อาจารย์เอ็ม สายคำหน่อ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้เริ่มต้นคิดค้นงานวิจัยการพัฒนาระบบสํารวจคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ด้วยระบบดิจิทัลผ่านเว็บแอปพลิเคชัน โดยได้รับทุนสนับสนุน จาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)
อาจารย์เอ็ม เล่าถึงที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้ว่า จากการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่นั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ได้จัดอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน ทำให้นักวิจัยต้องไปร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด เข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริง โดยใช้งานวิจัยเป็นฐานเปรียบเสมือนกับนำงานวิจัย “จากหิ้งไปสู่ห้าง” โดยเน้นการแก้ไขปัญหาด้วยหลักวิศวกรรม และการจัดการเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา ประกอบกับโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ได้เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องการทำงานการแพทย์เชิงรุก ที่ต้องมีแพทย์ประจำบ้าน ลงพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ คอยให้คำปรึกษา เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อแบบเรื้อรัง หรือ NCDs
โดยเหตุผลที่เลือกโรคเบาหวานนั้น เนื่องจากเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง และเกี่ยวข้องการสร้างความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ต้องใช้เวลาในการปรับตัวและวางแผน จึงต้องการข้อมูลที่แม่นยำ เพื่อให้การวางแผนทางสุขภาพของประชาชนเป็นไปด้วยดี
การทำงานวิจัยชิ้นนี้ เริ่มต้นการออกแบบ โดยนำแบบสอบถามจากในกระดาษให้เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน ลงในระบบเว็บเพจในลักษณะ Web Responsive คือ รูปแบบการพัฒนาหน้าต่างสำหรับป้อนข้อมูลให้สามารถแสดงผล รองรับทุกอุปกรณ์สื่อสารทั้งในสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแม้กระทั่งในคอมพิวเตอร์ สามารถปรับขนาดและรูปแบบให้เข้ากับขนาดของจอภาพแสดงผลในอุปกรณ์ได้ พร้อมรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย 4 จี สามารถรับข้อมูลได้แบบเรียบไทม์ โดยการทำงานลงพื้นที่เพื่อคัดกรองครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากนักศึกษา อสม. และนักวิชาการสาธารณสุข สามารถช่วยกันเก็บข้อมูลคัดกรองโรคภายในชุมชนได้ โดยใช้เวลาเพียง 1 วันเท่านั้น ถือว่ามีส่วนช่วยให้ อสม. ทำงานได้สะดวกขึ้น และเก็บข้อมูลที่มีความแม่นยำได้อย่างรวดเร็ว หรือหากใครไม่อยู่บ้านระหว่างการเก็บข้อมูล ก็สามารถใช้คิวอาร์โค้ดเพื่อสแกนแล้วลงข้อมูลเพิ่มเติมได้
อาจารย์เอ็ม สายคำหน่อ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้เริ่มต้นคิดค้นงานวิจัยการพัฒนาระบบสํารวจคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ด้วยระบบดิจิทัลผ่านเว็บแอปพลิเคชัน โดยได้รับทุนสนับสนุน จาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)
อาจารย์เอ็ม เล่าถึงที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้ว่า จากการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่นั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ได้จัดอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน ทำให้นักวิจัยต้องไปร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด เข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริง โดยใช้งานวิจัยเป็นฐานเปรียบเสมือนกับนำงานวิจัย “จากหิ้งไปสู่ห้าง” โดยเน้นการแก้ไขปัญหาด้วยหลักวิศวกรรม และการจัดการเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา ประกอบกับโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ได้เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องการทำงานการแพทย์เชิงรุก ที่ต้องมีแพทย์ประจำบ้าน ลงพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ คอยให้คำปรึกษา เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อแบบเรื้อรัง หรือ NCDs
โดยเหตุผลที่เลือกโรคเบาหวานนั้น เนื่องจากเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง และเกี่ยวข้องการสร้างความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ต้องใช้เวลาในการปรับตัวและวางแผน จึงต้องการข้อมูลที่แม่นยำ เพื่อให้การวางแผนทางสุขภาพของประชาชนเป็นไปด้วยดี
การทำงานวิจัยชิ้นนี้ เริ่มต้นการออกแบบ โดยนำแบบสอบถามจากในกระดาษให้เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน ลงในระบบเว็บเพจในลักษณะ Web Responsive คือ รูปแบบการพัฒนาหน้าต่างสำหรับป้อนข้อมูลให้สามารถแสดงผล รองรับทุกอุปกรณ์สื่อสารทั้งในสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแม้กระทั่งในคอมพิวเตอร์ สามารถปรับขนาดและรูปแบบให้เข้ากับขนาดของจอภาพแสดงผลในอุปกรณ์ได้ พร้อมรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย 4 จี สามารถรับข้อมูลได้แบบเรียบไทม์ โดยการทำงานลงพื้นที่เพื่อคัดกรองครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากนักศึกษา อสม. และนักวิชาการสาธารณสุข สามารถช่วยกันเก็บข้อมูลคัดกรองโรคภายในชุมชนได้ โดยใช้เวลาเพียง 1 วันเท่านั้น ถือว่ามีส่วนช่วยให้ อสม. ทำงานได้สะดวกขึ้น และเก็บข้อมูลที่มีความแม่นยำได้อย่างรวดเร็ว หรือหากใครไม่อยู่บ้านระหว่างการเก็บข้อมูล ก็สามารถใช้คิวอาร์โค้ดเพื่อสแกนแล้วลงข้อมูลเพิ่มเติมได้
ประโยชน์ของงานวิจัยชิ้นนี้ ช่วยลดสภาวะความเครียด ลดค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ต้องเดินทางมาคัดกรองโรคยัง รพ.สต. ให้สามารถเข้าถึงบริการทางแพทย์ได้อย่างทั่งถึง มีความรู้สึกสบายใจมากขึ้น ปรึกษากับแพทย์ได้โดยตรง