จุฬาฯ เปิดตัว “ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช” พัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีวิศวกรรม เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

 รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงศูนย์วิจัยแห่งใหม่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเปิดตัวศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมา ว่า ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering Research Center) หรือ BMERC ได้รับการก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการยกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนามหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและโลกในศตวรรษใหม่ ศูนย์วิจัยแห่งนี้เป็นศูนย์กลางความร่วมมือของหลากหลายศาสตร์ ประกอบด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม พรั่งพร้อมด้วยอุปกรณ์ในการทำ Lab ห้องปฏิบัติการด้านชีวภาพที่มีการเพาะเลี้ยงเซล อุปกรณ์ทางการแพทย์ และคอมพิวเตอร์ที่ครบครันทุกสาขา เป็นศูนย์กลางสำหรับนิสิตและคณาจารย์จากคณะต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับการแพทย์และนวัตกรรมทางการแพทย์ได้มีพื้นที่ในการทำงานร่วมกัน

รศ.ดร.จุฑามาศ กล่าวต่อว่า ก่อนที่จะเป็น ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช หรือ BMERC คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มีหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช ที่มีบทบาทชัดเจนด้านการเรียนการสอนนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการแพทย์อยู่แล้ว เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชจึงมีการขยายบทบาทของหลักสูตร โดยเพิ่มเติมพื้นที่สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาในการทำโครงการวิจัย วิทยานิพนธ์ และพัฒนานวัตกรรม คณาจารย์ก็จะใช้ศูนย์วิจัยนี้เป็นพื้นที่พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือต่อยอดนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ หลากหลายผลงานนวัตกรรมจากหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวชที่คณาจารย์และนิสิต ได้พัฒนาขึ้นในช่วงเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ได้ตอบสนองความต้องการของสังคมและวงการแพทย์ ถือเป็นจุดเด่นที่ศูนย์วิจัยฯ จะเดินหน้าดำเนินการต่อไป ที่ผ่านมา มีคณาจารย์หลายท่านในหลักสูตรได้รับทุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รวมถึงทุนจากต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนิสิต เพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมให้เป็นที่ประจักษ์มากยิ่งขึ้น

“ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชมีบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นผู้ที่พบเจอปัญหาทางคลินิกจริงๆ มาร่วมพัฒนางานวิจัยในหลายโครงการ ดังนั้น นวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นนั้น เริ่มจากโจทย์ที่มีอยู่จริง เป็นงานวิจัยและนวัตกรรมที่ไม่ได้พัฒนาเพื่อขึ้นหิ้ง แต่มีผู้ใช้งานอย่างแน่นอน ยิ่งเป็นงานวิจัยและนวัตกรรมสำหรับวงการแพทย์ก็ยิ่งเป็นประโยชน์มากขึ้น ในการสร้างงานนวัตกรรม ถ้าสำเร็จตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ก็จะทำให้ได้วิธีการรักษาโรคและการตรวจวินิจฉัยโรคแบบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น” รศ.ดร.จุฑามาศกล่าว

สำหรับตัวอย่างนวัตกรรมของศูนย์วิจัยฯ ที่นำไปใช้ได้จริง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชได้พัฒนาหลากหลายผลงานนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม ไม่ว่าจะเป็น รถกองหนุน ซึ่งเป็นผลงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ เป็นรถพระราชทาน ที่นำไปต่อยอดในการใช้งานจริง โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เครื่องดึงวัคซีน AstraZeneca อัตโนมัติ เครื่องรังสียูวีสำหรับฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัย N95 ที่มีการใช้งานซ้ำ

นอกจากนี้ ยังมีผลงานการพัฒนานวัตกรรมอื่นๆ เช่น อวัยวะเทียม แขนขาเทียม เท้าเทียม สะโพกเทียม สำหรับผู้พิการที่สูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการพึ่งพาอวัยวะจากต่างประเทศอาจไม่เหมาะกับสรีระของคนไทย ที่สำคัญคือมีราคาสูง การพัฒนารูปแบบนำทางเข็มฉีดสารในร่างกายลดความเจ็บปวดแทนเข็มฉีดยา โครงการกระดูกเทียมจากไหมไทย โดยการนำโปรตีนจากไหมไทยที่สกัดมาทำกระดูกเทียมเพื่อช่วยกระตุ้นการงอกของกระดูก นวัตกรรม 3D Printing Titanium Bone เพื่อปลูกถ่าย ซ่อมแซมกระดูกที่เสียหาย ซึ่งมีการนำไปใช้จริงในผู้ป่วยแล้ว

“แนวทางการพัฒนาศูนย์วิจัยฯ ในอนาคต จะเน้นในเรื่องการสร้างความร่วมมือเป็นหลัก นอกจากการเชื่อมโยงอาจารย์จากสหสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมแล้ว แผนงานที่วางไว้จะมีการขยายความร่วมมือออกไปนอก จุฬาฯ โดยสร้างความร่วมมือในการทำโครงการวิจัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่ทำงานด้านการแพทย์ หรือให้ทุนเพื่อพัฒนาการวิจัย โดยมีเป้าหมายให้ศูนย์วิจัยเป็น Medical Hub เพื่อสร้างความร่วมมือพัฒนางานนวัตกรรมทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน สามารถนำไปใช้ได้จริง ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม” รศ.ดร.จุฑามาศ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับหน่วยงานที่สนใจนวัตกรรม หรือต้องการร่วมมือพัฒนานวัตกรรมร่วมกับ ศูนย์วิศวกรรมชีวเวช ติดต่อได้ที่ โทร. 0-2218-6793-13

RANDOM

สำนักงาน ก.พ. เชิญชวนผู้สนใจศึกษาต่อต่างประเทศ เข้าร่วมงาน “มหกรรมการศึกษาต่อต่างประเทศ ครั้งที่ 19” (OCSC International Education Expo 2024) วันที่ 26 – 27 ตุลาคม นี้ ณ พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหา ตำแหน่ง ‘กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ’ ในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย 8 อัตรา ผู้สนใจสมัครด้วยตนเองได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 5 ก.พ. 67

เปิดรับสมัคร…ทุนการศึกษา “ดุสิตธานี” ประจำปี 2568 เป็นทุนเต็มจำนวน และทุนร้อยละ 50 ค่าเล่าเรียน สำหรับผู้ที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ยื่นใบสมัครขอรับทุนได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 5 ตุลาคม

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!