10 ผลงานสุดเจ๋งฝีมือคนไทย สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชน

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

         วธ.โชว์ 10 สุดยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย ร่วมจัดแสดงในงาน “CCPOT GRAND EXPOSITION งานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย” กว่า 5,๐๐๐ รายการ เน้นการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมสู่การสร้างคุณค่าและมูลค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ

         นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการที่กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดงาน “CCPOT GRAND EXPOSITION งานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย” ณ  รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 และพาร์ค พารากอน ชั้น M ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพมหานคร เพื่อขับเคลื่อนตามนโยบาย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการส่งเสริม “Soft Power” ความเป็นไทยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์  และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ช่วยเหลือชุมชนและผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 

         โดยจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจาก 1,๐๐๐ ชุมชนทั่วประเทศ กว่า 5,๐๐๐ รายการ แบ่งเป็น 1) ICHAMP ระดับเพชร 2) ICHAMP ระดับทอง 3) CCPOT ระดับเอก 4) สยามแพรพรรณ 5) รังสรรค์ภูษา  6) นานาหัตถศิลป์ 7) เวทีกลาง พร้อมทั้งมีการแสดงทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกมากมาย โดยมีไฮไลท์ที่โซน ICHAMP ระดับเพชร หรือผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้ากลุ่มพรีเมียม 10 รายการ ซึ่งมีความโดดเด่นและแตกต่าง ดึงดูดความสนใจผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก 

         1. เก้าอี้เงินแสนตอก มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเครื่องเงินไทย เพราะโลหะเงินหนึ่งลายใช้การตีมือนับร้อยครั้ง เครื่องโลหะเงินหนึ่งชิ้นใช้การตอกมือนับแสนครั้ง นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อ “เก้าอี้เงินแสนตอก”     

         2.ช็อกโกแลตทุเรียนนนท์ ผสานกับช็อกโกแลตระดับพรีเมียมเข้ากับทุเรียนระดับพรีเมียม จึงเป็นผลผลิตของผลไม้ไทยกับของหวานสากลที่รวมตัวกันได้อย่างลงตัว

         3. ฉากใหญ่ คือฉากกั้นห้องที่ได้แรงบันดาลใจจากมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหนังใหญ่ เป็นการประยุกต์งานฝีมือฉลุลายด้วยทักษะการฉลุหนัง โดยคณะหนังใหญ่วัดขนอน

         4.กระจกลิเก เป็นการสร้างสรรค์กระจกเงาเต็มตัวแบบตั้งพื้น ลวดลายของกรอบกระจกใช้องค์ประกอบจากสีสันสดใสของฉากท้องพระโรงในการแสดงลิเก สะท้อน อัตลักษณ์ ตัวตน บทบาทหน้าที่ต่อการสานต่อมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่หลังฉากจนถึงหน้าเวที

         5.แมวไทยกวักมงคล  เป็นรูปปั้นแมวไทยที่เป็นมงคลแก่ผู้เลี้ยงสี่ชนิด ในท่าทางการกวักเรียกสิ่งดีงาม ได้แก่ แมววิเชียรมาศ แมวมาเลศ แมวโกนจา และแมวศุภลักษณ์

         6.ชุดโนรา ราตรี การออกแบบชุดโนรา ราตรี สื่อถึงความงดงามของดาวบนฟ้าและแสงตะวันที่สาดส่องน้ำทะเล ด้วยความยืดหยุ่นของตัวผ้า ทำให้สามารถนำลวดลายลูกปัดหลากสี มาประดับได้อย่างหรูหรา สง่างาม

         7.เสื้อคลุมมวยไทย วินเทอร์ วินเทอร์ เป็นการออกแบบพัฒนามาจากมรดกวัฒนธรรมไทย ใช้วัสดุขนสัตว์เทียมที่มีความอบอุ่นสำหรับชาวต่างชาติผู้ชื่นชอบกีฬามวยไทย เข้ากับบริบทการเป็นอยู่ของกลุ่มเป้าหมายในต่างประเทศ ใช้โทนสีพร้อมลูกเล่น อัตลักษณ์ของแม่ไม้มวยไทยเป็นแถบคาด ให้ความเข็มแข็ง สง่างาม และลงตัว

         8.ฐานเทียนอโรมาอุบลราชธานีศรีวนาลัย เป็นการประยุกต์เทคนิคทำเทียนพรรษา ประเภทติดพิมพ์ เพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน นอกเหนือจากใช้แค่วันเข้าพรรษา เช่น การตกแต่งที่รีสอร์ทหรือสปา

ฐานเทียนอโรมาอุบลราชธานีศรีวนาลัย

         9.กระเป๋าเรซิ่นตีนจก นำชิ้นส่วนของตีนซิ่น ซึ่งใช้กระบวนการอันเป็นเอกลักษณ์ คือ การ “จก” มาสตัฟฟ์ด้วยการหล่อเรซิ่นใส เป็นกระเป๋าทรงกล่องผืนผ้า 

         1๐.ปูนปั้นเพชรอาลัว ปูนปั้นตกแต่งผนังที่มีรูปแบบทันสมัย ได้แรงบันดาลใจจาก “อาลัว” หนึ่งในขนมหวานขึ้นชื่อของเมืองเพชรบุรี 

          นอกจากนี้ยังมีโซน ICHAMP ระดับทอง หรือผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าทั่วไป ๒๔๐ รายการ เช่น เครื่องประดับมุกอันดามัน เครื่องประดับบ้าน เครื่องทองเหลืองตะเพียนทอง เครื่องประดับบ้านแก้วเป่า เป็นต้น ผู้ที่สนใจร่วมชมได้ในงาน “CCPOT GRAND EXPOSITION งานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย” ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมชมงานสินค้าวัฒนธรรมชุมชนผ่านระบบออนไลน์เสมือนจริง ได้ที่ www.ccpot.in.th 

RANDOM

กสศ. ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายการศึกษา จัดเทศกาล “FutureEd Fest 2024” มหกรรมสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักนวัตกรรมการศึกษา เพื่อสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้เพื่ออนาคต ในวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม ณ อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!