“วัคซีนใบยา” ป้องกันเชื้อโควิด 19 กลายพันธุ์ ฝีมือนักวิจัยไทย เปิดรับอาสาสมัครทดสอบวัคซีน รุ่น 2 ระยะที่ 1

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

วันนี้ Station Thai ได้ทราบข่าวมาว่า ขณะนี้ ได้เปิดรับอาสาสมัครที่มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อเข้ารับวัคซีนสูตรปรับปรุงใหม่รับเชื้อกลายพันธุ์ “ใบยาซาร์สโควีทูแวกซ์ 2” (Baiya SARS CoV-2 Vax 2) ระยะที่ 1 ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี ที่ประเทศไทยเราสามารถวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ได้เอง ช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศได้ส่วนหนึ่งในอนาคต ซึ่งผลการทดสอบวัคซีนในคนรุ่นที่ 1 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ตอนนี้เข้าสู่รุ่นที่ 2 ระยะที่ 1 ส่วนผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้น Station Thai จะติดตามข่าวสารมาเล่าให้ฟังในอนาคตค่ะ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักวัคซีนใบยา ฝีมือนักวิจัยไทย กันก่อนดีกว่า

“วัคซีนใบยา” ป้องกันโควิด-19 ผลิตจากใบพืช เป็นผลงานของสองนักวิจัย จากรั้วจุฬาฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และรองศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลเจริญ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ที่พัฒนาเทคนิคการได้โปรตีนจากใบยาสูบ เพื่อใช้เป็นยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibody) หรือ โปรตีนที่สามารถเป็นชีววัตถุเพื่อการรักษาโรคได้ เป็นเทคโนโลยีที่มีมามากกว่า 15 ปีแล้ว และเคยทำสำเร็จในการรักษาโรคอีโบล่าในอดีต โดยใบยาสูบที่นำมาใช้นั้น เป็นสายพันธุ์ที่มีนิโคตินระดับต่ำมาก

โดยหลังจากพัฒนาวัคซีนต้นแบบแล้วเสร็จ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทีมวิจัยได้นำวัคซีนใบยาไปทดลองกับสัตว์ทดลอง เช่น หนูขาว และลิง ซึ่งผลการทดลองแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2563 พบว่า วัคซีนสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ผลดี เทียบกับวัคซีนที่ผลิตในต่างประเทศได้ และในขั้นตอนต่อไปคือต้องมาดูว่า ลิงที่ฉีดวัคซีนให้ ภูมิคุ้มกันลดลงหรือไม่ โดยการฉีดไวรัสเข้าไป แล้วดูว่าจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้หรือไม่ รวมถึงทดสอบในหนูแฮมสเตอร์ด้วย สุดท้ายจะทำการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง โดยใช้สัตว์ทดลองจำนวนมาก แล้วดูว่าตัววัคซีนกระจายไปในส่วนไหนในร่างกายบ้าง มีลักษณะที่เป็นพิษเกิดขึ้นหรือไม่ ก่อนที่จะผลิตในระดับอุตสาหกรรม ภายใต้มาตรฐานที่ได้รับ GMP แล้วจึงทำการทดสอบในมนุษย์ต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม 2564 ทีมวิจัยได้เปิดรับอาสาสมัคร เพื่อทดสอบวัคซีนกลุ่มแรก จำนวน 50 คน อายุ 18 – 60 ปี โดยอาสาสมัครต้องมีสุขภาพแข็งแรง และไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ซึ่งการทดสอบวัคซีนดังกล่าวได้เริ่มในเดือนกันยายน 2564 อาสาสมัครได้รับการฉีดวัคซีนจำนวนสองเข็ม เว้นระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ เมื่อทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรกแล้วเสร็จ ก็ได้ทำการทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัครกลุ่มอายุ 60–75 ปี ต่อไป เบื้องต้นพบว่า อาสาสมัครที่เข้ารับการฉีดวัคซีนปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ เกิดขึ้น

ขณะนี้ คณะนักวิจัยยังได้พัฒนาวัคซีนใบยารุ่นที่ 2 เพื่อรับมือการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 เพื่อให้คนไทยได้ใช้ในช่วงกลางปี 2565 โดยจะปรับปรุงศักยภาพของวัคซีนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น เมื่อมีองค์ความรู้ในการพัฒนาวัคซีนด้วยตัวเองแล้ว ประเทศไทยของเราก็จะสามารถรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือเชื้ออื่น ๆ ได้ในอนาคต

ล่าสุด ทีมวิจัยเดินหน้าเปิดรับสมัครอาสาสมัครในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี อายุระหว่าง 18-64 ปี ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด 19 มาก่อน เพื่อเข้าร่วมโครงการทดสอบ “ใบยาซาร์สโควีทูแวกซ์ 2” (Baiya SARS CoV-2 Vax 2) เพื่อการทดสอบระยะที่ 1 ณ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ โทร. 0-2218-3295 , 08-2740-2331

ผู้สนใจสามารถกรอกข้อมูลและทำแบบประเมินตนเองได้ที่ https://baiya-recruit.clinsearch.co.th/register 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

RANDOM

APCO ร่วมกับ มูลนิธิพอ จัดกิจกรรมส่งความสุขมอบพลังบวกให้น้อง ๆ บ้านโฮมฮัก ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ หนุนใช้นวัตกรรมภูมิคุ้มกันบำบัด เพื่อฟื้นฟูและบำบัดเด็กติดเชื้อ มุ่งสู่เป้าหมาย Bye Bye HIV

แข่งขันทักษะและความสามารถด้านภาษาไทย ประจำปี 2567 ภายใต้ โครงการรักษ์ไทย ครั้งที่ 3 ชิงถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล ในวันที่ 6 ต.ค. ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อบจ.เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

NEWS

อพวช. ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์ฯ และ สถาบันเกอเธ่ เชิญชวนน้อง ๆ นักศึกษา สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ‘ทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย’ ครั้งที่ 20 เพื่อเฟ้นหาตัวแทนประเทศบินอัปสกิลไกลถึงเยอรมนี หมดเขตรับสมัคร 23 ก.พ. นี้

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ ชวนน้อง ๆ นิสิต นักศึกษาทุกมหาวิทยาลัย ส่งผลงานออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ภายใต้แนวคิด “Chula For All” พื้นที่สำหรับทุกคน ชิงรางวัลรวม 70,000 บาท หมดเขตส่งผลงาน 14 ก.พ. นี้

การยางแห่งประเทศไทย เชิญชวนน้อง ๆ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ร่วมประกวดออกแบบโลโก้ “เกษตรกรชาวสวนยางรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer)” ชิงเงินรางวัลรวม 96,000 บาท เปิดรับผลงาน ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 17 ก.พ.

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!