่น
– ความเป็นนวัตกรรมของผลงาน
– ต้นทุนในการผลิตของเล่น
– ร่างแบบของเล่น โดยจัดทำเป็นภาพ Mockup (ภาพวาด หรือ ภาพ 2D หรือ ภาพ 3D) โดย สามารถใช้ หรือ ไม่ใช้โปรแกรมออกแบบได้ตามความถนัด

เงื่อนไขการส่งผลงานเข้าประกวด
1. ผู้ประกวดจะต้องออกแบบสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ได้แก่ การลอกเลียนแบบ หรือ นำงานออกแบบที่มีอยู่แล้ว หรือ เป็นของผู้อื่นมาตกแต่ง ปรับปรุง แก้ไข ไม่ซ้ำกับผลงานที่เคยมีการเผยแพร่ หรือ เป็นที่รู้จักมาก่อนแล้ว หรือ เคยได้รับรางวัลใด ๆ มาก่อน หากทางผู้จัดตรวจพบว่ามีการกระทำดังกล่าว หรือ มีผู้ร้องเรียนและตรวจสอบพบว่าเป็นความจริง ทางผู้จัดจะถือว่าการสมัครเป็นโมฆะ และถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เข้าประกวดแต่เพียงผู้เดียว
2. ทางผู้จัดจะไม่รับผิดชอบความถูกต้องของเนื้อหาและที่มาของเนื้อหาในการนำเสนอผลงานของผู้เข้าประกวดทั้งหมด หากมีผู้ร้องเรียน ผู้เข้าประกวดจะเป็นผู้รับผิดชอบในการพิสูจน์ทราบที่มาของเนื้อหานั้น
3. ข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้เข้าประกวดส่งมาเพื่อใช้ในการเเข่งขัน จะถือว่าผู้เข้าประกวดได้ยินยอมในการให้ใช้ข้อมูลได้ โดยไม่ละเมิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ ทางผู้จัดจะสามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าแข่งขันไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
4. ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับการประกวด โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
5. ลิขสิทธิ์ผลงานจะเป็นของผู้เข้าประกวดเมื่อจบโครงการ ทั้งนี้ ผู้จัดจะยังคงได้สิทธิ์ในการประชาสัมพันธ์ผลงานของโครงการดังกล่าว โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
6. เงินรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวดได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าใช้จ่ายทั้งหมดไว้ด้วยแล้ว โดยผู้ได้รับรางวัลต้องรับผิดชอบภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
7. ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งหมด จะถูกตัดสิทธิ์การประกวดทันที และแม้จะประกาศผลไปแล้ว ทางผู้จัดสามารถเรียกคืนรางวัลได้เต็มจำนวน
8. ทางผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
9. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด โดยผู้เข้าประกวดไม่สามารถโต้แย้งได้

กำหนดการ
– วันที่ 19 มีนาคม 2568 – 11 เมษายน 2568 เปิดรับสมัครเข้าร่วมการประกวด และส่งผลงานการประกวด
– วันที่ 24 เมษายน 2568 ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือก รอบที่ 1 จำนวน 20 ทีม
– วันที่ 3-4 พฤษภาคม 2568 กิจกรรม Incubation Camp อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้ต่อยอดด้านไอเดียสร้างสรรค์ สำหรับผู้ผ่านการคัดเลือกรอบ 20 ทีม
– วันที่ 16–23 พฤษภาคม 2568 ผู้เข้ารอบ 20 ทีม ส่ง Prototype สินค้าที่ผลิตจริง
– วันที่ 11–15 มิถุนายน 2568 นิทรรศการ 20 ผลงาน “Re-Play HISTORY เรื่องไม่เล่น ของเล่นวิถีไทย” , ประกาศรางวัลผู้ชนะการประกวด , กิจกรรม Business Matching (ระยะเวลา 5 วัน)
– วันที่ 11 มิถุนายน 2568 ผู้เข้ารอบ 20 ทีม ร่วมพิธีเปิดงานนิทรรศการ “Re-Play HISTORY เรื่องไม่เล่น ของเล่นวิถีไทย”
*หมายเหตุ กำหนดการณ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

รางวัลการประกวด
1. การออกแบบของเล่นสำหรับเด็ก ช่วงวัย 6-12 ปี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนสู่ศตวรรษที่ 21
– ชนะเลิศ เงินรางวัล 40,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
– รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
– รองชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
2. การออกแบบของเล่นสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาสมองอย่างต่อเนื่อง ป้องกันอัลไซเมอร์ก่อนวัยอันควร
– ชนะเลิศ เงินรางวัล 40,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
– รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
– รองชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
✔️ผู้ชนะประกวด 20 ผลงาน จะได้รับเงินสนับสนุนในการผลิตชิ้นงานจริง มูลค่า 5,000 บาท
✔️ผู้ชนะประกวด 20 ผลงาน จะถูกนำผลงานไปจัดเเสดงในนิทรรศการ ระยะเวลา 5 วัน
✔️ได้โอกาสในการจับคู่ธุรกิจกับผู้ที่สนใจจากภาครัฐและเอกชน

เกณฑ์การตัดสินรอบคัดเลือก 20 ทีม
– ส่งเสริมให้ผู้เล่นเกิดทักษะและการพัฒนาสมอง – 25 คะแนน
– ถ่ายทอดคุณค่าและความสำคัญของการต่อยอดอัตลักษณ์ และ/หรือ ภูมิปัญญาไทย ได้ชัดเจน – 25 คะแนน
– แนวคิด การออกแบบ มีความสร้างสรรค์ – 20 คะแนน
– สามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าได้จริง – 10 คะแนน
– สามารถต่อยอดหรือขยายผลได้ เช่น บนแพลตฟอร์มดิจิทัล แอนิเมชัน เกมออนไลน์– 10 คะแนน
– สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีความเป็นสากล เจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายได้ – 10 คะแนน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
– Facebook Page: Replay History เรื่องไม่เล่น ของเล่นวิถีไทย
– อีเมล : replayhistory2025@gmail.com
– โทร. 095-656-6941 (ผู้ประสานงานโครงการ)

อ้างอิงจาก https://shorturl.asia/IjH0S

ขอบคุณภาพจาก https://shorturl.asia/zARWs

RANDOM

จังหวัดอุบลราชธานี จัดประกวดคลิปสั้น ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี หัวข้อ “เที่ยวอุบลราชธานี มีความสุข สนุกและปลอดภัย : Happy, Funny and Safety at Ubon Ratchathani” ชิงเงินรางวัลรวม 110,000 บาท เปิดรับสมัครแล้ว ถึง 3 กันยายน นี้

มูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย สานต่อเจตนารมณ์ มอบทุนการศึกษา 1.3 ล้านบาท แก่นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มุ่งสร้างบุคลากรคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขับเคลื่อนประเทศ

NEWS

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เชิญชวนนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ร่วมประกวดออกแบบสินค้าสร้างสรรค์ของเล่นพื้นบ้านภูมิปัญญาไทย “Re-Play HISTORY : เรื่องไม่เล่น ของเล่นวิถีไทย” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 100,000 บาท เปิดรับสมัครถึง 11 เมษายน

deCentral เปิดรับสมัคร “ทุนสนับสนุนการผลิตผลงานศิลปะ” (Production Grant) สำหรับศิลปินไทยรุ่นใหม่และศิลปินที่มีประสบการณ์ แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จำนวน 9 ทุน ทุนละ 150,000 บาท สมัครคัดเลือกขอรับทุนได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 30 มิถุนายน

เทศกาลหนังแห่งเมืองเชียงใหม่ 2568 ชวนนักทำหนังอิสระ นักเรียน นักศึกษา ส่งผลงานภาพยนตร์สั้นและภาพยนตร์สารคดี ที่พูดถึง “จิตวิญญาณท้องถิ่น” เข้าร่วมประกวด ชิงรางวัลรวม 60,000 บาท และคัดเลือกจัดฉายในเทศกาล Chiang Mai Film Festival 2025 สมัครและส่งผลงานได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 15 พฤษภาคม

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!